แจง'ธีระชัย'วันเข้าคูหา ตามบทเฉพาะกาลรธน.


เพิ่มเพื่อน    


    ผิดคิว! "ธีระชัย" ร่อนจดหมายถึง กกต. อ้างกำหนดวันเลือกตั้งขัดรัฐธรรมนูญเพราะเกินไป 1 วัน พระราชกฤษฎีกาให้เลือกภายใน 60 วัน แต่ กกต.จัดในวันที่ 61 ขณะที่อดีต กรธ.-อดีต กกต.เฉลย เลือกตั้งหนแรกต้องทำตามบทเฉพาะกาลภายใน 150 วัน หลังกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 4  ฉบับบังคับใช้
    นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ทำจดหมายเปิดผนึกถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เรื่องการกำหนดวันเลือกตั้งที่อาจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ โดยมีรายละเอียดว่า  "ตามที่ กกต.ได้ออกประกาศเรื่อง กำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วันรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และสถานที่ที่พรรคการเมืองจะส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2562 ซึ่งข้อ 1.กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2562 นั้น
    ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าอาจเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 จึงขอเรียนแก่ท่าน ดังนี้
    ข้อ 1.ข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับวันเลือกตั้ง
    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 บัญญัติว่า 'มาตรา 102 เมื่ออายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง พระมหากษัตริย์จะได้ทรงตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุ
    การเลือกตั้งตามวรรคหนึ่งต้องเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักรตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา' และ
    'มาตรา 103 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทําโดยพระราชกฤษฎีกาและให้กระทําได้เพียงครั้งเดียวในเหตุการณ์เดียวกันภายในห้าวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งใช้บังคับให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกําหนดวันเลือกตั้งทั่วไปในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันแต่ไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับ วันเลือกตั้งนั้นต้องกําหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร'
    เหตุผลเพื่อให้มีเวลาเตรียมตัวผู้สมัครและการหาเสียงที่พอเพียง แต่ในเวลาเดียวกันมิให้เนิ่นนานเกินกว่าสมควร
    สำหรับการเลือกตั้งครั้งแรกภายหลังจากการปฏิวัติรัฐประหารนั้น ไม่ว่ากระบวนการเกี่ยวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ การแบ่งเขต และวิธีการจัดการเลือกตั้ง มิได้มีข้อบัญญัติใดเป็นการเฉพาะ จึงต้องใช้ข้อบัญญัติทั้งหลายในรัฐธรรมนูญ และถึงแม้ในบทเฉพาะกาล มาตรา 268 จะบัญญัติให้ดําเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญนี้ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา 267 (1) (2) (3) และ (4) มีผลใช้บังคับแล้ว ก็เป็นเงื่อนไขเพิ่มเติม มิใช่เงื่อนไขที่ยกเว้นการปฏิบัติตามข้อบัญญัติทั้งหลายในรัฐธรรมนูญ
    นอกจากนี้ เนื่องจากในการเลือกตั้งครั้งแรกภายหลังจากการปฏิวัติรัฐประหาร ย่อมไม่มีเหตุการณ์สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงตามมาตรา 102 หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 103 นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติด้วยในฐานะเป็นผู้ถือรัฏฐาธิปัตย์ จึงเป็นผู้ใช้อำนาจเสนอให้มีการตราพระราชกฤษฎีกา ดังนั้น พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ.2562 จึงย่อมมีฐานะเป็นพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 103 และการกำหนดวันเลือกตั้งก็ต้องปฏิบัติตามมาตรา 103 คือต้องไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันแต่ไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับ
    ข้อ 2.วันเลือกตั้งเป็นวันที่หกสิบเอ็ดนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
    เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ.2562  ประกาศราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 23 มกราคม 2562 และบัญญัติว่า
    'มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป'
    วันเลือกตั้งซึ่งกำหนดเป็นวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2562 จึงเกินกว่าหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับ ซึ่งอาจจะฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ข้าพเจ้าจึงขอแนะนำให้ท่านพิจารณาข้อมูลนี้โดยรอบคอบในการประกาศผลการเลือกตั้ง
    อย่างไรก็ตาม นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ อดีตคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า ในการเลือกตั้งครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ 24 มี.ค.62 เป็นไปตามบทเฉพาะกาล ส่วนมาตรา 102, 103  เป็นบทถาวรใช้ในกรณีปกติ เมื่อสิ้นสุดอายุสภาผู้แทนราษฎรหรือมีการยุบสภา หมายถึงจากนี้ไปแล้วมีรัฐบาลใหม่ อยู่ครบวาระหรือเกิดการยุบสภาต้องปฏิบัติตามมาตรา 102, 103 กรณีเลือกตั้ง 24 มี.ค. เป็นไปตามบทเฉพาะกาล ซึ่งเป็นเหตุการณ์เงื่อนไขเฉพาะที่มาตรา 267, 268 เขียนเรียงไว้หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้วให้ทำอะไรบ้าง ก็ให้มีการเลือกตั้งภายใน 150 วัน หลังกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ  4 ฉบับแล้วเสร็จใช้บังคับ จึงเห็นว่าวันเลือกตั้ง 24 มี.ค.ไม่ผิดอะไร
    เขายกตัวอย่างย้ำบทเฉพาะกาลคือใช้เฉพาะกาลไปก่อน เหมือนกับการสรรหา ส.ว.ที่แรกเริ่มใช้ตามบทเฉพาะกาลมี 250 คน แต่บทถาวรมี ส.ว. 200 คน เมื่อพ้นไป 5 ปีแล้วถึงใช้ ส.ว. 200 คน ไม่ได้แปลว่าบทเฉพาะกาลจะไปแย้งบทถาวรไม่ได้ เป็นการใช้ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเท่านั้น การเลือกตั้งคราวนี้จึงเป็นไปตามมาตรา 268 ที่ให้เลือกตั้งแล้วเสร็จภายใน 150 วัน ไม่ใช่ไปแย้งกับมาตรา 102,  103
    ด้านนายโคทม อารียา ที่ปรึกษาสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล และอดีตคณะกรรมการการเลือกตั้งให้สัมภาษณ์ว่า เราต้องยึดบทเฉพาะกาลตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 268 ที่กำหนดให้จัดเลือกตั้งไม่เกิน 150 วันนับจากที่กฎหมายลูกจำนวน 4 ฉบับบังคับใช้ เพราะตามหลักกฎหมายบทเฉพาะกาลจะใช้กับการเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่เช่นนั้นจะกำหนดไว้ทำไมในมาตรา 268 ถ้าจะยึดบทหลัก มาตรา 103 ก็ไม่ต้องเขียนในบทเฉพาะกาล.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"