ไอลอว์ จวก'คสช.' และ' กกต.' เล่นเกมปกปิดชื่อ ส.ว.


เพิ่มเพื่อน    


เมื่อวันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมาเว็บไซต์  ilaw.or.th      ของโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) หรือ iLaw   ได้โพสต์เนื้อหาในหัวข้อ " ขอดู รายชื่อ “ว่าที่ ส.ว.” ที่เลือกกันไว้แล้ว แต่ 45 วันยังไม่ได้ คสช. และ กกต. เล่นเกมโยนไปมา"

ซึ่งในเนื้อหามีใจความดังนี้ 

จนถึงวันนี้ (25 - 26 เมษายน 2562) ทางไอลอว์ยังคงเดินหน้าติดตามหารายชื่อบุคคลซึ่งสมควรเป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือ “ว่าที่ สว.” ตามที่ได้คัดเลือกกันไว้เสร็จแล้ว แต่แม้จะพยายามสอบถามไปกี่รอบก็ยังไม่ได้ข้อมูลนี้มา

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2562 ไออลว์ใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ยื่นขอข้อมูลการคัดเลือก ส.ว. โดยคนของ คสช. จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) 
โดยขอเอกสารอย่างเป็นทางการ จำนวน 4 รายการ ได้แก่ 
1. รายชื่อคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้ง และรายละเอียดความรู้และประสบการณ์ของกรรมการแต่ละคน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 269 (1)
2. รายชื่อบุคคลที่คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการจัดให้มีการเลือก จำนวน 200 คน เพื่อนำรายชื่อเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 269 (1)(ก)
3. วิธีการที่คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภากำหนดในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 269 (1)(ข)
4. รายชื่อบุคคลซึ่งสมควรเป็นสมาชิกวุฒิสภา ที่ได้รับการสรรหาจากคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 400 คน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 269 (1)(ข)

เราเห็นว่า รัฐธรรมนูญมีกรอบเวลาการคัดเลือก "ว่าที่ ส.ว." ไว้ชัดเจนและทุกอย่างทำเสร็จหมดแล้ว จึงไม่มีเหตุผลที่จะไม่ประกาศรายชื่อให้ประชาชนรับทราบ 

จึงเขียนคำร้องขอเปิดเผยข้อมูลไปยื่นต่อเลขาธิการสำนักงาน กกต. ที่ฝ่าย “งานสารบรรณ” สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ 

และยื่นคำร้องกับเลขาธิการ คสช. ที่ “ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนการประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ” ของ คสช. ที่กองบัญชาการกองทัพบก 

แม้จะพบปัญหาอุปสรรคในการตามหาหน่วยงานที่มีหน้าที่รับเอกสารอยู่บ้าง แต่สุดท้ายก็ยื่นสำเร็จโดยมีผู้รับไว้อย่างเป็นทางการ

หลังการเลือกตั้งผ่านไปแล้ว เราก็ยังไม่เห็นการตอบกลับ และยังไม่เห็นการเปิดเผยข้อมูลที่ประชาชนควรรู้ เมื่อเราเห็นว่า เป็นเวลา 45 วันแล้วตั้งแต่เราไปยื่นคำร้องกับ กกต. และคสช. เราจึงจำเป็นต้องทวงถามติดตามเพื่อให้ได้ความชัดเจน 

ในวันที่ 25 เมษายน 2562 เวลาประมาณ 13.30 น. ไอลอว์ได้โทรศัพท์ไปยัง “ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนการประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ” ของคสช. เพื่อสอบถามความคืบหน้า เจ้าหน้าที่ปลายสายแจ้งว่าได้ “ส่งเรื่องไปข้างบนแล้ว” และอยู่ระหว่างการตรวจสอบ ซึ่งจะมี “คณะกรรมการกลั่นกรอง” ทำหน้าที่พิจารณาว่า จะรับหรือไม่รับเรื่อง โดยคณะกรรมการดังกล่าวจะมีการประชุมย่อยทุกสัปดาห์และประชุมทุกสิ้นเดือน

เราถามกลับไปว่า เราจะติดตามเรื่องกับ “คณะกรรมการกลั่นกรอง” ได้หรือไหม อย่างไร เจ้าหน้าที่ตอบว่า ไม่มีช่องทางติดต่อไปยังคณะกรรมการดังกล่าว ให้รอคณะกรรมการติดต่อกลับมายังผู้ร้องเอง 

โดยเรื่องที่ร้องไปนั้นจะเป็นเรื่องระหว่างคณะกรรมการและผู้ร้องเท่านั้น ส่วนเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่เพียงรับ-ส่งเรื่องเท่านั้น เจ้าหน้าที่จึงไม่สามารถทำอะไรได้มากไปกว่านี้

เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจึงไปตามหารายชื่อ "ว่าที่ ส.ว." กับ กกต. ต่อแทน เวลาประมาณ 14.30 น. ไอลอว์โทรศัพท์ไปยัง “งานสารบรรณ” ของสำนักงาน กกต. ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ตอบกลับมาว่า “ได้ส่งส่วนงานที่เกี่ยวข้องให้แล้ว” และให้รอ “หนังสือตอบกลับ”

เราถามต่อว่า จะสามารถติดตามสอบถามความคืบหน้าได้ที่ใด เจ้าหน้าที่ก็ให้ไปติดต่อที่ “งานสนับสนุนการเลือกตั้ง ประชามติ 2” ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ได้ให้หมายเลขโทรศัพท์ภายในมาจำนวน 5 หมายเลขด้วยกัน

เมื่อเราโทรไปยังหนึ่งในหมายเลขนั้นและสอบถามเรื่องคำร้อง เจ้าหน้าที่ปลายสายตอบว่า “เรื่องยังไม่ขึ้นมา” แต่เมื่อย้ำว่า เจ้าหน้าที่จากงานสารบรรณแจ้งว่า ได้ส่งเรื่องมาให้แล้ว เขาจึงตอบว่า “เดี๋ยวจะไปดูให้ สักพักค่อยโทรมาใหม่” 

เวลาประมาณ 15.30 น. ไอลอว์โทรศัพท์กลับไป แต่พบว่าปลายสายไม่ว่าง จึงลองโทรไปยังหมายเลขอื่น ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่อีกคนหนึ่งที่รับสาย และถามกลับมาว่าคำร้องของเราเป็น “เรื่องของจังหวัดไหน” เพราะเขาแบ่งงานรับผิดชอบกันตามภูมิภาค 

เมื่อตอบกลับไปว่า ขอดูเอกสารเกี่ยวกับว่าที่ ส.ว. ทั้งประเทศ เจ้าหน้าที่จึงบอกว่า อาจไม่อยู่ในความรับผิดชอบของเขา

เมื่อถามว่า จะทราบได้อย่างไรว่า หนังสือคำร้องของเรานั้นไปถึงขั้นตอนไหนแล้ว ทางเจ้าหน้าที่ก็บอกว่าให้ติดต่อ “งานอำนวยการ” เพราะเขาจะทราบว่าใครเป็นผู้รับมอบหนังสือไป พร้อมให้หมายเลขโทรศัพท์ภายในมาอีก 3 หมายเลข 

แต่เขาก็แจ้งว่า อาจจะไม่มีคนรับสายแล้วเพราะใกล้เวลาเลิกงานแล้ว และเมื่อเราโทรศัพท์ไปก็ไม่มีหมายเลขใดรับสายโทรศัพท์เลย

วันต่อมา เวลาประมาณ 11.00 น. ไอลอว์ ได้โทรศัพท์ไปยัง “งานอำนวยการ” อีกครั้งแต่ก็ไม่มีใครรับสาย จึงรอถึงเวลาประมาณ 13.30 น. จึงโทรศัพท์ไปอีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ยังไม่มีใครรับสายอีกอยู่ดี

ทั้งนี้ มาตรา 11 พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ ระบุว่า 

“ถ้าบุคคลใดขอข้อมูลข่าวสารอื่นใดของราชการและคำขอของผู้นั้นระบุข้อมูลข่าวสารที่ต้องการในลักษณะที่อาจเข้าใจได้ตามควร ให้หน่วยงานของรัฐผู้รับผิดชอบจัดหาข้อมูลข่าวสารนั้นให้แก่ผู้ขอภายในเวลาอันสมควร”
รัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 269 กำหนดให้ กกต. และคณะกรรมการสรรหา ส.ว. นำรายชื่อบุคคลซึ่งสมควร หรือ ว่าที่ สว. ส่งให้ คสช. คัดเลือก ภายใน 15 วันก่อนการเลือกตั้ง หรือ ภายในวันที่ 9 มีนาคม 2562 นั้น ให้ คสช. คัดเลือก ส.ว. ให้เสร็จภายใน 3 วัน นับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกราษฎร (ส.ส.)

หมายความว่า ขั้นตอนการสรรหา ว่าที่ ส.ว. ควรจะเสร็จสิ้นแล้ว และตลอดระยะเวลา 45 วันที่ผ่านมา ถือเป็น “เวลาอันสมควร” ที่จะเปิดเผยรายชื่อให้ประชาชนทราบได้แล้ว โดยไม่ยากเย็นอะไร 
แต่หน่วยงานทั้งสองแห่งยังไม่ดำเนินการ โดยยังไม่มีท่าทีว่า จะต้องใช้เวลาอีกเท่าใดจึงจะเปิดเผยข้อมูลได้ 

จากนี้ ไอลอว์ จึงจะต้องดำเนินการขั้นต่อไปเพื่อรักษาสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร โดยในวันจันทร์ที่ 29 เมษายน 2562 ทางไอลอว์จะติดตามต่อโดยยื่นหนังสื่อต่อ คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (สขร.) เพื่อให้ทำหน้าที่เร่งรัดกระบวนการเปิดเผยรายชื่อ "ว่าที่ ส.ว." และเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อไป
.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"