ภาพของวันสงกรานต์ในปัจจุบันนั้นทำให้หลายคนอดคิดถึงบรรยากาศวันปีใหม่ไทยสมัยปู่ย่าตายายเสียไม่ได้ โดยเฉพาะความรุนแรงในการสาดน้ำ การรุมประแป้งผู้หญิงที่เป็นไปในทางล้ำเส้น การดื่มสุราในวัด ไหนจะการจัดงานรื่นเริงที่ไม่เหมาะสมในศาสนสถาน ทั้งที่ความจริงแล้ว วันปีใหม่ไทยถือเป็นช่วงเวลาของความสุขจากการรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ อีกทั้งสมาชิกทุกคนต่างมารวมตัวกันอย่างพร้อมเพรียงในวันนี้ และประการสำคัญ การเล่นสาดน้ำก็เป็นกิจกรรมของหนุ่มสาวหลังจากสรงน้ำพระสงฆ์แล้ว...ไม่รอช้า ไปสอบถามความคิดเห็นคนวัยเก๋าเกี่ยวกับ “วันสงกรานต์ในความทรงจำ” ของคนหลัก 6 ที่ล้วนแล้วแต่น่ารัก อบอุ่น และอนุรักษ์ความเป็นไทยไว้อย่างน่าชื่นชม
(อำไพ)
เริ่มจาก คุณป้าอำไพ อายุ 68 ปี บอกว่า “ส่วนตัวอายุอยู่ฝั่งธนบุรีระหว่างชุมชนตลาดพลู บรรยากาศวันสงกรานต์สมัยที่ยังเป็นหนุ่มสาวนั้น การละเล่นที่ยังจำได้และมักจัดขึ้นในวัดแถวบ้าน คือการเล่นสะบ้า ซึ่งเป็นของชาวพระประแดง และตอนเย็นๆ ที่วัดก็จะมีการก่อกองทราย ก็จะเห็นหนุ่มสาวมาร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก ซึ่งบางคนก็พบรักกันและรู้จักกันที่นี่ ดังนั้นก็อยากเห็นวันสงกรานต์มีการจัดกิจกรรมและการละเล่นที่อนุรักษ์ประเพณีดังกล่าวเอาไว้ ไม่ใช่นึกแค่ว่าวันสงกรานต์เป็นวันเล่นสาดน้ำกันเท่านั้น และเล่นกันอย่างรุนแรงเหมือนทุกวันนี้ แต่อยากให้ทุกคนตระหนักว่าวันปีใหม่ไทยของเรายังมีความน่ารักและการแสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้ใหญ่ด้วยการดน้ำขอพร หรือแม้แต่การเล่นรำวงย้อนยุครอบละ 1 บาท สมัยที่เรียนมหาวิทยาลัยอยู่ จ.เชียงใหม่ ซึ่งบรรยากาศก็เป็นไปด้วยความสนุกสนานและสร้างมิตรภาพที่ดีระหว่างกัน ซึ่งไม่ใช่การเต้นโชว์นุ่มน้อยห่มน้อยเหมือนทุกวันนี้”
(ชาติชัย อนันท์ธราธร)
ต่อกันที่ คุณลุงชาติชัย อนันท์ธราธร บอกว่า “ส่วนตัวเป็นชาว จ.สุรินทร์ ถ้าพูดถึงสงกรานต์ในอดีตนั้น บรรยากาศจะเต็มไปด้วยการเล่นน้ำแบบสุภาพ ภายในวัดก็จะจัดให้มีการก่อเจดีย์ทราย และวัดในหมู่บ้านก็จะมีการรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ ทุกคนก็จะไปรวมกันตัวที่นั่น และการละเล่นในวัดก็จะมีการเล่นรำวงย้อนยุค ไม่ใช่การแสดงแสง สี เสียงที่วาบหวิวเหมือนทุกวันนี้ และถ้าสังเกตให้ดีวัยรุ่นสมัยนี้ก็จะมีการเล่นที่รุนแรงมากขึ้น ดังนั้น สิ่งที่อยากเห็นนอกจากประเพณีไทยอย่างการละเล่นไทย ที่สอดแทรกความกลมเกลียว และการแสดงออกถึงความรักที่ผู้น้อยมีต่อผู้ใหญ่แล้ว ก็อยากให้เป็นวันสงกรานต์สีเขียว หรือวันปีใหม่ไทยที่ปราศจากการดื่มน้ำเมาครับ”
(รัชนี)
คุณป้ารัชนี ชาว จ.สมุทรปราการ ยังเป็นวัยรุ่น นับเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามของหมู่บ้านบางโฉลง อ.บางพลี ที่อยากบอกต่อให้คนหลังได้ฟัง เล่าว่า “ในช่วงวันสงกรานต์เราก็จะตื่นเช้าขึ้นมาทำบุญตลอดทั้ง 4 วันช่วงสงกรานต์ เนื่องจากหมู่บ้านบางโฉลกของเรา ในอดีตอุดมสมบูรณ์มาก ปู่ย่าตายายก็จะไปจับนกที่อยู่ตามนา และจับปลาที่อยู่ในหนองน้ำ จากนั้นก็จะแต่งตัวด้วยชุดไทยสวยงาม พร้อมกับถือโหลปลาและกรงนก ร่วมขบวนแห่ในวันที่ 16 เมษายน เพื่อนำนกและปลาที่จับได้ไปให้ที่วัด ซึ่งทางวัดก็จะนำมาจำหน่ายให้กับคนที่ไปทำบุญเพื่อปล่อยลงแหล่งน้ำ และนำเงินรายได้ไปบำรุงวัด ซึ่งคนที่จับปลาและนกไปถวายวัด ก็ถือว่าเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง โดยการปล่อยชีวิตสัตว์
นอกจากนี้ก็ยังมีประเพณีการสรงน้ำพระ และการก่อเจดีย์ทราย ที่สอดแทรกความรู้ว่า เมื่อเราเข้าวัดและเหยียบทรายติดเท้ากลับบ้านไป และเมื่อวันสงกรานต์มาถึง เราทุกคนต้องขนทรายเข้าวัด ในช่วงวันปีใหม่ไทยของเราเป็นการทำบุญ โดยสรุปแล้วก็อยากฝากไปยังคนรุ่นหลังว่า วันสงกรานต์ นอกจากการสืบทอดประเพณีที่ดีงามอย่างการรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ และสรงน้ำพระสงฆ์แล้ว ก็อยากให้ทุกคนเข้าวัดทำบุญกันค่ะ”
ด้าน คุณป้าแมว ชาวลพบุรี วัย 60 ปี เล่าว่า “นอกจากการเล่นน้ำในวันสงกรานต์แล้ว ยังมีการละเล่นพื้นอย่างการก่อเจดีย์ทราย และช่วงเย็นที่วัดจะจัดงานรำวงย้อนยุค ซึ่งไม่มีความรุนแรงและไม่มีการดื่มสุราในวัด เพราะทุกคนตั้งใจมาเต้นรำเพื่อความสนุกสนานจริงๆ ที่สำคัญการละเล่นดังกล่าวก็ไม่ได้จัดดึกมาก และมักจะจัดในวัด จึงไม่มีการตีกันของกลุ่มวัยรุ่น แต่ทุกวันกิจกรรมทุกอย่างในวันปีใหม่ไทยมักจะมีความรุนแรงแฝงอยู่ด้วยเสมอ อีกทั้งเมื่อผู้ใหญ่เข้าไปห้ามเด็กวัยรุ่นที่หัวร้อนก็มักจะไม่ค่อยฟัง มีแต่จะตามพวกพ้องมารุมทำร้ายกัน ป้าก็อยากฝากเรื่องนี้ค่ะ คือไม่อยากให้ใช้ความรุนแรงในวันสงกรานต์ ไม่ว่าจะการเล่นน้ำ หรือการละเล่นต่างๆ ที่แฝงความไม่สุภาพอยู่ด้วยค่ะ”
ปิดท้ายกันที่ คุณป้าแก้ว วัย 67 ปี (นามสมมุติ) ที่บอกว่า “ประเพณีสำคัญในวันสงกรานต์ ที่นอกจากการรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ และตามด้วยการนำน้ำในขันที่ไปขอพรปู่ย่าตายายไปเล่นสาดน้ำกันแบบสุภาพ อย่างการขอรดน้ำหน่อยนะคะ/นะครับแล้ว การละเล่นที่ป้าจำได้แม่น เนื่องจากเป็นชาว จ.สมุทรปราการ คือการเล่นสะบ้า วิธีการเล่นก็ง่ายค่ะ เพียงแค่แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝั่ง เช่น ฝั่งละ 10 คน ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย จากนั้นก็จะนำวงกลมที่ทำจากกระดูกหลังเต่า และแก่นหรือกะลามะพร้าวมาวางไว้ เมื่อแบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ทีมแล้ว ก็ให้นำวงกลมหรือกระดูกหลังเต่าวางที่เท้า จากนั้นเดินไป 2-3 ก้าว และเตะวงกลมไปถูกแก่นหรือกะลามะพร้าวของอีกฝ่ายหนึ่งที่วางไว้ ถ้าใครแตะหินถูกแก่นแสดงว่าได้คะแนน ส่วนใครที่แตะวงกลมไม่ถูกแก่นก็ถือว่าแพ้ และเปลี่ยนให้คนถัดไปขึ้นมาเล่นแทน สนุกมากๆ ค่ะ
นอกจากนี้ก็มีการละเล่นไม้หึ่ง โดยการวางไม้ไว้ จากนั้นให้คนเล่นเตะไม้อีกอันหนึ่งให้ไปโดนไม้ที่วางไว้ก่อนหน้า ก็จะถือว่าได้คะแนน รวมถึงการเล่นมอญซ่อนผ้าในวันสงกรานต์ เป็นต้น ในฐานะคนรุ่นก่อนก็อยากเห็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมการเล่นดังกล่าวในวันสงกรานต์อีกครั้ง เพื่อไม่ให้สูญหาย และก็ต้องรู้จักการรดน้ำขอพรผู้ใหญ่และเล่นน้ำ รวมถึงการประแป้งที่มีมารยาท และไม่ล่วงเกินอีกฝ่ายค่ะ เพราะทุกวันนี้ทุกอย่างที่กล่าวมาจะค่อนข้างตรงกันข้ามค่ะ”.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |