หลังจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาประกาศพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2562 มีผลให้มีการจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง นับตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2562 เป็นต้นไป ความว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2562”
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (4/1) ของมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 “(4/1) กรมการขนส่งทางราง”
มาตรา 4 ให้โอนบรรดาหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หนา 9 เล่ม 136 ตอนที่ 49 ก ราชกิจจานุเบกษา 14 เมษายน 2562 กระทรวงคมนาคม เฉพาะสำนักงานโครงการพัฒนาระบบราง และของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม เฉพาะสำนักงาน โครงการพัฒนาระบบราง ไปเป็นหน้าที่และอำนาจของกรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม หรือของข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของกรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม แล้วแต่กรณี
มาตรา 5 ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลังของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม เฉพาะสำนักงานโครงการพัฒนาระบบราง ไปเป็นของกรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
มาตรา 6 บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีใดที่อ้างถึงสำนักงานโครงการพัฒนาระบบราง สำนักงานนโยบายและแผน การขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม และข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของสำนักงาน โครงการพัฒนาระบบราง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม ให้ถือว่าอ้างถึงกรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม และข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของกรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม แล้วแต่กรณี
มาตรา 7 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ขอบเขตอำนาจของกรมรางนั้นจะเป็นหน่วยงานกำกับดูแล (Regulator) คล้ายกับกรมการขนส่งทางบก ส่งผลให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รวมถึงบริษัทเอกชนเป็นเพียงผู้ประกอบการ (Operator) ภายใต้กำกับดูแลของรัฐบาลและกฎหมายที่กำหนด ดังนั้นจึงมีอำนาจควบคุมรถไฟทั่วไป รถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูง อาทิ ด้านการวางแผนพัฒนาระบบราง การควบคุมมาตรฐานงานเดินรถและบริการ การพัฒนาที่ดินและพื้นที่เชิงพาณิชย์ตามแนวเส้นทาง การลงโทษผู้ให้บริการ และการกำหนดราคาค่าโดยสาร เป็นต้น
สำหรับการควบคุมค่าโดยสารรถไฟฟ้าในอนาคตนั้น กรมรางจะเข้ามาดูเรื่องการเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้า การกำหนดค่าโดยสารที่เป็นธรรม โดยจัดทำมาตรฐานราคาในแต่ละสายให้มีความสอดคล้องกัน แต่ทั้งนี้ไม่มีอำนาจไปกำกับดูแลและเปลี่ยนแปลงสัญญารถไฟฟ้าที่อยู่ในสัมปทานปัจจุบัน ซึ่งได้ลงนามไปแล้ว อาทิ รถไฟฟ้าสายสีชมพู รถไฟฟ้าสายสีเหลือง รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน-เขียวเข้ม รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีในส่วนของการจัดหาบุคลากร 203 คน แบ่งเป็นข้าราชการ 176 คน และพนักงานราชการ 27 คน ควบคู่ไปกับการออกกฎหมายลูกภายใต้ พ.ร.บ.การขนส่งทางราง จากนั้นจะเข้าควบคุมบริหารงานได้เต็มที่ภายใน ก.ย.นี้
ก็ถือว่าเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาแล้วสำหรับการจัดตั้งกรมขนส่งทางรางที่จะเข้ามาดูในส่วนของระบบรางทั้งหมด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องรอลุ้นกันว่าใครจะเป็นคนแรกที่จะมานั่งในตำแหน่งอธิบดีกรมราง ซึ่งคาดว่าจะรู้ผลภายใน 1 เดือนนับจากนี้.
กัลยา ยืนยง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |