26 เมษายน 2562 น.ส.สมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เมื่อวันที่ 23 เม.ย.ให้ กนอ.เร่งดำเนินการคัดเลือกเอกชนที่จะเข้ามาพัฒนาโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 (ช่วงที่1) ว่า กนอ. ได้เร่งดำเนินการเจรจากับภาคเอกชนกลุ่มกิจการร่วมค้ากัลฟ์และพีทีทีแทงค์ ที่ร่วมประมูล จบภายในเดือนเม.ย. 2562 มั่นใจว่าจะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) และลงนามสัญญาร่วมทุนกับเอกชนได้ภายในวันที่ 4 มิ.ย. 2562
“นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำให้การเจรจาเป็นไปอย่างโปร่งใสและให้เกิดประโยชน์สูงสุดที่ภาครัฐ รวมถึงดำเนินการให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลา เพราะจะเป็นกลไกสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติ โดยโครงการดังกล่าวจะเปิดให้ภาคเอกชนเข้าบริหารจัดการท่าเรือในระยะ 30 ปี ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานระยะแรกจึงต้องดำเนินงานให้แล้วเสร็จทันกับการขยายการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่จะเกิดขึ้นในระยะ5ปีข้างหน้า”น.ส.สมจิณณ์กล่าว
อย่างไรก็ตามกนอ.ได้รายงานความคืบหน้าโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่3 (ช่วงที่1) ที่คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนได้มีการออกประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2561 และมีการขายเอกสารร่วมลงทุนวันที่ 9-21 พ.ย. 61 มีผู้ซื้อเอกสารจำนวน 18 ราย ต่อมาเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2562 มีเอกชนยื่นข้อเสนอ 1 กลุ่ม คือ กลุ่มกิจการร่วมค้ากัลฟ์และพีทีทีแทงค์ (บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด) โดยได้มีการเปิดซองเพื่อพิจารณาคุณสมบัติเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2562 และมีการเปิดซองด้านเทคนิคเมื่อ 26 ก.พ. 62 และขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาในเรื่องของข้อเสนอด้านราคาที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ตอบแทนรัฐที่จะให้เกิดประโยชน์สูงสุด
"ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาผลตอบแทนที่รัฐจะได้รับประโยชน์สูงสุด ทั้งแผนการก่อสร้าง แผนบริหารจัดการท่าเรือฯภายหลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จ อัตราค่าบริการในการขนถ่ายสินค้า จากนั้นคณะกรรมการฯจะส่งร่างสัญญาไปยังสำนักงานอัยการภายในเดือนพฤษภาคม และเตรียมเสนอต่อครม.พิจารณา"น.ส.สมจิณณ์กล่าว
สำหรับแผนการพัฒนาโครงการฯ ดังกล่าว แบ่งออกเป็น 2 ช่วง มูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 55,400 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในปี 2568 ประกอบด้วยช่วงที่ 1 การลงทุนพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานในส่วนการขุดลอกและถมทะเล พื้นที่ 1,000 ไร่ แบ่งเป็น พื้นที่ใช้ประโยชน์ 550 ไร่ และพื้นที่เก็บกักตะกอน 450 ไร่ การขุดลอกร่องนํ้า และแอ่งกลับเรือ การก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น การก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมการเดินเรือ ท่าเทียบเรือบริการ และท่าเรือก๊าซรองรับปริมาณการขนถ่ายก๊าซได้ 10 ล้านตันต่อปี ส่วนช่วงที่ 2 จะเป็นการลงทุนพัฒนาก่อสร้างในส่วนของท่าเรือ กนอ.จะดำเนินการออกทีโออาร์เพื่อประกาศเชิญชวนภาคเอกชนที่สนใจเข้าร่วมพัฒนา โดยเอกชนเป็นผู้ลงทุนพัฒนาท่าเทียบเรือสินค้าเหลวรองรับปริมาณขนถ่ายสินค้าเหลวได้ 4 ล้านตันต่อปีคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2566
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |