สัมภาษณ์ทูตจีน : จีนช่วยไทยบุกตลาดจีน


เพิ่มเพื่อน    

      ผมสัมภาษณ์คุณหลู่ เจี้ยน เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย เมื่อเร็วๆ นี้ในหลายๆ ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนและเศรษฐกิจจีน รวมทั้งสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ผมคัดเอาบางตอนของการสนทนามาให้อ่านครับ 

        สุทธิชัย: ท่านทูตมาประจำประเทศไทยครั้งนี้นานเท่าไหร่แล้วครับ

      ท่านทูต: ถึงตอนนี้เป็นเวลาประมาณหนึ่งปีครึ่ง ครั้งแรกที่มาประเทศไทยเมื่อปี ค.ศ.2008 สิบกว่าปีที่แล้ว เมื่อคิดย้อนกลับไปครั้งแรกที่ผมมาประเทศไทยเมื่อ 10 กว่าปีก่อน ชีวิตความเป็นอยู่ สภาพของประชาชน และการพัฒนาของประเทศไทยในสมัยนั้น ก็มีความรู้สึกว่า 10 ปีผ่านไปประเทศไทยได้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากพอสมควร

      สุทธิชัย: ผมจำได้ว่าเมื่อปี 1975 ผมเป็นนักข่าวเดินทางไปกับคณะของไทยนำโดยนายกรัฐมนตรี  ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เพื่อเปิดสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับประเทศจีน

      ท่านทูต: นั่นคือวันที่มีความหมายทางประวัติศาสตร์อย่างยิ่งวันหนึ่ง การที่สองประเทศได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตนั้น ทำให้ความสัมพันธ์และการไปมาหาสู่กันระหว่างประชาชนสองประเทศเราได้มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เมื่อปี ค.ศ.1975 เราได้สร้างความสัมพันธ์ทางการทูต ถึงปีนี้เป็นปีที่  44 ถ้าเรากดปุ่มดูย้อนหลังไปที่ 44 ปีก่อน มาเปรียบเทียบกับทุกวันนี้ ก็จะรู้สึกว่าเหมือนดูหนังกันอยู่  ต่างกันอย่างมาก ความสัมพันธ์จีน-ไทยมีหลายมิติ ครอบคลุมทุกๆ ด้าน 

      ประเด็นแรก ความไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างผู้นำระดับสูงได้เพิ่มพูนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นจุดเด่นอย่างชัดของเรา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีจะเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศจีนอีกครั้งหนึ่งในเดือนหน้า ซึ่งจะเป็นครั้งที่ 46 ที่พระองค์ท่านเสด็จฯ เยือนประเทศจีน พระองค์ท่านจะเสด็จฯ เยือนประเทศจีนอย่างน้อยปีละครั้ง (ในระยะเวลาอันใกล้ที่ผ่านมา) เป็นประโยชน์สำคัญมากต่อความสัมพันธ์จีน-ไทย นอกจากนี้ผู้นำท่านอื่นๆ ก็ได้ไปเยี่ยมเยียนซึ่งกันและกันบ่อยครั้ง อันนี้เป็นภาพรวมสำหรับการเยือนระดับสูงระหว่างประเทศ

      ประเด็นที่สองก็คือ ความร่วมมือโครงการใหญ่ทำให้สองประเทศเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด และนำผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมสู่ประชาชนทั้งสองประเทศ ยกตัวอย่าง บริษัทอาลีบาบามาร่วมมือกับ  partner ในประเทศไทย ได้ยกระดับการพัฒนาของอีคอมเมิร์ซไทย ทุกวันนี้ในประเทศจีนสามารถสั่งซื้อทุเรียนและผลไม้ต่างๆ จากประเทศไทยผ่านทางเว็บไซต์ได้แล้ว

      สุทธิชัย: ประเทศจีนจะช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กของไทยให้เข้าสู่ตลาดใหญ่ของจีนได้อย่างไรครับ

      ท่านทูต: ใช่ครับ เชื่อว่าความร่วมมือด้านนี้ได้เริ่มต้นแล้ว บริษัทอาลีบาบาได้แสดงความประสงค์ที่จะร่วมมือกับประเทศไทยต่อไป ในสัญญาที่อาลีบาบาได้เซ็นกับฝ่ายไทย ได้รวบรวมความร่วมมือในการกระตุ้นการแปรรูปด้านดิจิตอลของบริษัท SMEs และการอบรมบุคลากร ฯลฯ ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวนี้  ก็จะเป็นพลังขับเคลื่อนใหม่สำหรับการพัฒนาอีคอมเมิร์ซอีกด้วย ยกตัวอย่างในบริษัทหลักๆ ที่ทำธุรกิจช็อปออนไลน์ของไทย เช่น Shoppee, Lazada, Central JD บริษัทอาลีบาบาและบริษัทอีคอมเมิร์ซอื่นๆ ของจีนต่างก็มีส่วนร่วมด้วย

      การพัฒนาของบริษัทอาลีบาบานั้นจะไม่ทำให้พื้นที่ยากจนเพิ่มความยากจนยิ่งขึ้น ตรงกันข้ามเขาจะอาศัยโมเดลที่เรียกว่า หมู่บ้านเถาเป่า มาช่วยให้พื้นที่ยากจนพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งก็จะเป็นความร่วมมือที่ win-win 

      เมื่อปีที่แล้ว ฯพณฯ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้นำคณะไปเยือนประเทศจีน ท่านได้ยกประเด็นนี้ขึ้นมาเป็นพิเศษ บอกว่าอยากไปดูโมเดลเถาเป่า ซึ่งอยู่ในเครือของอาลีบาบา อยากไปดูว่าจะช่วยแก้ปัญหาให้เกษตรกรที่ยากจนที่อยู่ในชนบทอย่างไร หลังจากท่านไปเยือนแล้วท่านมีความประทับใจมาก นั่นก็คือบริษัทที่อยู่ในเครือของอาลีบาบาได้ช่วยให้เกษตรกรที่อยู่ในหมู่บ้านที่ห่างไกลจากตัวเมือง และประชาชนที่มีความยากลำบากนั้นสามารถขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตได้ และสามารถมีระบบโลจิสติกส์ของตนเองได้ ทำให้พวกเขาสามารถพ้นจากความยากจนได้โดยเร็ว ชีวิตความเป็นอยู่ก็ดีขึ้น 

      เพราะฉะนั้นเราไม่ต้องกังวลว่าการพัฒนาของอาลีบาบาจะทำให้คนบางส่วนเสียโอกาส ความจริง อาลีบาบาสามารถใช้เทคโนโลยีด้านดิจิตอลช่วยให้พี่น้องประชาชนที่อยู่ห่างไกลจากตัวเมืองหลุดจากความยากจนได้

      นี่ก็คือแนวคิดการพัฒนาร่วมกันของประเทศจีน ไม่ใช่มีเรารวยเฉพาะคนเดียว คนอื่นจนหมด ความจริงหากเพื่อนบ้านที่อยู่รอบตัวต่างรวยขึ้นแล้วจึงจะพัฒนาไปอย่างยั่งยืน ทุกคนก็จะได้มีชีวิตที่ดีและมีความสุข.

      (พรุ่งนี้: สงครามการค้าจีนกับสหรัฐฯ)


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"