“ปัญหาที่พรรคประชาธิปัตย์กำลังเผชิญอยู่ คือ คนที่ลาออกจากพรรคไปแล้วกำลังทุ่มยุทธปัจจัยรอบใหม่ เพื่อใช้นอมินีกลับมายึดพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้งหนึ่ง หลังจากล้มเหลวมาโดยตลอด” คำให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่งของ “เดอะแจ๊ค” วัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ เลือดฟ้า เมื่อช่วงปีใหม่ไทยที่ผ่านมา สะท้อนถึงสถานการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นอย่างดี ว่าเกิดความขัดแย้งทางความคิดขึ้นภายใน
โดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ กลุ่มแรกต้องการยืนหนึ่งและดำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรี แพ้ก็ยอมเป็นฝ่ายค้าน ส่วนอีกกลุ่มเห็นว่าการเป็นพรรคร่วมรัฐบาลไม่เสียหายและทำให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ ทั้งยังได้เป็นการรวมพลังต่อสู้กับระบอบทักษิณ ดังนั้น สิ่งสำคัญที่จะทำให้ฝันของตัวเองเป็นจริงได้ คือจะต้องกำชัยชนะในการกุมบังเหียน
ความขัดแย้งดังกล่าวเริ่มต้นตั้งแต่ปี 56 ปลายเดือนตุลาคม ซึ่งขณะนั้นมีทั้งรองหัวหน้าพรรคและ ส.ส.ลาออกจากพรรค เพื่อร่วมต่อสู้บนถนนกับภาคประชาชนในการต่อต้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมสุดซอยที่พรรคเพื่อไทยเป็นผู้เสนอ ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นการล้างผิดให้กับระบอบทักษิณ
หากยังจำกันได้มีการนัดรวมพลกัน ยึดบริเวณสถานีรถไฟสามเสนเป็นชัยภูมิ โดยมี “สุเทพ เทือกสุบรรณ” เป็นแกนนำ ซึ่งมี ส.ส.ของพรรคและประชาชนจำนวนมากเข้าร่วม และเริ่มกระจายก่อม็อบทั่วกรุงเทพฯ จนกระทั่งรัฐบาลของพรรคเพื่อไทยประกาศยุบสภา เพราะทนแรงกดดันจากประชาชนไม่ได้
ระหว่างนั้นเองเกิดทางแยก เพราะรัฐบาลพรรคเพื่อไทยประกาศให้จัดการเลือกตั้ง แต่ม็อบนกหวีดไม่ยอมจบ โดยเห็นว่าหากเลือกตั้งเวลานี้ระบอบทักษิณก็ยังจะกลับมา ประกอบกับยังมีมวลมหาประชาชนหนุนหลังเป็นจำนวนมาก จึงเลือกป่วนจัดการเลือกตั้ง ด้วยเหตุนี้เองอดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์หลายคนเริ่มรู้สึกตัวแล้วกลับพรรค เพราะไม่เห็นด้วยกับการกระทำนี้
ขณะเดียวกัน แกนนำ กปปส.ที่เคยเป็น ส.ส.ยังคงเดินหน้าเคลื่อนไหวชุมนุมต่อไป กระทั่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ายึดอำนาจ หลังจากนั้นไม่นานเหล่าแกนนำ กปปส.ก็กลับเข้าพรรค และมีบางส่วนได้ดิบได้ดีในพรรคพลังประชารัฐ ยกเว้นนายสุเทพที่ไปเป็นโค้ชให้กับพรรครวมพลังประชาชาติไทย ทั้งนี้ กลุ่มที่กลับบ้านเกิดมาพร้อมกับความคิดให้การสนับสนุนรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งสวนทางกับผู้บริหารและผู้ใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์
เช่น การรณรงค์รับ-ไม่รับรัฐธรรมนูญที่พรรคมีความเห็นว่าไม่ควรรับ หรือแม้แต่การวิพากษ์วิจารณ์บริหารงานของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ เป็นต้น เรียกว่าขัดแย้งทางความคิดและแบ่งออกเป็นสองฝ่ายในที่สุด โดยในฝั่งของอดีตแกนนำ กปปส.ถูกมองว่าเป็นนอมินีของทหารที่ส่งมาเพื่อยึดประชาธิปัตย์ให้ได้
โดยเหตุการณ์ที่สะท้อนอย่างเป็นรูปธรรมที่สุด คือ การแข่งขันหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ครั้งที่ผ่านมา เป็นการชิงดำระหว่างกลุ่ม “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” กับกลุ่ม “วรงค์ เดชกิจวิกรม” อดีต ส.ส.พิษณุโลก ซึ่งมีอดีตแกนนำ กปปส.ให้การสนับสนุน ซึ่งผลปรากฏว่า “อภิสิทธิ์” ได้เป็นฝ่ายนำทัพเข้าสู่สนามเลือกตั้ง แต่ก็ได้รับแพ้พ่ายที่สุดในประวัติการณ์ของพรรค และต้องประกาศลาออกตามที่เคยลั่นวาจาไว้ว่า หากได้ ส.ส.ไม่ถึงร้อยคนจะไขก๊อกจากตำแหน่งหัวหน้า
ทำให้ขณะนี้อีกฝ่ายมีโอกาสอีกครั้งในการกุมบังเหียน และดูท่าจะถือแต้มเหนือกว่า เพราะอย่างน้อยทุกคนในพรรคตระหนักดีแล้วว่าหนทางการต่อสู้ภายใต้การนำของ “อภิสิทธิ์” เป็นอย่างไร และประชาชนให้การตอบรับมากน้อยแค่ไหน
ฉะนั้น วันที่ 15 พ.ค.ที่กำลังจะมาถึง ซึ่งเป็นการเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ต้องจับตาให้ดี แม้ตอนนี้คลื่นลมแลดูเหมือนกับจะสงบ ทว่าความจริงหาเป็นเช่นนั้น เพียงแต่รอเวลาปะทุ เพราะครั้งนี้นอกจากจะได้เห็นหน้าแม่ทัพแล้ว ยังเกี่ยวพันกับจุดยืนของพรรคโดยตรง ว่าพรรคขนาดใหญ่พรรคนี้จะกลายเป็นพรรคร่วมรัฐบาล หรือเป็นพรรคที่จะธำรงค์ด้วยศักดิ์ศรี เดินเฉิดหน้าเข้าสภาในฐานะฝ่ายค้าน
ท้ายที่สุด หากกลุ่มอดีตแกนนำ กปปส.ได้รับชัยชนะ บอกเลยว่าได้เห็นอนาคตพรรคไปร่วมรัฐบาล แต่ไม่เห็นอนาคตประชาธิปัตย์!!!.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |