.
23เม.ย.62- นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา กล่าวถึงกรณีกลุ่มครูออกมาคัดค้านการผลักดันร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การศึกษาแห่งชาติ ออกเป็นพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การศึกษาแห่งชาติ เพราะยังมีข้อบกพร่องและมีผลกระทบโดยตรงต่อบุคลากรทางการศึกษา ว่ากฎหมายต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.... ซึ่งอยู่ระหว่างการปรับเป็น พ.ร.ก.ได้มีการรับฟังความคิดเห็นมาแล้ว และแม้จะออกมาคัดค้าน กอปศ.ก็คงไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะได้เสนอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา รวมถึงผ่านความเห็นชอบจากรัฐบาลไปแล้ว สำหรับความคิดเห็นที่แตกต่างก็ยินดีรับฟัง และคิดว่าอาจเกิดจากความไม่เข้าใจ ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับนี้ ให้ความสำคัญและยกย่องความเป็นครูไม่ใช่ยกย่องเรื่องการบริหาร ที่ผ่านมาสังคมมีความเปลี่ยนแปลงจากครู เป็นครูใหญ่มาเป็นผู้อำนวยการ เป็นการให้ความสำคัญกับการบริหารสมัยใหม่ เช่นเดียวกับสังคมภายนอก ที่เน้นการบริหารเงิน บริหารคน โดยไม่ให้ความสำคัญกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาอย่างเพียงพอ
นพ.จรัส กล่าวต่อว่า การปรับเปลี่ยนครั้งนี้ถือเป็นการปฏิรูปการศึกษาอย่างแท้จริง อีกทั้งคำว่า"ครูใหญ่ "ไม่ได้เล็กกว่าผู้อำนวยการสถานศึกษา แต่เป็นการกำหนดหน้าที่ของครูใหญ่ว่า ต้องทำให้นักเรียนมีความรู้ มีความสามารถ เป็นคนดี ตรงนี้คือวิธีคิด เช่นเดียวกันกรณีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ซึ่งจุดสำคัญคือ จิตวิญญาณความเป็นครู ไม่ใช่เห็นครูเป็นเพียงอาชีพหนึ่งเท่านั้น การรับรองความเป็นครูจึงมีระดับที่สูงกว่า เรื่องของใบอนุญาตฯ ส่วนที่มีคำถามว่ากลุ่มที่ออกมาคัดค้าน มีวัตถุประสงค์แอบแฝงหรือไม่นั้น ตนไม่แน่ใจแต่สิ่งที่ถามกันคือเงินวิทยฐานะหายไปหรือไม่ ซึ่งยืนยันว่าแม้จะเปลี่ยนชื่อตำแหน่งเป็นครูใหญ่ทุกอย่างก็ยังอยู่เช่นเดิม เพียงแต่ผู้ที่จะได้วิทยฐานะให ม่ต้องได้ด้วยความดีและการทำงาน ไม่ใช่การทำเอกสาร อย่างไรก็ตามเรื่องดังกล่าวไม่ได้กำหนดไว้ในร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ แต่จะต้องไปออกเป็นระเบียบหรือกฎหมายลูกให้สอดคล้องต่อไป
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |