พาณิชย์ขู่ ร.พ.ไหนไม่ส่งข้อมูลซื้อ-ขายยา เจอโทษหนักแน่


เพิ่มเพื่อน    

 

2 มี.ค. 2562 นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน ในฐานะประธานคณะทำงานพิจารณาราคายาและเวชภัณฑ์ ค่าบริการรักษาพยาบาล บริการทางการแพทย์ และบริการอื่นของสถานพยาบาล  เปิดเผยถึงกรณีที่ขอความร่วมมือให้โรงพยาบาลเอกชน ผู้ผลิต-นำเข้ายาและเวชภัณฑ์ รวมถึงร้านจำหน่ายยาและเวชภัณฑ์รายใหญ่ ส่งข้อมูลราคาซื้อ-ขาย และนำเข้ามาให้กรมฯภายในวันที่ 4 เม.ย.นี้ว่า จนถึงขณะนี้ มีผู้ส่งข้อมูลดังกล่าวมาให้กรมฯประมาณร้อยกว่ารายเท่านั้น จากโรงพยาบาลเอกชนทั้งหมด ที่กรมฯส่งหนังสือแจ้งไป 353 ราย รวมถึงผู้ผลิต และผู้นำเข้ายาและเวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์ 339 ราย 

โดยหากครบกำหนดวันที่ 4 เม.ย.นี้แล้ว กรมฯจะนำรายชื่อผู้ประกอบการที่ให้ความร่วมมือ มาเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของกรมฯ เพื่อให้สังคมได้รับทราบว่า เป็นผู้ประกอบการที่มีความโปร่งใส และให้ความร่วมมือกับทางการด้วยดี ส่วนรายใดที่ส่งไม่ทันภายในกำหนด กรมฯจะดำเนินการตามพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพ.ศ.2542 โดยจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งนี้ ภายหลังจากได้ข้อมูลมาแล้ว คณะทำงานฯจะสรุปข้อมูล และพิจารณามาตรการที่จะนำมาใช้กำกับดูแลราคายาและเวชภัณฑ์ รวมถึงบริการทางการแพทย์ และบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจะนำเสนอให้ที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณามาตรการกำกับดูแล ที่มีนายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานพิจารณาเห็นชอบ ก่อนนำเสนอให้คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ที่มีรมว.พาณิชย์ เป็นประธานพิจารณาต่อไป ซึ่งน่าจะเป็นภายหลังจากการจัดตั้งรัฐบาล และมีคณะรัฐมนตรีแล้ว 

สำหรับมาตรการที่จะใช้กำกับดูแล จะต้องเป็นมาตรการที่โปร่งใส และเป็นธรรมกับทั้งผู้ป่วย และโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งจะมีทั้งการกำหนดให้โรงพยาบาลเอกชน ต้องเปิดเผยราคายา เวชภัณฑ์ บริการทางการแพทย์ และบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ประชาชนได้รับทราบ และเห็นชัดเจน แม้ปัจจุบัน โรงพยาบาลอ้างว่า มีเผยแพร่อยู่แล้ว แต่กลับไม่ได้เผยแพร่ในที่ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น อยู่ในสมุดและเก็บไว้ที่เคาน์เตอร์จ่ายยา เป็นต้น

นอกจากนี้ ราคาที่เผยแพร่จะต้องสอดคล้องกับต้นทุนราคาซื้อ-ขาย ที่ได้ส่งมาให้กรมฯ ไม่ใช่คิดราคาโดยนำเอาค่าใช้จ่ายอื่นๆ มารวมด้วย เช่น ค่าซื้อที่ดิน ค่าเภสัชกร ค่าเก็บสต๊อก เป็นต้น โดยสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โรงพยาบาลยังไม่สามารถส่งข้อมูลซื้อ-ขายมาให้กรมฯพิจารณา ส่วนหนึ่งอ้างว่า ไม่สามารถแยกราคายาออกจากค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้ ซึ่งไม่ถูกต้อง ราคายา เวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์ ไม่ควรเอาค่าใช้จ่ายอื่นๆ เข้าไปรวมเป็นราคาขาย เพราะไม่เป็นธรรมกับผู้ป่วย รวมถึงในการสั่งจ่ายยา แพทย์จะต้องสั่งจ่ายยาโดยระบุทั้งชื่อทางการค้า และชื่อทางวิทยาศาสตร์ด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถนำใบสั่งยาไปซื้อจากภายนอกโรงพยาบาลได้

“ถ้า กกร.เห็นชอบมาตรการกำกับดูแลทั้งหมดที่กรมฯนำเสนอ โรงพยาบาลจะต้องเผยแพร่ราคายา เวชภัณฑ์ บริการทางการแพทย์ และบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้กับผู้ป่วยทราบ และเห็นได้ชัดเจน ซึ่งต้องเป็นราคาที่สอดคล้องกับต้นทุนที่ส่งมาให้กรมฯแล้ว ราคายาก็คือราคายา ที่ไม่ใช่เอาค่าใช้จ่ายอื่นๆ มารวมด้วย ไม่ใช่เอาราคาที่ดิน ที่โรงพยาบาลซื้อแล้วมารวมด้วย เพราะถือเป็นการผลักภาระให้ผู้ป่วย และสร้างความไม่เป็นธรรมทางการค้า"

นายวิชัย กล่าวว่า เมื่อ กกร.เห็นชอบแล้ว ก็จะออกประกาศให้โรงพยาบาลเอกชนต้องปฏิบัติตาม ไม่เช่นนั้น จะถือว่ามีความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 โดยจะมีโทษทั้งจำ และปรับ เช่น หากขายยาราคาสูงเกินจริง จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ

ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าว ถือเป็นการหามาตรการกำกับดูแลยา เวชภัณฑ์ บริการทางการแพทย์ และบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายหลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบให้นำสินค้าดังกล่าวเข้าสู่บัญชีสินค้าและบริการควบคุมปี 62 หลังจากประชาชนร้องเรียนมากว่า โรงพยาบาลเอกชนคิดค่ายา และค่ารักษาแพงเกินจริง เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้บริโภค และยกระดับมาตรฐานการรักษาพยาบาลของไทยให้โปร่งใส และเป็นธรรม


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"