หลังการเลือกตั้ง 24 มี.ค. ปี 2562 ปัญหา “รัฐสภาใหม่” กลับมาถูกพูดถึงอีกครั้งเมื่อปรากฏภาพประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นำตัวแทนพรรคการเมืองและคณะ ไปตรวจความพร้อมห้องประชุมทีโอที อาคารสำนักงานใหญ่ บริษัททีโอที จำกัด ถนนแจ้งวัฒนะ ด้วยงบประมาณเช่าเดือนละ 11 ล้านบาท ที่จะใช้เป็นสถานที่ประชุมรัฐสภาชั่วคราว เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ทำให้อารมณ์ของคนในสังคม และบรรดานักการเมือง นักร้อง นักตรวจสอบ พุ่งเป้าไปยังความล่าช้าของ “สัปปายะสภาสถาน” รัฐสภาใหม่ของไทย ที่บัดนี้เลยจากระยะเวลาแล้วเสร็จไปนานแล้ว
จนเริ่มควานหาตัวการรับผิดชอบ ว่าเป็นความผิดของใคร ได้แก่ ผู้รับเหมา คนออกแบบ บริษัทควบคุมงาน ที่ปรึกษาโครงการ ข้าราชการ และนักการเมืองต่างๆ
ทั้งนี้ “เพจริงไซด์ การเมือง” ได้นำเสนอข้อมูลอีกด้านให้เห็นที่มาที่ไป พร้อมย้อนไปดูปฐมบทเริ่มต้นตั้งแต่ “ต้นน้ำ” จนถึง “ปลายน้ำ” ให้สังคมได้รับทราบข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน
นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารงานก่อสร้างอาคารรัฐสภาใหม่ เปิดเผยว่า บริษัทรับงานก่อสร้างอาคารรัฐสภาใหม่ปี 2556 เป็นการก่อสร้างอาคารความสูง 11 ชั้น พื้นที่ 400,000 ตารางเมตร มีระยะเวลาก่อสร้างรวม 900 วัน แต่ที่ผ่านมาการก่อสร้างเป็นไปอย่างล่าช้า ปัญหาอยู่ที่ “การส่งมอบพื้นที่ของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา” ไม่เป็นไปตามสัญญาที่กำหนดไว้ จากเดิมต้องส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมดปี 2557 แต่เลื่อนมาเป็นปี 2559 หรือล่าช้ากว่ากำหนดนานเกินกว่า 2 ปีจากสัญญา
แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทได้เร่งดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามสัญญาใหม่ รวมทั้งได้เร่งดำเนินการก่อสร้างอาคารบางส่วนให้แล้วเสร็จเพื่อให้ข้าราชการและสมาชิกสภาได้เข้ามาทำงาน
“บริษัทมีความเชื่อมั่นว่าปัญหาการก่อสร้างจะไม่ทำให้การก่อสร้างล่าช้าอีกแม้จะไม่มีกำไร ทั้งนี้จากการประเมิน บริษัท ซิโน-ไทยฯ ขาดทุนจากการดำเนินการก่อสร้างโครงการมูลค่าประมาน 3,000 ล้านบาท ตรงนี้คงมีการหารือกับทางรัฐสภาว่าจะชดเชยให้บริษัทได้มากแค่ไหน อย่างไร”
สำหรับปัญหาการติดตั้งระบบไอซีทีที่ประเมินงบประมาณแล้วทะลุหลัก 8 พันล้านบาท ก่อนลดมาเหลือ 5 พันล้านบาท และสังคมกำลังจับตามองในเรื่องมูลค่าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ นายภาคภูมิระบุว่า บริษัท ซิโน-ไทยฯ ไม่ได้เข้าไปมีส่วนกับการก่อสร้าง เช่นเดียวกับงานก่อสร้างพื้นที่จอดรถที่มีข่าวว่าปรับแบบลดสเปก ก็ไม่ใช่ความรับผิดชอบของบริษัท ซิโน-ไทยฯ
“ขอยืนยันว่าบริษัท ซิโน-ไทยฯ เป็นบริษัทที่มีธรรมาภิบาลในการบริหาร นอกจากนั้นการฟอกเงินจากโครงการที่มีมูลค่าเพียง 8,000 กว่าล้านบาท ให้กลายเป็นเงินจำนวนหมื่นกว่าล้าน เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ คนที่โจมตีเรื่องนี้มาจากการมโนหรือคิดเอาเองโดยไม่สุจริตใจ และหวังผลทางการเมือง โดยไม่ยึดหลักความเป็นจริงแต่อย่างใด หากพบว่ามีผลกระทบกับบริษัท จะมอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายตรวจสอบและดำเนินการทางกฎหมายกับคนที่ทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย”
ผู้บริหารของ ซิโน-ไทยฯ พยายามออกมาให้ข่าวทำความเข้าใจกับสังคมมาโดยตลอด เพื่อยืนยันความโปร่งใสในการทำงานของบริษัท
“บริษัทถือคติเอากล่องไม่เอาเงิน เอาศักดิ์ศรี เอาความภาคภูมิใจ จะได้เขียนลงในประวัติบริษัทว่าเคยก่อสร้างรัฐสภาซึ่งเป็นสถานที่สำคัญของประเทศ ด้วยเกียรติของผม ของคุณพ่อผม มีเกียรติเพียงพอที่จะรับประกันว่าโครงการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่มีความโปร่งใส ทุกท่านสามารถเข้าไปนั่งในสภาแห่งใหม่ได้ สะอาดแน่นอน ไม่มีสิ่งใดต้องกังวล นี่คือถ้อยคำของนายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย และผู้ถือหุ้นบริษัท ที่เคยกล่าวเรื่องนี้ไว้หลายครั้ง" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวปิดท้าย
นี่คือข้อจริงที่อยากให้สังคมรีบทราบข้อมูลอีกด้าน โดยเฉพาะกระบวนการ “ต้นน้ำ” ของโครงการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ รวมถึงปัญหาการส่งมอบที่ดินล่าช้า ฯลฯ นั้นเป็นมาอย่างไร ก่อนกล่าวหาว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหาย.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |