20 เม.ย.62 - นางสาวรัชดา ธนาดิเรก อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความระบุว่า ฝากการบ้านไปยังว่าที่ส.ส.
น่าตารัฐบาลใหม่จะเป็นอย่างไรยังไม่รู้แต่การทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติต้องให้สมศักดิ์ศรี สภาในยุคสนช.สิ่งที่ขาดหายไป5ปีคือความเข้มข้นในการอภิปรายหรือซักถามการบริหารงานของรัฐบาล เหมือนกับว่าเมื่ออยู่ในมือรัฐบาลแล้วฝ่ายนิติบัญญัติไม่ต้องแตะ แต่จากนี้ไปเรามีส.ส.ที่ผ่านการเลือกของประชาชนแล้ว เราจะมีคนไปเป็นปากเป็นเสียง ไปตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล นี่คือข้อดีอีกด้านหนึ่งของการมีผู้แทนฯ ประชาชนอยากให้ผู้แทนฯได้ทำงานกันอย่างเต็มที่มีประสิทธิภาพ
หนึ่งในเรื่องสำคัญที่เราต้องรู้แต่เงียบ คือโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-หนองคาย แม้วันนี้มีความชัดเจนในเรื่องการก่อสร้างระยะที่1 กรุงเทพ-โคราช แต่มันก็มีหลายประเด็นที่ได้รับฟังจากคนวงในมาว่าฝั่งไทยเสียโอกาส เช่น การถ่ายโอนทางเทคโนโลยีจากฝั่งจีนสู่ไทยนั้นมีน้อยมาก การจ้างแรงงานท้องถิ่น เรื่องสัมปทานการใช้ที่ดินก็ไม่ได้รับทราบว่าตกลงกันอย่างไร
เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลกับประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ในเครือข่ายเส้นทางรถไฟความเร็วสูง คุณหมิง-ลาว-ไทย-มาเลย์-สิงคโปร์ จะเห็นว่า
1. มีการต่อรองเรื่องค่าใช้จ่ายโครงการก่อสร้าง วันนี้มาเลเซียยอมอนุมัติโครงการฯจากที่พับไปเมื่อปีที่แล้ว หลังจีนยอมลดค่าก่อสร้าง1/3
2. ภาคประชาสังคมในลาวเรียกร้องให้รัฐบาลปรับแก้เงื่อนไขกับรัฐบาลจีน หลังพบปัญหาการใช้แต่แรงงานจีน โครงการต้องใช้แรงงาน3หมื่นคน แต่เป็นคนจีนมากถึง2.7หมื่นคน ค่าเวนคืนไม่ยอมจ่าย มีสี่พันกว่าครอบครัวที่ถูกกระทบจากโครงการ แต่ได้เงินแค่63คน นับแต่มีการเริ่มก่อสร้างในปี2016
แล้วบ้านเราหละ ทุกอย่างราบรื่น? การจัดสรรผลประโยชน์เป็นธรรมสองฝ่าย? แล้วถ้าไม่ใช่ เราจะยอมระทมและปล่อยให้เป็นซ้ำอีกในระยะที่สองช่วง โคราช-หนองคายอย่างนั้นหรือ?
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |