นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า ตามที่มีคนสนใจระดมทุนด้วยการออกไอซีโอ และเริ่มมีการชักชวนให้ประชาชนลงทุนในไอซีโอและคริปโตเคอเรนซี (cryptocurrency) มากขึ้น ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้มีการเตือนและให้ข้อมูลแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่องว่า การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ทั้งไอซีโอและคริปโตเคอเรนซีจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจอย่างมาก เพราะการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทนี้มีความเสี่ยงในหลายแง่มุม หากผู้ลงทุนไม่เข้าใจอย่างแท้จริงจะเสียหายได้โดยง่าย
นอกจากนี้ อาจมีผู้ฉวยโอกาสในการสร้างกระแสโดยนำโครงการที่มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนมาเป็นจุดขาย หรือโครงการที่ไม่มีแผนธุรกิจที่ชัดเจนที่จะสามารถรองรับการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว และ/หรือนำเรื่องเทคโนโลยีมาบังหน้า เพื่อหลอกลวงประชาชนให้ลงทุน
ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับการชักชวนหรือคิดที่จะลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล จำเป็นต้องทำความเข้าใจรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ทั้งสินทรัพย์ที่จะลงทุน ตัวกิจการ สิทธิของผู้ลงทุน และโครงสร้างของโทเคนที่จะได้รับจากการลงทุน และประเมินความเหมาะสมเทียบกับความสามารถในการรับความเสี่ยงของตนก่อนลงทุนเสมอ ตลอดจนระวังความเสี่ยงจากการที่ผู้ให้บริการไม่ใช่ธุรกิจที่อยู่ในการกำกับดูแลความเสี่ยงและไม่มีการกำหนดมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านไซเบอร์และอื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีเกณฑ์กำกับดูแลการออกไอซีโอผู้ลงทุนจึงไม่ได้รับความคุ้มครองใด ๆ ประกอบกับโครงการที่ระดมทุนอาจยังเป็นเพียงแนวคิด และการดำเนินการตามโครงการที่ระบุอาจไม่สำเร็จ หรือสำเร็จแต่ไม่เหมือนที่เปิดเผยไว้แต่แรก เนื่องจากข้อมูลในเอกสารประกอบการเสนอขายไอซีโอ (white paper) นั้นอาจเปรียบเสมือนเป็นสัญญาปากเปล่า
สำหรับแนวทางกำกับดูแลที่อยู่ระหว่างพิจารณาของทางการ จะเปิดให้การระดมทุนและทำธุรกรรมในช่องทางนี้ที่สุจริต สามารถดำเนินไปได้ แต่ให้มีการเปิดเผยข้อมูล เพิ่มความโปร่งใส กำหนดให้มีผู้ทำหน้าที่คัดกรองสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะนำมาซื้อขาย และกำกับดูแลมาตรฐานของตัวกลางที่เกี่ยวข้อง
นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ธปท. และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กำลังดูในแง่ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวเองว่าจะเข้าไปควบคุมดูแลเรื่องนี้อย่างไร ซึ่งสุดท้ายกระทรวงการคลังจะต้องเป็นคนเสนอการแก้ไขกฎหมายในส่วนนี้ทั้งหมด.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |