กองทุนเพื่อผู้อยู่ใกล้โรงไฟฟ้า


เพิ่มเพื่อน    

    การอยู่ร่วมกันของโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใดก็ตาม กับชุมชนในพื้นที่ตั้งนั้นต้องมีประเด็นที่ให้ติดตามกันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดีหรือเรื่องที่ต้องแก้ไข ที่ผ่านมา "กระจกไร้เงา" เคยพูดถึงการอยู่ร่วมกันของโรงงานและชุมชนที่อาจจะเกิดปัญหาจนต้องนำมาถึงการฟ้องร้อง และการอยู่ร่วมกันของโรงงานและชุมชนที่ส่งเสริม เกื้อหนุนซึ่งกันและกันจนต้องมีรางวัลการันตีแล้ว แต่ครั้งนี้จะมาพูดถึงแนวทางการพัฒนาชุมชนรอบๆ โรงงานที่อยู่ในกลุ่มของโรงไฟฟ้า    
    ในสมัยก่อนจนถึงปัจจุบันนั้นการที่จะไปตั้งโรงไฟฟ้าสักหนึ่งพื้นที่นั้นจะต้องมีการตรวจสอบในหลายๆ ด้าน ต้องทำรายงานผลกระทบต่างๆ รวมถึงการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ด้วย ว่าสมควรและยินยอมหรือไม่หากจะอยู่ร่วมกับโรงไฟฟ้าในทุกๆ วันต่อไป หากถูกคัดค้านหรือรายงานจากทั้งประชาชนในพื้นที่ และในแง่ของการดำเนินงานที่เป็นไปได้ค่อนข้างยาก โรงไฟฟ้านั้นก็อาจจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้
    แต่หากว่าสามารถตั้งโรงงานขึ้นมาได้แล้ว ข้อปฏิบัติต่างๆ ก็จะมีความคล้ายคลึงกัน โดยต้องดำเนินงานอย่างมีความระมัดระวัง คำนึงถึงผลกระทบของสังคมและชุมชน รวมถึงมีแนวทางที่จะพัฒนาพื้นที่โดยรอบด้วย ทั้งนี้จึงเกิดโครงการกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ขึ้นมา เพื่อเป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะการันตีได้ว่าเมื่อมีการเกิดขึ้นของโรงไฟฟ้าในพื้นที่แล้วนั้น จะมีการดูแลประชาชนร่วมด้วยผ่านกองทุนดังกล่าว
    "กองทุนพัฒนาไฟฟ้า" เป็นกองทุนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เป็นทุนสนับสนุนให้มีการให้บริการไฟฟ้าไปยังท้องที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง 2.กระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่น 3.พัฒนาชุมชนในท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า และ 4.ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีในการประกอบกิจการไฟฟ้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย โดยคำนึงถึงความสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติและสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า       
    ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวนั้นได้ก้าวสู่ปีที่ 8 ของการพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสำนักงาน กกพ.ได้เริ่มจัดการประกวดกองทุนพัฒนาไฟฟ้าขึ้นครั้งแรกในปี 2559 ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี โดยมีกองทุนพัฒนาไฟฟ้าและโครงการชุมชนในกองทุนประเภท ก (กองทุนขนาดใหญ่ที่ได้รับเงินมากกว่า 50 ล้านบาทต่อปี) และกองทุนประเภท ข (กองทุนขนาดกลางได้รับเงินมากกว่า 1-50 ล้านบาทต่อปี) สนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวด 53 กองทุน 66 โครงการ และได้รับรางวัล 12 กองทุน 8 โครงการ
    และในปี 2562 นี้ ทาง กกพ.ก็ได้ยกระดับการจัดประกวดให้ครอบคลุมกองทุนทั้ง 3 ประเภท คือ กองทุนประเภท ก, ข และ ค (กองทุนขนาดเล็กที่ได้รับเงินไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อปี) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่อง ชื่นชมและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง เฟ้นหาสุดยอดกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศและโครงการชุมชนดีเด่นในการนำไปขยายผลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไปได้รับทราบ
    โดยเกณฑ์การประกวดกองทุนพัฒนาไฟฟ้าปี 2562 แบ่งการประกวดออกเป็น 2 ระดับ รวม 42 รางวัล ได้แก่ 1.ระดับกองทุนพัฒนาไฟฟ้า จำแนกตามประเภทกองทุน ก, ข และ ค รวม 15 รางวัล 2.ระดับโครงการชุมชน จำแนกตามพื้นที่รวม 5 รวม 20 รางวัล รวมทั้งผลการส่งเสริมการพัฒนาชุมชนดีเด่น 3 ทั้งนี้ ผู้ชนะการประกวดจะได้รับถ้วยรางวัลหรือโล่รางวัล พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ และเงินรางวัลรวมมูลค่ามากกว่า 600,000 บาท โดยจะเปิดรับสมัครการประกวดระหว่างเดือน เม.ย.-พ.ค.
    อย่างไรก็ตาม หากโรงไฟฟ้าไหนสนใจสามารถติดตามรายละเอียดได้ในช่องทางของ กกพ. อย่างเช่นเว็บไซต์ www.erc.or.th เพราะการร่วมโครงการนี้นอกจากจะได้ประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแล้ว ยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่แสดงความจริงใจในการอยู่ร่วมกันกับชุมชนรอบๆ.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"