บันทึกหน้า4


เพิ่มเพื่อน    

      ไทยโพสต์ "อิสรภาพแห่งความคิด" www.thaipost.net ยังเถียงกันไม่จบตีโจทย์กันไม่แตกกับ "คณิตศาสตร์การเมือง" สูตรคำนวณ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมของไทยที่มีสูตรเดียวในโลก ยิ่งมาเจอปรากฏการณ์โอเวอร์แฮงก์ พานแฮงก์โอเวอร์กันทั้งบ้านทั้งเมือง โดยเฉพาะ "7 เสือ กกต." คนที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย มือใหม่คงไม่น่ากังวลเท่ามือไม่ถึง สเปกขั้นเทพที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญวางไว้ไปไม่ถึงฝั่งฝัน ก็เลยอลเวงกันด้วยประการฉะนี้

      ๐ ฝั่งคนออกแบบ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ก็การันตีว่ามีสูตรเดียว แต่ กกต.ต้องเป็นคนคิดเอง จนถึงป่านนี้ยังไม่ได้ยินจากปากของ 7 เสือสักแอะ มีแต่เสียงจากพรรคการเมือง นักวิชาการ หรือสื่อเอง ที่กางกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 128 คิดตัวเลข ส.ส.กันหัวบาน ตัวเลขที่ออกมาดันไม่ตรงกันซะงั้น แถมยังงงเพิ่มอีกว่า แล้วพรรคที่ไม่ได้ ส.ส.เขตมีสิทธิ์ได้ปาร์ตี้ลิสต์หรือเปล่า ถึงอดีตโฆษก กรธ. "อุดม รัฐอมฤต" ยืนยันว่า เจตนารมณ์ไม่ให้ทุกคะแนนตกน้ำ แต่ก็ไม่ได้ทำให้หายฉงน เพราะบอกว่าวิธีคิดมี 2 วิธี สรุปขึ้นอยู่กับ กกต.จะตัดสิน งานนี้เลยมึนตึ้บกันต่อไป

      ๐ "ต้องยอมรับว่าบ้านเมืองเรากำลังมีปัญหาในเรื่องของความไม่เข้าใจกัน ตัวอย่างในครอบครัวหนึ่งมีสมาชิก 10 คน โดยแต่ละวันมีกับข้าวได้เพียงอย่างเดียว แล้วให้ลงคะแนนกันว่าจะกินอะไร โดย 4 คนลงคะแนนว่ากินแกงเผ็ด 3 คนลงคะแนนว่ากินแกงจืด 2 คนลงคะแนนว่าจะกินผัดผัก 1 คนไม่ลงคะแนน ถ้าใช้หลักการนี้ทุกคนก็ต้องกินแกงเผ็ดไปทั้งอาทิตย์ ดังนั้น กรธ.จึงหาแนวทางว่าจะทำอย่างไรใน 1 อาทิตย์จะมีแกงจืด 2 วัน ผัดผัก 1 วัน ที่เหลือจะกินแกงเผ็ดไปอีก 4 วันก็ไม่ว่ากัน แต่อย่างน้อยชีวิตในครอบครัวก็จะอยู่ร่วมกันได้โดยไม่ขมขื่นจนเกินไป ไม่ต้องกินแกงเผ็ดไปทั้งอาทิตย์" อดีตประธาน กรธ. "มีชัย ฤชุพันธุ์" เจ้าของไอเดียระบบจัดสรรปันส่วนผสม เคยยกตัวอย่างอธิบายให้เห็นภาพกันชัดๆ เกี่ยวกับเลือกตั้งแบบใหม่ ในช่วงร่างรัฐธรรมนูญปลายปี 58 พร้อมย้ำหัวใจของระบบนี้ว่าเป็นการเคารพเสียงประชาชน ไม่ให้คะแนนสูญเปล่า แล้วยังเป็นวิธีปรองดองอย่างหนึ่ง เพราะเฉลี่ยคะแนนกันไปทุกพรรค ก็ไม่รู้ว่าคนไทยส่วนใหญ่จะชอบกินสไตล์นี้หรือยังชินแบบเดิมๆ ค่อยลุ้นกันต่อว่าสูตรนี้จะอยู่ยงคงกระพันไปถึงเลือกตั้งครั้งหน้าหรือป่าว

      ๐ ช่วงนี้แต่ละพรรคก็เริ่มนิ่งๆ ไม่ได้ออกแอคชั่น เหมือนช่วงหลังเลือกตั้งใหม่ๆ โดยเฉพาะพรรคพลังประชารัฐ ถึงแม้ระดับบิ๊กๆ แกนนำพรรคเข้าพรรคประชุมกันแทบทุกวัน แต่แทบจะไม่ให้ข่าวกับสื่อ มีเพียงโฆษกพรรค แกนนำบางคนส่งข่าวในไลน์กลุ่มผู้สื่อข่าวประจำพรรค หรือถ้าเจอหน้ากันก็มักจะบอกว่าไม่อยากพูดอะไร เพราะช่วงนี้ใกล้งานพระราชพิธีอยากให้บ้านเมืองสงบ เรียกว่าใช้ความนิ่งสยบความเคลื่อนไหว แต่แกนนำตัวจี๊ดอย่าง "สมศักดิ์ เทพสุทิน-สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ" ที่รับภารกิจลับล้วงงูเห่าจากฝ่ายตรงข้าม ก็ขยับเดินเกมดึง ล่อ ควัก ล้วงกันทุกวัน เพื่อสร้างตำนานงูเห่าภาค 3 ดันบิ๊กตู่นั่งเก้าอี้นายกฯ สมัยที่ 2 แว่วมาว่าเริ่มมีเสียงเลื้อยในพรรคที่ได้ ส.ส.อันดับ 1 กับอันดับ 3 แล้ว ถึงวันนี้ยังไม่มีใครเผยตัวว่าถูกทาบ​ และต่างออกมาปฏิเสธว่าไม่ไป​ร่วมกับ พปชร.​ แต่ในความเป็นจริงต่างรู้ว่า "เพื่อไทย" แม้จะได้ ส.ส.มากที่สุดก็ยากที่จะจัดตั้งรัฐบาลได้​ ต่อให้ทำสัตยาบันล็อกกัน 6 พรรคแล้วก็ตาม ว่าที่ ส.ส.หลายคนก็หวั่นไหว​ ไม่ยอมเซ็นใบลาออกล่วงหน้าตามที่แกนนำบีบ เพราะรอประเมินสถานการณ์​ และฟังข้อเสนอที่หนาหูว่าก้อนโตจนยากจะปฏิเสธ​ ปัจจัยสำคัญที่ปลุกเร้าให้งูเห่ายอมเลื้อยออกมา​ คือ​ สุดท้ายแล้วหมดทางสู้แน่​ ก็เลือกรักษาตัวรอดและเลือกปากท้องที่อดอยากปากแห้งมานาน​หลายปี ถึงจะโดนด่าว่าเป็นคนทรยศ​ แต่สักพักก็จะซาไปเอง​ เหมือนกับตำนานงูเห่าภาค 2 ที่เสี่ยห้อยร้อยยี่สิบที่เคยรักกันดูดดื่มกับนายใหญ่ทักษิณ เมื่อไม่เห็นหนทางชนะ​ ในที่สุดนำกลุ่มเพื่อนเนวินย้ายขั้วหนุนอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกฯ เขาถึงว่าการเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ จริงไม่จริงด่านแรกเลือกประธานสภาฯ ก็ได้เห็นกันแล้ว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"