เมื่อคณิตศาสตร์เจอรัฐศาสตร์ สูตรคำนวณ party list ก็ร้อนฉ่า!


เพิ่มเพื่อน    

    ทำไม กกต.จึงอ้างว่า มาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญ กับมาตรา 128 ของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งขัดกันในการคำนวณคะแนนเพื่อจัดสรรที่นั่งให้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ?

    ผมตั้งคำถามนี้กับผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์, คณิตศาสตร์และนิติศาสตร์หลายท่าน เพื่อพยายามจะหาคำตอบ

    หนึ่งในผู้รู้ที่ให้คำอธิบายคือ ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง แห่ง TDRI ที่ตอบว่าอย่างนี้ในเฟซบุ๊กของท่าน

    กกต.ได้ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ โดยอ้างว่าถ้าไม่ปัดเศษให้พรรคเล็กพรรคน้อย (ทำให้พรรคเหล่านั้นได้ ส.ส. 1 คน ซึ่งเกิน ส.ส.พึงมีของพรรคเหล่านั้นตาม รธน. ม.91 (2)) ก็จะทำให้ไม่สามารถได้ ส.ส.ครบ 150 คน

    แต่นั่นเป็นเพราะ กกต.คงเลือกใช้วิธีที่ข้าม ม.128 (4) ไปเอง!

    ตามาตรา 128 แห่ง “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561” (พ.ร.ป.) นั้น ท่านเขียนไว้อย่างนี้

    ในกรณีที่ไม่มีพรรคไหนได้ ส.ส.เขตเกิน ส.ส.พึงมี กระบวนการจะจบที่ (4) (ซึ่งก็ตรงตามเงื่อนไขใน (5) แล้วด้วย

    แต่ในกรณีที่มีพรรคที่ได้ ส.ส.เขตเกิน ส.ส.พึงมี (อย่างหนนี้) เมื่อถึง (4) กระบวนการที่ต้องทำเพิ่มเพื่อให้เป็นไปตามบังคับ (5) หรือเงื่อนไขใน (5) ด้วยก็คือ

-ตัดพรรคที่ได้ ส.ส.เขตเกิน ส.ส.พึงมีออก (คือพรรคเพื่อไทย)

-แล้วจัดสรร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อทั้งหมด 150 คน ให้แก่พรรคการเมืองอื่นๆ (ไม่รวม พท.) “ตามอัตราส่วน” ที่ไม่ได้ทำให้พรรคไหนมี ส.ส.เกิน ส.ส.พึงมีได้ตาม (2)

ซึ่งปรากฏว่า ตั้งแต่เมื่อเราทำตาม (3) เราก็ได้ตัวเลขในคอลัมน์ 7 ในตาราง [ที่รวมได้ 175.5321] ซึ่งตัวเลขเหล่านั้นก็คืออัตราส่วนสูงสุดที่เป็นไปได้ที่เข้าข่ายนี้อยู่แล้ว!

นั่นก็คือทุกตัวเป็นตัวเลขที่ถ้าจัดสรรให้ไม่เกินนั้นแล้ว จะไม่ทำให้พรรคหนึ่งใดมี ส.ส.เกินที่พรรคนั้นพึงมีได้

    ดังนั้น เมื่อเอาผลจาก (3) มาทำ (4) โดยตัดพรรคเพื่อไทยออก ก็สอดคล้องกับทุกเงื่อนไขใน (5)

    ซึ่งเมื่อทำแล้ว ก็จะปรับผลของการที่มีพรรคที่ได้ ส.ส.เขตเกิน ส.ส.พึงมี (ในกรณี overhang) คือ จาก 175.5321 ลงมาเหลือ 152

    ทำให้เหลือเพียง 16 พรรคที่จะถูกนำไปปรับให้เหลือ 150 ตาม (7) ต่อไป และเมื่อทำไปจนจบ ก็มีผลแค่ปรับ ส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคอนาคตใหม่ลงอีก 1 คน โดยในทุกขั้นตอน ไม่มีพรรคไหนได้ ส.ส.เกินจำนวน ส.ส.พึงมีได้ (ที่เป็นเศษตาม 128 (2) หรือ รธน. ม.91(2)) เลย

หมายเหตุ : บางท่านอาจสงสัยว่า ทำไม (4) กับ (5) ดูซ้ำๆ ถ้าเทียบ พ.ร.ป.กับ รธน. จะเห็นว่า 128 (4) เขียนแทรกเพิ่มขึ้นมาทีหลัง (เช่นเดียวกันกับ 128 (6) และ (7)) เพื่อมาเสริมเรื่องการจัดการเศษ ซึ่งไม่ได้เขียนไว้ใน รธน. แต่ถ้าตีความแบบที่ผมตี ก็จะไม่มีตรงไหนที่ พ.ร.ป.ขัดกับ รธน.จริงๆ

    ใครที่ติดตามข่าวคราวการคำนวณคะแนนสำหรับบัญชีรายชื่อครั้งนี้ แรกๆ อาจจะงงเล็กน้อย แต่ถ้าหากตั้งใจฟังและคิดตามจริงๆ ก็จะมีความเข้าใจกระจ่างและสามารถจะตอบตัวเองได้ว่า ที่มาที่ไปของความเห็นต่างในเรื่องนี้มาจากไหน

    ถ้าหากคิดแบบคณิตศาสตร์ล้วนๆ ก็จะเข้าใจหลักวิธีคำนวณ

    แต่ถ้าใส่มิติวิเคราะห์การเมืองเข้าไปด้วยก็จะได้อีกหลายมิติแห่งความเห็นเพิ่มเข้ามา

    นี่แหละมหัศจรรย์แห่งคณิตรัฐศาสตร์


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"