ผจก.สสส.-จับมือวัฒนธรรม จว. เปิดงานงานมหกรรมเพชรบุรี...ดีจัง สุโขสโมสร Bigger and Better ฉลองจัดงานครบ 10 ปี ที่วัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร เพชรบุรี วัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยา จุดประกาย 38 จังหวัดรณรงค์ให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์และบ่มเพาะสุขภาวะทางปัญญา เรียนรู้งานช่างอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมทุกครอบครัว ที่นี่ดินแดนประวัติศาสตร์ ท่านมุ้ยปักหลัก 6 เดือนถ่ายทำภาพยนตร์รักชาติรักแผ่นดิน “สุริโยไท” ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็กเยาวชนและครอบครัว สสส. แม่งานเป็นกาวใจทุกหน่วยงาน จัดทำ www.ปิดเทอมสร้างสรรค์.com ทำงานหนี่งเดียวกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ นำร่อง 15 จังหวัด
งานมหกรรมเพชรบุรี...ดีจัง สุโขสโมสร พื้นที่เรียนรู้ที่มีชีวิตชีวา ด้วยพลังภูมิปัญญาและพลเมือง ณ วัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร ต.ท่าราบ อ.เมืองเพชรบุรี จ.เพชรบุรี ตั้งแต่เช้าจรดค่ำวันที่ 16-17 มีนาคม จากกลุ่มลูกหว้าและเพชรบุรีดีจัง กิจกรรมรวมมิตรติดยิ้มจากเครือข่ายเด็กและเยาวชน สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ภาคีเครือข่ายพื้นที่นี้ดีจังและเพชรบุรีดีจังสุโขสโมสร สนามเด็กเล่นติดแอร์ ศิลปะการแสดงสด ท่องเที่ยวชุมชน องค์กรร่วมสร้างสรรค์ ช่างศิลป์บันดาลสื่อ หอศิลป์สุวรรณาราม มรดกมีชีวิต เปิดงานวันแรกโดยล้อมวงสนทนาที่ห้องประชุมติดแอร์ นำโดย ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็กเยาวชนและครอบครัว สสส. จำลอง บัวสุวรรณ์ ผู้ประสานงานโครงการเพชรบุรี..ดีจัง สุนิสา ประทุมเทือง แกนนำเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี..ดีจัง เนตรนภา รุ่มรวย เครือข่ายเพชรบุรี..ดีจัง จาก 8 อำเภอ
ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลการสำรวจยูรีพอร์ตที่สำรวจเด็กและเยาวชนพบว่า เด็ก 35% เห็นว่าชุมชนที่ตนอาศัยอยู่มีพื้นที่สร้างสรรค์น้อย 12% มองว่าไม่มีโอกาสมีส่วนร่วมในพื้นที่และสื่อสร้างสรรค์ 42% อยากให้รัฐบาลช่วยเหลือสร้างพื้นที่ปลอดภัยแก่เด็กและเยาวชนมากขึ้น การรณรงค์ให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์และบ่มเพาะสุขภาวะทางปัญญาผ่านกิจกรรม “เพชรบุรี..ดีจัง” จึงเป็นเหมือนสนามการเรียนรู้ในช่วงปิดเทอมขนาดใหญ่ที่เปิดกว้างให้เด็ก เยาวชน ครอบครัว ชุมชน องค์กรท้องถิ่นตลอดจนกลุ่มที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงพื้นที่สร้างสรรค์ได้สัมผัสสื่อ ศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย โดยใช้กระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันและเสริมพลังผ่านยุทธศาสตร์ 3 ดี คือ สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี จนเกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรม สร้างภูมิคุ้มกันและทักษะชีวิตของเด็กและเยาวชนให้มีทักษะเท่าทันสื่อ (Media Literacy) ความรอบรู้ทางสุขภาพ (Health Literacy) และความตื่นรู้ทางปัญญาซึ่งเป็นเครื่องมือการพัฒนาพลเมืองนักสื่อสารสุขภาวะที่เป็นเด็กและเยาวชน ให้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงในชุมชน
ย้อนหลังไปเมื่อ 5 ปีก่อนอยากให้เด็กและเยาวชนมีพื้นที่สื่อมากขึ้น สื่อมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้คนมีสุขภาพดี วัยที่สำคัญคือเยาวชนสร้างพฤติกรรมพื้นฐานติดตัวในวัยผู้ใหญ่ แต่ด้วยปัจจัยทางการค้าทำให้มีพื้นที่สื่อน้อยลง รายการสโมสรผึ้งน้อยของน้านิดมีน้อย แคระแกร็นไม่ได้รับการดูแล สสส.จัดสรรเงินเพื่อให้สื่อดีๆ ได้ทำเผยแพร่ เท่าที่สังเกตรายการดีๆ หลายรายการไม่มีสปอนเซอร์สนับสนุน เสมือนหนึ่งควานหาน้ำกลางทะเลทราย เราจะทำอย่างไรให้ทะเลทรายอุดมสมบูรณ์ ผลักดันให้สื่อเยาวชนเกิดผล มติ ครม.ให้จัดเวลาดีๆ สำหรับเยาวชนในช่วงสี่โมงเย็น-หกโมงเย็น สื่อโทรทัศน์จัดพื้นที่ให้เด็กเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสสื่อสาธารณะทำให้เกิดพื้นที่สื่อ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ การสร้างถนนเด็กเดิน ศาลาวัดศาลาการเปรียญติดแอร์ อย่างที่นี่สร้างสรรค์กิจกรรมให้กับเด็กได้มีพื้นที่ในการอนุรักษ์ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม ดอกผลของเพชรบุรี..ดีจังจะขยายผลต่อไปเรื่อยๆ
เด็กไทยคือหัวใจของชาติ ไม่มียุคใดสำคัญเท่ากับอนาคต ความอยู่รอดของประเทศชาติเท่ากับยุคนี้ ยุคที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์แบบในอีก 2 ปีข้างหน้า คน 5 คนเดินมา 1 ใน 5 จะเป็นผู้สูงอายุ อัตราการเกิดของเด็กลดน้อยลงเรื่อยๆ เด็กรุ่นนี้จะแบกรับภาระมากกว่าคนรุ่นเรามาก ต้องดูแลสมาชิกในครอบครัว การเปลี่ยนแปลงของโลก การแข่งขันข้ามพรมแดน การทำมาหากิน คู่แข่งเราไม่ได้เพียงอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น หากทว่าอยู่ในต่างประเทศ ผู้ใหญ่ต้องเตรียมพร้อม การเรียนรู้จึงเป็นหัวใจสำคัญ รัฐบาลทุ่มงบประมาณเพื่อการศึกษาของเด็กและเยาวชน 5 แสนล้านบาท ยังมีการถกเถียงกันถึงคุณภาพการศึกษาต้องมีการปฏิรูปการศึกษา การศึกษาในห้องเรียนไม่เพียงพอ การที่ครูเป็นผู้รู้นำความรู้มาบอกมาสอนหมดยุคไปแล้ว ความรู้อยู่ที่ปลายนิ้วเพียงการค้นหาข้อมูลจากกูเกิลก็รู้ได้ทุกอย่าง ขณะนี้ห้องเรียนของมหาวิทยาลัยในสหรัฐปิดตัวเองไปแล้ว 400 แห่ง คนสนใจปรัชญาการเรียนน้อยลง แต่คนสนใจว่าบิล เกตส์ และนักธุรกิจอีกหลายคนที่ไม่ได้เรียนจบมหาวิทยาลัย แต่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ คนเลือกที่จะศึกษาหาความรู้ทางออนไลน์
“เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความมั่นคงในการดำรงชีวิต ภายในวิสัยทัศน์ “เด็กและเยาวชนมีความเป็นพลเมือง เก่ง ดี มีสุข และสร้างสรรค์” ในปี2562 สสส.ได้จัดอบรมนักจัดการปิดเทอมสร้างสรรค์เพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยงกิจกรรมที่น่าสนใจอุดช่องโหวที่สำรวจพบว่า มีเด็กกว่า 43% เข้าไม่ถึงกิจกรรมอะไรเลย เพราะบ้านอยู่ไกล โดยนำร่องเพิ่มในพื้นที่ 15 จังหวัด กิจกรรมทั้งหมดจะรวบรวมอยู่ในเว็บไซต์ www.ปิดเทอมสร้างสรรค์.com มีกิจกรรมและพื้นที่สร้างสรรค์ที่กระจายทุภภูมิมีกิจกรรมและพื้นที่สร้างสรรค์ที่กระจายทุกภูมิภาคถึง 1,248 กิจกรรม รวมถึงการเปิดรับตำแหน่งงานพิเศษ 10,000 ตำแหน่ง เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้มีพื้นที่แสดงออกและพัฒนาศักยภาพของตนเอง ทั้งทางด้านวิชาการ ศิลปวัฒนธรรม จิตอาสาและอื่นๆ ได้เผยแพร่ผลงานกิจกรรมสร้างสรรค์” ดร.สุปรีดากล่าว
ขณะนี้กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ มีสภาเด็กและเยาวชน มีงบประมาณเข้าไปในกว่า 700 ตำบล ต้นธารของสถาบันการศึกษาจะเปิดพื้นที่กระจายเข้าไปทุกตำบล มีทิศทางให้เยาวชนพร้อมที่จะเป็นผู้นำ เพื่อให้โครงการเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ในช่วงปิดเทอม เยาวชน 13 ล้านคนมีกิจกรรมทำที่เป็นประโยชน์ในช่วง 2-3 เดือน
ในวันเดียวช่วงค่ำ ณ เวทีหน้าพระอุโบสถ วัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผจก.สสส. กล่าวเปิดงานว่า ยินดีที่ได้ร่วมงานเพชรบุรี..ดีจัง เป็นงานมหกรรม จัดเป็นปีที่ 10 แล้ว จุดกำเนิดเริ่มต้นจากกลุ่มเล็กๆ จัดงานที่วัดใหญ่แห่งนี้เมื่อ 10 ปีก่อน และจัดเป็นประจำทุกปีที่บริเวณถนนคนเดิน เราสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กๆ เยาวชนที่จะก้าวเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต เราใช้พื้นที่สื่อ ภูมิปัญญาในการเรียนรู้อย่างมีคุณค่า ปฏิบัติได้จริง กลุ่มเยาวชนเพชรบุรีสร้างงานให้เป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับเด็ก มีผู้ใหญ่ใจดีให้การสนับสนุนจัดงานร่วมกัน ต่อไปจะขยายไปยัง 38 จังหวัด โดยใช้เพชรบุรีเป็นพื้นที่ต้นแบบเรียนรู้แบบสร้างสรรค์
สุนิสา ประทุมเทือง (หนูแดง) แกนนำเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง ผู้นำเยาวชนจากกลุ่มลูกหว้า กล่าวว่า มหกรรมครั้งนี้กลุ่มเยาวชนเครือข่ายเพชรบุรี..ดีจังเป็นเจ้าภาพหลักในการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์เป็นปีแรก มีส่วนร่วมตั้งแต่การเตรียมงาน พิธีกรเปิดงาน อาสาสมัครประจำแต่ละลานกิจกรรม โดยเกิดจากกลุ่มเยาวชน 10 กลุ่มในพื้นที่ 8 อำเภอของ จ.เพชรบุรี รวมตัวกันเกิดเป็นกิจกรรมกว่า 50 กิจกรรม สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ เด็กและเยาวชนสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม เยาวชนในพื้นที่มีจิตสำนึกรักบ้านเกิด มีความภาคภูมิใจในชุมชนและตนเองมากขึ้น ได้สานสัมพันธ์ภายในชุมชน โดยเฉพาะเด็กกับผู้ใหญ่ก็ใกล้ชิดกันมากขั้น ในปีนี้ใช้ชื่อว่า “มหกรรมสาธารณศึกษา เพชรบุรี ดีจัง สุโขสโมสร” หมายถึงพื้นที่เรียนรู้ที่มีชีวิตในชุมชนบนรูปแบบที่หลากหลายสำหรับทุกๆ คน ตามแนวคิดกิจกรรม พื้นที่เรียนรู้ที่มีชีวิตชีวา ด้วยพลังภูมิปัญญาและพลังพลเมือง โดยใช้หลัก 3 ส. คือ สื่อสาร สร้างสรรค์ มีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดสื่อดี พื้นที่ ภูมิดี นำสังคมไปสู่ชุมชนวิถีชีวิตสุขภาวะ
สุนิสา หรือ หนูแดง วัย 24 ปี เรียนจบ คณะวิทยาลัยการจัดการ สถาบันราชภัฏเพชรบุรี เมื่อได้เรียนรู้งานสกุลช่างเมืองเพชรจาก ครูช่างพิทยา ครูมนู เนตรสุวรรณ ครูช่างเมืองเพชร ด้วยความกลัววิชาจะสูญหาย ทำให้อยากถ่ายทอดวิชาความรู้ให้กับเด็กรุ่นต่อไป ด้วยความคิดที่ว่าเป็นคนเมืองเพชรต้องรู้วิชาเหล่านี้ การที่ตั้งชื่อว่ากลุ่มลูกหว้าซึ่งเป็นชื่อไม้มงคลที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานต้นหว้าให้กับคงศักดิ์ ลิ่วมโนมนต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีเมื่อปี 2537 ขณะนี้ใน จ.เพชรบุรียังมีต้นหว้าอยู่เป็นจำนวนมาก กลุ่มลูกหว้าจัดกิจกรรมอบรมความรู้งานช่างให้กับเด็กและเยาวชน 40 คน/ปี เป็นการเรียนรู้จากครูช่างด้วยการแบ่งปันความรู้ทำงานต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ปีมาแล้ว
“หนูแดงทำงานจิตอาสาเข้ามาเป็น Staff ตั้งแต่อายุ 14 ปี ตอนนั้นยังเรียนที่ รร.เบญจมเทพอุทิศ เพชรบุรีเป็น รร.ประจำจังหวัดเพชรบุรี การที่ สสส.เข้ามาสนับสนุนกิจกรรมกลุ่มลูกหว้า ทำให้งานเดินหน้าไปด้วยดี ปีแรกเมื่อ10 ปีก่อนเราจัดกิจกรรมที่วัดใหญ่ฯ และปีต่อๆ มาจัดกิจกรรมที่ถนนคนเดิน มีการปิดถนน ปีนี้เป็นปีที่ 10 จึงกลับมาจัดกิจกรรมที่วัดใหญ่ฯ เพื่อรำลึกถึงเมื่อ 10 ปีก่อน เราได้รับความช่วยเหลือจากหลวงพ่อที่วัดนี้กว่า 10 รูป ทำให้งานเดินหน้าไปได้ด้วยดี”
ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็กเยาวชนและครอบครัว สสส. กล่าวว่า เวลาว่างของเด็กและเยาวชนมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะหลังเลิกเรียนแต่ละวัน วันเสาร์-อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ เมื่อมีเวลาว่างถูกเติมเต็มด้วยกิจกรรมดีๆ ที่เราอยากรู้อยากเห็นคิดด้วยการลองผิดลองถูก ทำให้เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็วโดยไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ผจก.สสส.มอบหมายงานให้รับผิดชอบกิจกรรมปิดเทอมสร้างสรรค์ อัศจรรย์วันว่าง รู้สึกภาคภูมิใจมาก ชุมชนคนพื้นถิ่นในพื้นที่มองเห็นความสำคัญลงมือจัดการด้วยตัวเอง แผนงานสนับสนุนวันว่างพื้นที่วันว่างของชุมชนถูกเติมเต็มด้วยการจัดการ มีนักจัดการปิดเทอมสร้างสรรค์ เติมเต็มด้วยกิจกรรมเป็นพื้นที่เรียนรู้สำหรับคนในครอบครัว ชุมชนด้วย
ทุกพื้นที่ 77 จังหวัดต่างมีกิจกรรมให้กับเยาวชน ทำอย่างไรเราจะร่วมรับฟังเด็กและเยาวชนให้ทำงานเป็นกลุ่มเป็นก้อนร่วมกัน Share ประสบการณ์ ทำเป็นปฏิทินกิจกรรมสร้า งwww.กลางทำงานร่วมกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ ในช่วงแรกการทำงานยังไม่สมบูรณ์มากนัก แต่ในปีต่อๆ ไปงานจะสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ในช่วงแรกมีจังหวัดนำร่อง 15 แห่ง ขณะนี้ จ.เพชรบุรีทำอยู่แล้ว สสส.พร้อมสนับสนุนพื้นที่เรียนรู้ สร้างทักษะชีวิตและสังคม การทำงานให้มีความต่อเนื่องเป็น10 ปีดังที่เพชรบุรีเริ่มต้นไว้แล้ว
กรรณิกา เอี้ยวสกุลรัตน์ วัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี กล่าวว่า พื้นที่เพชรบุรี..ดีจัง สะท้อนถึงความยั่งยืนของการดำเนินงานของ สสส.ที่ได้รับการสนับสนุนองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง ทำให้กลุ่มเด็ก เยาวชน มีพื้นที่แสดงออกและพัฒนาศักยภาพของตนเอง ทั้งทางด้านวิชาการ ศิลปวัฒนธรรม ดนตรี งานฝีมือและได้เผยแพร่ผลงานกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ จนเกิดความภาคภูมิใจและเกิดพลังในการพัฒนาตนเองและแบ่งปันกับสังคมต่อไป และส่งเสริมให้จังหวัดเพชรบุรีเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มครอบครัว สร้างความเข้มแข็งให้แก่ครอบครัว ชุมชน และสังคม สอดรับกับนโยบายรัฐบาลและจังหวัดในการส่งเสริมและสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม เป็นโอกาสในการพัฒนาการท่องเที่ยวในระดับจังหวัด ตลอดจนนโยบายรัฐบาลสนับสนุนการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่เยาวชนอย่างทั่วถึง.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |