หมดเวลาเทศกาลสงกรานต์  ชีวิตยังผูกพันได้ด้วยกิจกรรม


เพิ่มเพื่อน    

(คลายความคิดถึงลูกหลาน ให้ผู้สูงวัยหันมาดูแลสุขภาพ ด้วยการเลือกเข้าชมรมออกกำลังกาย หรือหมั่นไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทำให้ชีวิตยืนยาว)

    ช่วงเทศกาลปีใหม่ไทยถือเป็นโอกาสดีที่ลูกหลานจะได้มาเยี่ยมเยือนผู้สูงวัย ที่สำคัญการไปหาท่านด้วยรอยยิ้ม ความสดชื่น บวกกับความคิดถึง ย่อมทำให้คุณตาคุณยายที่รอคอยบุตรหลานมีความสุขมากที่สุด แต่ที่ลืมไม่ได้คือการหมั่นเติมเต็มสุขภาพจิตของวัยเก๋า หลังจากที่ลูกหลานกลับสู่ภูมิลำเนาของตัวเองหลังสงกรานต์จบลง จึงมีผู้สูงวัยไม่น้อยที่มีอาการซึมเศร้า ร้องไห้ เพราะคิดถึงลูกหลาน 

(พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์)

    พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ รองอธิบดีกรมอนามัย มีคำแนะนำเกี่ยวกับดูแลสุขภาพจิตวัยเก๋าว่า “ภาวะซึมเศร้าและคิดถึงลูกหลานของผู้สูงวัย เป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ เพราะสามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้นลูกหลานจำเป็นต้องทำให้ท่านรู้สึกว่า ถึงแม้ว่าเราอยู่ไกลกันก็จริง แต่ก็สามารถที่จะสื่อสารกันได้ ตรงนี้เรื่องของเทคโนโลยีช่วยได้เยอะค่ะ เพราะเราสามารถพูดคุยกับท่านด้วยโทรศัพท์มือถือแล้วก็ยังสามารถสื่อสารแบบเห็นหน้าผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์ หรือไลน์คอลได้นั่นเอง หรือแม้แต่การ “โทร.หากันอย่างสม่ำเสมอ” เช่น อาทิตย์ละ 2 วัน โดยสามารถเลือกวันอังคารกับวันพฤหัสบดี นั่นจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าลูกหลานเป็นห่วง หรือห่วงหาผ่านทางเสียงพูด แม้ไม่ได้อยู่ใกล้ แต่ก็สามารถได้ฟังเสียงกันได้ รวมไปถึงการ “ให้ญาติหรือเพื่อนบ้านใกล้ชิดแวะเวียนมาเยี่ยมเยียนพ่อแม่” หรือนำของฝากจากลูกหลานไปให้ท่าน ทำให้ผู้สูงอายุไม่รู้สึกโดดเดี่ยว แม้ว่าอันที่จริงแล้วจะไม่มีอะไรแทนลูกหลานได้ หรืออย่างน้อยๆ ปีละ 3-4 ครั้ง ก็ควรหาวันหยุดไปเยี่ยมเยือนท่านบ่อยๆ 

(ลดอาการคิดถึงลูกหลานหลังเทศกาลสงกรานต์จบลง บุตรหลานสามารถแสดงความรักและห่วงใยด้วยการโทร.หาท่าน จะช่วยให้ผู้สูงวัยรับรู้ถึงความห่วงหาดังกล่าวผ่านเสียงพูด)

    ส่วน “กิจกรรมผ่อนคลายความคิดถึง” แนะนำว่าให้ผู้สูงอายุลองทำงานบางอย่างที่ถนัด เช่น ทำกล้วยตาก หรือทำหมูหวาน หมูเค็ม และขนมไทยอบแห้งต่างๆ ใส่โหลหรือใส่แพ็กเกจที่สวยงาม เพื่อส่งให้ลูกหลานรับประทานแก้เหงา หรือเลือกทำงานฝีมือที่ชอบและสนใจ ก็จะทำให้รู้สึกผ่อนและคลายความคิดถึงลูกหลาน ที่สำคัญยังได้ของใช้ที่มีประโยชน์อีกด้วย หรือการที่ผู้สูงอายุใช้เวลาว่างในการเล่นไอทีกับลูกหลาน นอกจากนี้การที่คนวัยเก๋าหันมาดูแลสุขภาพ เพื่อให้มีร่างกายแข็งแรง และอยู่กับลูกหลานไปนานๆ เช่น การหมั่นไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ หรือเข้าร่วมการอบรมในการดูแลสุขภาพ เช่น กิจกรรมปรุงยาสมุนไพรพื้นบ้าน กระทั่งการเข้าวัดปฏิบัติธรรม หรือไปโบสถ์ เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยที่ผ่านร้อนผ่านหนาว และมีประสบการณ์ใช้ชีวิต จึงสามารถเข้าใจศาสนาได้อย่างลึกซึ้ง จึงช่วยให้จิตใจสงบและอ่อนโยน อีกทั้งยังทำให้ความคิดของท่านเติบโต และการเข้าวัดก็ยังทำให้ท่านรู้สึกปล่อยวาง อีกทั้งชุ่มชื่นหัวใจและเกิดความสุขสว่างสู่กลางใจ”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"