www.thaipost.net ไทยโพสต์ "อิสรภาพแห่งความคิด" Line ID:@thaipost ข้อเสนอ "รัฐบาลแห่งชาติ" มาอีกแล้ว จากวันนั้น "พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ" อดีตนายกฯ ขยันเสนอ จนวันนี้เปลี่ยนหน้ามาเป็น "เทพไท เสนพงศ์" ว่าที่ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ เสนอบ้าง แต่ก็คงเป็นไปไม่ได้ ปล่อยให้ชาวประชาเย้ยหยันฝันกลางวันไปก่อน ในเมื่อประชาชนเพิ่งได้แสดงเจตจำนงในการเลือกตั้ง 24 มี.ค.2562 ถึงความต้องการรัฐบาลใหม่ตามระบอบปกติผ่านไปยังไม่ถึงเดือน ประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการก็ยังไม่เริ่มด้วยซ้ำ ...0
แม้ "เทพไท" จะเสนอรัฐบาลแห่งชาติพร้อมให้เครดิต "พรรคอนาคตใหม่" ด้วยว่าไม่ขัดจุดยืนพรรค เพราะไม่สืบทอดอำนาจ "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกฯ และหัวหน้า คสช. และต้องแก้รัฐธรรมนูญ แต่ "พรรณิการ์ วานิช" โฆษกพรรคอนาคตใหม่ ก็ไม่โอเคอยู่ดี ชี้ว่ารัฐบาลแห่งชาติขัดต่อหลักการประชาธิปไตย เนื่องจากการมีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์จะต้องมีการตรวจสอบถ่วงดุล ถ้าหากทุกพรรคเป็นรัฐบาลหมด ไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุลก็ไม่ต่างอะไรกับเผด็จการ และการเป็นรัฐบาลแห่งชาติทำให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมาอยู่ในสถานะเดียวกับ คสช. และ สนช. ...0
ที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ไทย รัฐบาลแห่งชาติมักจะเกิดขึ้นได้ภายหลังวิกฤติ เช่นรัฐบาล "สัญญา ธรรมศักดิ์" หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา หรือรัฐบาล "อานันท์ ปันยารชุน" หลังเหตุการณ์พฤษภา 35 การเสนอรัฐบาลแห่งชาติก่อนวิกฤติถึงจะเป็นเจตนาดี แต่ก็ทำให้การเมืองไทยกลับไปสู่วังวนเดิมที่เป็นการตกลงกันเองของชนชั้นนำ ในการเสนอนายกฯ คนนอกมาเป็นรัฐบาล เสียงของประชาชนที่เลือกตั้งไปถูกทำให้ด้อยค่าลงหรือไม่มีความหมาย และไม่มีอะไรรับประกันได้ว่ารัฐบาลแห่งชาติจะป้องกันวิกฤติได้ หรือทำให้เกิดวิกฤติใหม่ในอนาคตอีก ...0
เปิดช่องเลือกตั้งโมฆะ? "ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล" อดีต รมว.การคลัง โพสต์เฟซบุ๊กถึง กกต. เรื่องวันเลือกตั้งอาจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ โดยหยิบยกมาตรา 102, 103 ในบทถาวรมาวิเคราะห์ร่วมกับบทเฉพาะกาลมาตรา 267, 268 ชี้ว่าวันเลือกตั้ง 24 มี.ค. เกินกรอบเวลา 60 วันในบทถาวร เล่นเอาน่าคิดหลายตลบ วิเคราะห์อย่างงี้ก็ได้เหรอ ภายหลังทราบการชี้แจงประเด็นนี้จาก "ชาติชาย ณ เชียงใหม่" อดีตกรรมการร่างรัฐธรรมนูญยืนยันไม่ผิด เป็นไปตามกรอบเวลา 150 วันในบทเฉพาะกาล ไม่เกี่ยวกับเงื่อนไขในบทถาวรกรณีปกติ ก็รู้สึกโล่งใจไประดับหนึ่งที่คิดตรงกัน ...0
วันก่อน "วิทยา ผิวผ่อง" อดีตประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ของ สนช. ให้ความเห็นผ่านสื่อถึงการคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ยืนยันพรรคใดที่มีคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 71,065 คะแนน ย่อมมีสิทธิได้รับการนำมาคำนวณเพื่อจัดสรร ส.ส.บัญชีรายชื่อได้ หากไม่มีสิทธิได้รับถือว่าไม่เป็นธรรม และกล่าวตอนหนึ่งว่า "บางที ส.ส.เขต ที่ชนะเลือกตั้งได้คะแนนแค่ 2 หมื่นคะแนนก็ได้เป็น ส.ส. ขณะที่บางคนได้คะแนน 3 หมื่นคะแนน กลับไม่ได้เป็น ส.ส." เอ๊ะ 3 หมื่นคะแนนที่ว่ามันนับรวมทั้งประเทศใช่หรือไม่ ถ้าใช่แล้วจะยกมาเทียบกับ 2 หมื่นคะแนนเฉพาะเขตใดเขตหนึ่งได้อย่างไร หากเทียบอย่างนี้ก็ไม่เป็นธรรมเช่นเดียวกัน ...0
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |