แชร์ต่อกันมาไว้อ่านแก้เหงา หรือไม่ก็ลองสำรวจตัวเองว่าอยู่ใน "ช่วงวัย" ตรงไหนนะคะ
มันคือคำจำกัดความของ คุณวรวรรณ ธาราภูมิ ประธานกรรมการบริหาร บลจ.บัวหลวง ที่ได้แบ่ง 3 ช่วงของผู้สูงวัย พร้อมกับตั้งชื่อให้กับแต่ละช่วงวัยไว้ว่า "-วัยห้าว -วัยหด และ -วัยเหี่ยว"
"วัยห้าว" สำหรับคนในวัยเกษียณช่วงต้น อายุ 60-69 ปี ส่วนใหญ่แข็งแรง พลังงานเต็มเปี่ยม ทำอะไรๆ ได้เหมือนกับช่วงก่อนเกษียณ และหลายคนในวัยนี้ยังไม่รู้จักคำว่าเกษียณ สามารถทำงานได้ต่อเนื่อง ทำให้ยังมีรายได้และรู้สึกว่าตนเองยังมีค่าต่อสังคม
นอกจากนี้ยังเป็นวัยที่ "ฮึกเหิม" อยากทำสิ่งใหม่ๆ ที่ใฝ่ฝันไว้ โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนที่หลายคน "อยากเริ่มต้นอาชีพใหม่ นำเงินที่เก็บออมไว้ออกไปลงทุนทำธุรกิจ ทำไร่ ทำสวนและเพราะความห้าว ผสมกับความฮึกเหิมนี้เอง ที่ทำให้หลายคนต้องสูญเงินที่เก็บออมจำนวนมาก เพราะเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ โดยไม่ได้ศึกษาความเป็นไปได้ ไม่ได้ประเมินความสามารถ ความเหมาะสมกับกำลังวังชาของตน
. "วัยหด" วัยนี้ถือเป็น "วัยเกษียณจริง" อายุ 70-79 ปี เพราะ "ความสามารถในการใช้ชีวิตจะลดลง ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ลูกจ้างเกษียณ อาชีพอิสระ หรือเจ้าของกิจการ จะไม่มีความแตกต่างด้านการใช้ชีวิตในวัยหดสักเท่าไร" ...ในขณะที่ความสามารถในการหารายได้ลดลงจนเกือบหมด แต่ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจะมีมากขึ้น เพราะโรคภัยจะแสดงอาการออกมาชัดเจนขึ้น จึงควรลดกิจกรรมต่างๆ ลง และให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพและสุขภาพจิตใจมากขึ้น
"วัยเหี่ยว" ในวัย 80 ปีขึ้นไป เข้าสู่วัยชรา และวัยพักผ่อนอย่างแท้จริง โดยในช่วงที่ชราภาพมากๆ จำเป็นต้องมีคนคอยดูแล เพราะปัญหาสุขภาพจะมีมากขึ้น ความจำแย่ลง ขณะที่ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของสุขภาพ จึงจำเป็นต้องเตรียมพร้อมทางการเงินไว้สำหรับการใช้จ่ายด้านสุขภาพเป็นหลัก
...เพราะฉะนั้น...ไม่ใช่แค่เห็นว่าอายุ 60 แล้วจะเหมารวมว่าเป็นผู้สูงอายุเหมือนๆ กันหมด คนไทยก็มีอายุยืนขึ้น โดยผู้ชายอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 75 ปี ขณะที่ผู้หญิงอายุเฉลี่ย 80 ปี และ...จากสถิติประชากรของประเทศไทย พบว่า..**ถ้ามีชีวิตรอดมาจนถึงอายุ 60 ปีได้แล้วล่ะก็ จะมีโอกาสมีชีวิตต่อไปจนถึงอายุ 81-83 ปี
เพราะฉะนั้น ..ถ้าวันนี้ท่านที่ประคับประคองชีวิตมาได้จนถึงวัยหลังเกษียณ ก็มองตัวเลขอายุ 80 ปีไว้เป็นเป้าหมายได้เลย จะได้..*เตรียมพร้อมรับมือกับชีวิตในวัย 70-80 ปีไว้ ไม่ประเมินอายุตัวเองต่ำเกินไป เพราะ..ปัญหาหนึ่งของผู้สูงอายุ คือ มักคิดว่าจะตายเร็วกว่าความเป็นจริง
เพราะ..หากไม่เตรียมพร้อมใน "วัยห้าว" ที่ยังมีเรี่ยวแรงหารายได้ อาจจะยังไม่มีความทุกข์ แต่..ถ้าเข้าสู่..วัยหด หรือ..วัยเหี่ยว เราอาจจะเป็นคนหนึ่งที่มีทุกข์แบบเดียวกับผู้สูงอายุทั่วๆ ไปที่เป็นกันในปัจจุบัน และในอดีตที่ผ่านมา.
. "ป้าเอง"
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |