18 ก.พ. 61 – รองศาสตราจารย์ ต่อตระกูล ยมนาค นายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมไว้อาลัยต่อการจากไปของ ศาสตราจารย์ระพี สาคริก ราษฎรอาวุโส ปรมาจารย์ด้านกล้วยไม้ ที่ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบเมื่อวันที่ 17 ก.พ.ที่ผ่านมา
โดยรองศาสตราจารย์ ต่อตระกูล ได้เผยแพร่รูปภาพของศาตราจารย์ ระพี พร้อมข้อความระบุว่า “ภาพนักเรียนรุ่นแรก ของ รร.เยาวกุมาร ในสวนจิตรลดา เมื่อปี 2473 มี ดช.ระพี สาคริก นั่งอยู่ตรงกลาง แถวหน้าสุด
ตามประวัติ ศาสตราจารย์ ระพี สาคริก เมื่อตอนอายุ 8 ขวบ ว่าได้เข้าเรียนใน รร. จิตรลดา ซึ่งน่าจะหมายถึงโรงเรียนที่เพิ่งเปิดใหม่ในบริเวณพระราชวังจิตรลดา ที่ได้รับการจัดตั้งและพระราชทานนามจากรัชกาลที่ ๗ ให้มีชื่อว่า “โรงเรียนเยาวกุมาร ในพระบรมราชูปถัมภ์” ไม่ใช่ รร.จิตรลดา โรงเรียนปัจจุบันซึ่งขณะนั้นยังไม่มี จนต่อมาอีก 25 ปีหลังจากนั้นในปี พศ. 2498 จึงได้ทรงก่อตั้งขึ้นโดยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของ ในหลวงรัชกาลที่ 9
"รร. เยาวกุมารนี้มีนักเรียนซึ่งเป็นเจ้านายและบุตรข้าราชบริพารฝ่ายในรวมทั้งหมด ๑๖ คน อาจารย์ระพี บันทึกไว้ในแฟ้มฯหน้า ๒๓ ว่า.... "…บรรดานักเรียนเหล่านี้ มีพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวรานนท์ธวัช กับผมเป็นคู่ซึ่งเล็กที่สุด จึงสนิทชิดชอบกันมากเป็นพิเศษ ..."...
ศาสตราจารย์ ระพี สาคริกเกิดเมื่อ 4 ธันวาคม 2465 เกิดที่วรจักร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชายคนโตของขุนตำรวจเอก พระ มหาเทพกษัตริยสมุห (เนื่อง สาคริก) และคุณ
ด้วยความเคารพ อาลัย ในคุณงามความดี ที่ท่านได้ทำไว้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติตลอดชั่วชีวิต เป็นอย่างยิ่งครับ”
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |