24 เม.ย. 62 - นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนและเลขาธิการสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิและเสรีภาพ (สกสส.) ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กแสดงความเห็นต่อการบังคับใช้พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ข่าวกรองแห่งชาติฉบับใหม่ (พ.ศ.2562) ถึง 5 ข้อกังวลต่อกฎหมายข่าวกรองแห่งชาติใหม่ ว่า "1.เสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวและอาจนำข้อมูลใช้ในทางมิชอบ 2.นิยามที่ไร้ขอบเขตทำให้ประเทศขาดความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน 3.เหตุเพื่อจำเป็นอนุญาตให้สอดแนมโดยไม่มีเส้นแบ่งและไร้การตรวจสอบจากศาล 4.ความไม่ไว้ใจเจ้าหน้าที่ ถึงความเป็นกลาง ไม่มีอคติไม่มีส่วนได้เสียในการใช้ประโยชน์จากข่าวกรอง 5.รัฐกำลังสร้างความหวาดกลัวต่อประชาชนในการดำรงชีวิต
โดยสรุปมีการเพิ่มเติมคำนิยามคำว่า “การข่าวกรอง” โดยเพิ่มจากกฎหมายเก่า ให้รวมถึงวิธีการหาข่าวจากวิถีทางของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์การใดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยที่อ้างเหตุเพียงอาจกระทำการอันเป็นพฤติการณ์เป็นภัยคุกคามเท่านั้น จะเห็นว่าคำว่า “ภัยคุกคาม” ไม่มีความชัดเจนที่แน่นอนและเปิดช่องให้ตีความอย่างกว้างขวาง กฎหมายนี้ถือใช้เป็นเครื่องมือของอำนาจบริหารโดยลำพัง โดยไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุลจากอำนาจตุลาการ หรือศาล ขัดต่อหลักการสากลและหลักการสิทธิมนุษยชน
กฎหมายนี้คือใบอนุญาตให้ใช้วิธีการใดๆ เพื่อล่วงรู้ สอดแนมข้อมูลบุคคลอื่นๆ โดยที่เจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายหรือการกระทำใด หากทำตามหน้าที่และอำนาจโดยสุจริต ซึ่งความเป็นจริงก็มุ่งจะคุ้มครองเจ้าหน้าที่ไว้แล้วโดยกฎหมาย นอกจากนี้ทั้งยังเป็นเครื่องรับรองถึงความชอบการได้มาของข้อมูลและเอกสารข่าวโดยไม่ต้องพิสูจน์และยากต่อการหักล้างในการพิจารณาพยานหลักฐาน
การออกกฎหมายนี้บังคับใช้ จึงอาจทำให้ประชาชนสุ่มเสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพอย่างร้ายแรงและเป็นภัยเงียบ เนื่องจากจะแสดงผลก็ต่อเมื่อถูกดำเนินคดีหรือถูกแบล็คเมล์ เกิดเป็นสภาวะ “การสูญเสียการควบคุมความเป็นส่วนตัว” ที่มนุษย์ต้องการควบคุมในฐานะปัจเจกบุคคลในสังคมอย่างปราศจากการรบกวน ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับการต้องปิดบังใดๆ เพราะถือเป็นคนละเรื่องกันกับภัยความมั่นคง ดังนั้น จึงมองว่ากฎหมายนี้อาจเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยถึงความชอบด้วยรัฐธรรมนูญว่าเป็นบทบัญญัติกฎหมายที่ขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญต่อไป"
นายวิญญัติ ยังให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า กฎหมายข่าวกรองแห่งชาตินี้เปรียบเทียบแล้วยังดูน่ากลัวกว่า พ.ร.บ.ไซเบอร์ ที่มีคนออกมาคัดค้านกันจำนวนมากเสียอีก เพราะ พ.ร.บ.ไซเบอร์จะดูด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ หากไม่ใช่เหตุร้ายแรงฉุกเฉินมากยังจำเป็นต้องขอศาล แต่ พ.ร.บ.ข่าวกรองฉบับใหม่นี้ กฎหมายให้อำนาจฝ่ายบริหารในการเข้าถึงข้อมูลทุกรูปแบบทั้งหน้าบ้านหลังบ้าน โดยที่ไม่ต้องขอศาลและรับผิดทางกฎหมาย โดยเร็วๆ นี้ ตนเตรียมดูรายละเอียด เพื่อเตรียมไปยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า กฎหมายดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ต่อไป.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |