สสส. ผนึก 22 องค์กร เปิดโลกกว้างปิดเทอมใหญ่หยุดเด็กนั่งจมจ่อมหน้าจอให้วิ่งตามหาฝัน


เพิ่มเพื่อน    

               

เสวนาปิดเทอมสร้างสรรค์ “ตามหาฝัน แบ่งปันสังคม สร้างตัวตน เปิดโลกเรียนรู้” ณัฐยา บุญภักดี ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะ สสส.แจงผลงานวิจัยเด็กท่องดิจิทัลเป็นสังคมไร้พรมแดนเหมือนกันทั่วโลก ผู้ใหญ่ต้องเปิดโลกเรียนรู้การผจญภัยเพื่อสร้างทักษะใหม่ๆ ทำในสิ่งที่อยากฝัน ปิดเทอมใหญ่ 3 เดือนสร้างกิจกรรมให้เด็กแทนการหยุดเด็กนั่งจมจ่อมหน้าจอใสทุกประเภท เทพวัลย์ ภรณวลัย รองอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวง พม. “เด็กและเยาวชนมีความเป็นพลเมือง เก่ง ดี มีสุข และสร้างสรรค์” ปี 2562 ผลักดันกิจกรรม “ถนนเด็กเดิน เพลิดเพลินวัฒนธรรม นำสื่อสร้างสรรค์” วิบูลย์ เสรีชัยพร ผจก.ฝ่ายการบริหารลูกค้า บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัดจัดแคมป์เปิดโลกเรียนรู้แสตมป์สำหรับเด็ก ศรินยา ปาทา ภัณฑารักษ์ชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ พาย้อนเวลาหาโบราณวัตถุ น้องผัดไท ผู้เข้าประกวดเดอะวอยซ์ไทยแลนด์ 7 ตามหาฝันตั้งแต่ 3 ขวบ

เปิดเวทีเสวนาปิดเทอมสร้างสรรค์ “อัศจรรย์วันว่าง” กับกิจกรรมสนุกและสร้างสรรค์ในปีอ2562 ผ่าน 4 เรื่อง “ตามหาฝัน แบ่งปันสังคม สร้างตัวตน เปิดโลกเรียนรู้” ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. : ข้อค้นพบการใช้เวลาว่างของเด็กและเยาวชนช่วงปิดเทอม (Demand Side) เทพวัลย์ ภรณวลัย รองอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ : ถนนเด็กเดิน เพลิดเพลินวัฒนธรรม นำสื่อสร้างสรรค์ วิบูลย์ เสรีชัยพร ผู้จัดการฝ่ายการบริหารลูกค้า บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด : เปิดโลกเรียนรู้กับ Stamp for kids ชัยวัฒน์ เทพทวี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนากิจการ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) : เปิดโลกเรียนรู้กับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ศรินยา ปาทา ภัณฑารักษ์ชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ : เปิดโลกเรียนรู้กับกิจกรรมชุดประวัติศาสตร์ หทัยการณ์ หาญกล้า น้องผัดไท ผู้เข้าประกวดเดอะวอยซ์ไทยแลนด์ 7 The Voice Thailand 2018 : ตัวอย่างเยาวชนผู้ใช้วันว่างอย่างสร้างสรรค์ ดำเนินรายการโดย อาร์ม พิพัฒน์ วิทยาปัญญานนท์ พิธีกรรายการเด็ก True spark พิธีกรรายการสารคดี “ฉลาดล้ำโลก” ทางโทรทัศน์ MCOT

               

 ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สสส. (เป็นคนลพบุรี แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บิดาเป็นนายทหาร มารดาเป็นแม่พิมพ์ของชาติ ณัฐยา (ผึ้ง) มีดีกรีปริญญาตรีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโทสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ก่อนหน้านี้ทำปริญญาโทคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จบทฤษฎี แต่ทำวิทยานิพนธ์ในหัวข้อเรื่อง ชีวิตคู่ของคนรุ่นใหม่ มี อ.ธีรยุทธ  เป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ณัฐยาเขียนไม่เสร็จเนื่องจากช่วงนั้นเธอติดลมในการทำงาน จึงไม่มีเวลาเขียนวิทยานิพนธ์ให้แล้วเสร็จ ) ในฐานะวิทยากรกล่าวว่า ไม่น่าแปลกใจในสังคมดิจิทัล เด็กรู้จักดิจิทัล ท่องโลกกลายเป็นเรื่องปกติ แต่ก็ยังมีเด็กอีกกลุ่มหนึ่งอยากจะทำกิจกรรม Off Line ศึกษาโบราณสถาน ท่องเที่ยว แต่ก็ยังมีอุปสรรคเนื่องจากอยู่ไกลบ้าน ขณะเดียวกันยังมีเด็กอีกส่วนหนึ่งที่ฐานะทางบ้านไม่ดีต้องช่วยพ่อแม่หารายได้ ไม่มีเวลา ไม่มีเงินที่จะท่องเที่ยวหรือทำกิจกรรมเหมือนเพื่อนในวัยเดียวกัน

               

ดังนั้นจึงต้องมีการเติมเต็มช่องว่างเพื่อให้เด็กมีพัฒนาการตามช่วงวัย ในช่วงเด็กประถม เด็กเรียนรู้ที่จะสนุกสนาน เปิดโลกเรียนรู้การผจญภัย เมื่อโตขึ้นอีกนิดอยากเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ทำในสิ่งที่ฝัน ตามหาฝัน เล่นดนตรี เล่นกีฬา หรือค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับดิจทัลใหม่ๆ การเปิดโลกใหม่ workshop ทำงานในสิ่งที่ตัวเองถนัด หรือฝึกทำงานจริง ภาคเอกชนเปิดโอกาสให้เด็กเข้ามาฝึกงาน เรียนรู้เรื่องอาชีพที่อยากจะทำ ไม่ใช่เพียงการท่องจำอย่างเดียวเท่านั้น การเรียนรู้ที่ดีต้องมีการลงมือในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อนด้วยการสร้างศักยภาพ รวมถึงการได้ผจญภัย

               

พิพัฒน์ ผู้ดำเนินรายการ ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ในรุ่นของตนเองนั้นสร้างแรงบันดาลใจด้วยการพับนกใส่ขวดโหล ณัฐยา ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การสร้างจินตนาการเพียงอย่างเดียวไม่พอ ต้องดึงเด็กที่จมจ่อมอยู่หน้าหน้าจอใสทุกประเภท ตั้งแต่จอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต ทั่วทุกตำบล ทุกภูมิภาคออกจากสิ่งเหล่านี้ในช่วงปิดเทอม และแสวงหาสิ่งใหม่ๆ ในการสร้างคุณภาพ น้องๆ บางคนพบความสุขเมื่อรู้จักการแบ่งปัน เราสามารถชักชวนเด็กพิการมาเรียนรู้ร่วมกับเด็กปกติได้ เป็นการถ่ายทอดความรู้ เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันได้ กิจกรรมแบ่งปันเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน เป็นการสร้างคุณค่าซึ่งกันและกันด้วย

               

“ช่วงปิดเทอมใหญ่ภาคฤดูร้อนค่อนข้างยาว 3 เดือน เด็กสามารถเข้าถึงฐานข้อมูล เลือกได้ว่าจะเข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานใด ขณะนี้ทุกหน่วยงานเป็นเจ้าของ www. ร่วมกันนำกิจกรรมเข้ามาในระบบประมวลผลให้เด็กทั่วประเทศค้นคว้าได้ เรามีทีมงานหลังบ้านคัดเลือกกิจกรรมที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง ใครสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเครือข่าย เพื่อให้เด็กเกิดแรงบันดาลใจเป็นแกนนำในพื้นที่ชุมชน นำไอเดียมาเผยแพร่ได้”

               

เทพวัลย์ ภรณวลัย รองอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวถึงภารกิจหลักของกรมกิจการเด็กและเยาวชนในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ การส่งเสริมสวัสดิการเด็กและเยาวชน เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความมั่นคงในการดำรงชีวิต ภายในวิสัยทัศน์ “เด็กและเยาวชนมีความเป็นพลเมือง เก่ง ดี มีสุข และสร้างสรรค์” ทั้งนี้ในปี 2562 มีการดำเนินกิจกรรม “ถนนเด็กเดิน เพลิดเพลินวัฒนธรรม นำสื่อสร้างสรรค์”

               

เด็กในอนาคตนั้นเก่งกล้าไม่เพียงพอที่จะแบกรับภาระลำบาก ดังนั้นในช่วงปิดเทอมเป็นช่วงตอบโจทย์ได้ว่าตัวเองมีความสนใจอะไร “สมัยดิฉันเป็นเด็กวาดตุ๊กตากระดาษเป็นชุดๆ ทดลองเป็นดีไซเนอร์ มีชุดแต่งหน้า เราหาความฝันของตัวเองให้เจอ กรมกิจการเด็กและเยาวชนมีกลไกให้เด็กคิดและลงมือทำโดยผู้ใหญ่หนุน ทั้งเรื่องการส่งเสริมด้านดนตรี ศิลปวัฒนธรรม กีฬา ให้เด็กสนุกสนาน แบ่งปันความรู้ การเป็นดีเจและให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปัญหายาเสพติด อนามัยเจริญพันธุ์ ทุกอย่างต้องมการรวมพลังและบอกต่อ จัดกิจกรรมอัศจรรย์วันว่าง กรมกิจการฯ พร้อมสนับสนุนพื้นที่สร้างสรรค์ให้เด็กทิ้งหน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ เพื่อไปทำอะไรที่สร้างสรรค์มากขึ้น”

               

ผู้ใหญ่เห็นความสำคัญจุดประกายให้เด็กมีพื้นที่มาแสดงความสามารถเหมือนเป็นพื้นที่ปล่อยของ โครงการถนนเด็กเดิน ขณะนี้มีพื้นที่มากกว่า 8,000 แห่ง ให้เด็กได้เรียนรู้โลกกว้างในชุมชน

               

วิบูลย์ เสรีชัยพร ผู้จัดการฝ่ายการบริหารลูกค้า บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด : เปิดโลกเรียนรู้กับ Stamp for Kids กล่าวว่า ขอให้ช่วยกันรำลึกถึงว่าไปรษณีย์อยู่กับเรามาแล้ว 136 ปี เป็นเอกลักษณ์ที่ควบคู่กันด้วย ถ้าไม่มีแสตมป์ก็ส่งไปรษณีย์ไม่ได้ เรื่องของแสตมป์มีคุณค่าในทุกประเทศ เป็นเอกลักษณ์ ขณะนี้พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรทั่วประเทศที่ไปรษณีย์สามเสนใน เชียงใหม่ ขอนแก่น ภูเก็ต เพื่อให้เด็กเรียนรู้โลกกว้างผ่านแสตมป์ของประเทศต่างๆ เป็นหน้าต่างบานเล็กที่ทำให้เด็กรู้จักทุกประเทศทั่วโลกผ่านเรื่องเล่าจากแสตมป์ ได้เรียนรู้ทางด้านภูมิศาสตร์ “เรามารู้จักแสตมป์ดวงแรกของโลก แสตมป์ดวงแรกของเมืองไทย เป็นการสร้างคุณค่าให้ความรู้ไม่รู้จบ เราอยากให้เยาวชนคนรุ่นใหม่มองผ่านหน้าต่างบานเล็ก เป็นการจุดประกายให้เด็กค้นหาตัวเองต่อไปได้”

               

พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรสามเสนใน เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับกิจการสื่อสารไปรษณีย์และตราไปรษณียากรทั้งของไทยและต่างประเทศทั่วโลก และเป็นศูนย์กลางของนักสะสมและผู้สนใจค้นคว้าหาความรู้เรื่องราวต่างๆ ผ่านตราไปรษณียากรที่จัดแสดงในหลายรูปแบบ แสตมป์ดวงแรกของโลกถือกำเนิดขึ้นที่ประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ 6 พ.ค.2383 ราคา 1 เพนนี สีดำ หรือเรียกว่าเพนนี แบล็กเป็นภาพของสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย พระราชินีแห่งอังกฤษ แสตมป์ดวงแรกของไทยเป็นพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชื่อว่า แสตมป์โสฬศ จัดพิมพ์ขี้นเมื่อวันที่ 4 ส.ค.2426 พร้อมกับวันเปิดกิจการไปรษณีย์ขึ้นเป็นครั้งแรก ตู้ไปรษณีย์ตู้แรกของไทยได้รับมอบเป็นของขวัญจากรัฐบาลประเทศเยอรมนีในโอกาสที่ไทยเปิดกิจการไปรษณีย์ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2426 มีลักษณะเป็นตู้ทรงสี่เหลี่ยม ทำด้วยเหล็กหล่อทั้งชิ้น และเป็นศิลปะแบบวิกตอเรียน ต้นแบบตราไปรษณียากร ภาพประดิษฐ์จากตราไปรษณียากรใช้แล้วนับพันดวง

               

การเดินทางมาที่พิพิธภัณฑ์แสตมป์ด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีสะพานควาย อยู่บริเวณด้านหลังของไปรษณีย์สามเสนใน มีนิทรรศการหมุนเวียน การผจญภัยของการอนุรักษ์สัตว์ป่าสงวน มีแสตมป์สัตว์ป่าสงวนทางทะเล ครม.ผ่านการรับรองการอนุรักษ์ฉลามวาฬ เต่ามะเฟือง เด็กๆ จะได้เห็นภาพจริงของสัตว์อนุรักษ์เหล่านี้ผ่านนิทรรศการและมีแสตมป์ที่ระลึกด้วย “เรายังมีกิจกรรมช่วงปิดเทอม ปณ.ตะลุยโลกแสตมป์ 3 คืน 4 วัน พาเยาวชนอายุ 11-14 ปี จำนวน 100 คน ไปเรียนรู้โลกกว้างในสถานที่และเรื่องราวที่อยู่บนดวงแสตมป์ ทำให้เด็กจุดประกายความฝันมีผลต่อสังคมในระยะยาว เด็กวัย 22 ปีของ Gen Z เริ่มทำงานแล้ว เด็กรุ่นนี้สามารถใช้อุปกรณ์พร้อมๆ กันได้หลายอย่าง ทำให้มีสมาธิสั้น เราต้องหาสิ่งที่ชอบจากเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้พบด้วย ในขณะที่เด็ก Gen Alfa อายุ 7 ขวบ”

               

ชัยวัฒน์ เทพทวี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนากิจการ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) : เปิดโลกเรียนรู้กับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง กล่าวขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีที่ให้เด็กมีกิจกรรมช่วงปิดเทอมเป็นการเผยแพร่พระเกียรติยศพระมหากษัตริย์ไทยทางด้านการเกษตร ขับเคลื่อนกิจกรรมความร่วมมือทางด้านนวัตกรรมการเกษตร จับมือภาคีเครือข่ายร่วมกันส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการเกษตร ขยายโอกาสทุกกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น มีการจัดนิทรรศการเผยแพร่ ทั้งเรื่องดิน น้ำ นวัตกรรม หลักการทรงงานของรัชกาลที่ 9 มีพระอัจฉริยภาพมากมาย ให้เยาวชน และประชาชนทั่วไปในมุมมองใหม่ๆ

               

 ศรินยา ปาทา ภัณฑารักษ์ชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมละพัฒนาพิพิธภัณฑ์ : เปิดโลกเรียนรู้กับกิจกรรมชุดประวัติศาสตร์ กล่าวว่า โบราณวัตถุที่วางอยู่เฉยๆ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง สำนักศิลปากรที่ 6 สุโขทัย โครงการพิพิธภัณฑ์สัญจร (Mobile Museum) เด็กๆ สามารถหาเกร็ดความรู้ต่างๆ มากมายจากเจ้าหน้าที่ได้ ตามหาความฝัน ภาชนะดินเผา นิทรรศการศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

               

นักเขียนนวนิยายเรื่องบุพเพสันนิวาสก็เริ่มต้นจากความสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับโบราณคดี และเลือกที่จะเรียนต่อทางด้านโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อเจาะลึกเรื่องราวของประวัติศาสตร์ในอดีต ด้วยความรักที่จะช่วยกันจารึกเรื่องราวสำคัญในประวัติศาสตร์

               

หทัยการณ์ หาญกล้า หรือน้องผัดไท วัย 18 ปี ผู้เข้าประกวดเดอะวอยซ์ไทยแลนด์ 7 The Voice Thailand/2018 : ตัวอย่างเยาวชนผู้ใช้วันว่างอย่างสร้างสรรค์ กล่าวว่า รู้ตัวเองว่าชอบร้องเพลงตั้งแต่อายุ 3 ขวบ เริ่มต้นจากการเข้าประกวดบนเวทีเล็กๆ ในจังหวัด เวทีใหญ่ เริ่มเล่นดนตรีเมื่ออายุ 7 ขวบ “หนูเป็นเด็กบ้านนอก บ้านหนูทำนา หนูรู้จักความยากลำบากของชาวนาว่าเหนื่อยหนักขนาดไหน เมื่อโตขึ้นหนูอยากเป็นครูสอนเด็กๆ ขณะนี้หนูเรียนอยู่ที่ รร.สุรศักดิ์มนตรี ตั้งใจจะเรียนคณะครุศาสตร์ด้านดนตรี”

 

“ขอเชิญชวนเพื่อนๆ และน้องๆ ทำกิจกรรมนอกห้องเรียนเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ความรู้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในพื้นที่ห้องสี่เหลี่ยมเท่านั้น เราสามารถทำให้การปิดเทอมสร้างสรรค์ได้”.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"