วันที่ 31 มี.ค.พล.ต.ท.ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกประชาชนที่เดิทางช่วงเทศกาลสงกรานต์ประจำปี 2562 ว่า ด้วยวันที่ 12-16 เม.ย.เป็นช่วงเทศกาลวันสงกรานต์มีวันหยุดราชการต่อเนื่องกันหลายวัน มีประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อร่วมฉลองวันสงกรานต์และวันครอบครัวตามประเพณีไทย หรือเดินทางไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ เป็นจำนวนมาก โดยแทบทุกพี้นที่ทั่วประเทศจะมีการจัดงานประเพณีทำบุญ งานรื่นเริง รวมทั้งกิจกรรมเล่นน้ำสงกรานต์ และมีรูปแบบการจัดกิจกรรมที่มีความหลากหลาย อันอาจทำให้มีกลุ่มมิจฉาชีพฉวยโอกาสก่อเหตุ ประชาชนอาจเกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง หรืออาจมีกลุ่มบุคคลที่ไม่หวังดีเข้ามาฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์ในพื้นที่ได้
จากสถานการณ์ดังกล่าว พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้เล็งเห็นความสำคัญ และเพื่อให้การป้องกันปราบปรามอาชญากรรม การรักษาความสงบเรียบร้อย และอำนวยความสะดวกด้านการจราจร เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงได้สั่งการให้ทุกหน่วยปฏิบัติดังนี้ 1. ด้านการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ให้ กองบัญชาการตำรวจนครบาล ตำรวจภูธรภาค 1-9 ตำรวจท่องเที่ยว และตำรวจสอบสวนกลาง จัดทำแผน/มาตรการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ ๑-1-17เม.ย. ให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่และสถานการณ์ของตน ,ระดมกวาดล้างอาชญากรรม ระหว่างวันที่ 1-10 เม.ย.รวมถึงการตั้งจุดตรวจ จุดสกัด เพื่อตัดโอกาสในการกระทำผิด และมุ่งเน้นคดีเป้าหมาย ได้แก่ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ยาเสพติด การพนัน การค้าประเวณี และสถานบริการ ซึ่งเป็นต้นเหตุของอาชญากรรม รวมถึงการระดมจับกุมผู้ต้องหาตามหมายจับ
จัดสายตรวจรถยนต์ รถจักรยานยนต์ สายตรวจเดินเท้า ปรากฏกายป้องกันเหตุต่างๆ รวมถึงคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ บริเวณ ธนาคาร ร้านค้าทอง ร้านสะดวกซื้อ สถานีขนส่งผู้โดยสาร แหล่งท่องเที่ยวหรือสถานที่มีการจัดกิจกรรมและมีประชาชนไปร่วมงานเป็นจำนวนมาก ,การตั้งจุดตรวจ จุดสกัด ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพอาชญากรรมในพื้นที่ โดยเน้นในจุดที่เป็นจุดเสี่ยง จุดล่อแหลม ,กวดขันจับกุม ความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกฮอล์ ที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบริโภคเครื่องดื่มแอลกฮอล์บนทางในขณะขับขี่หรือในขณะโดยสารอยู่ในรถ เรือ รถไฟ ,กวดขันสถานบริการและสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ ให้ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดโดยเคร่งครัด ,ป้องกันปราบปรามผู้มีอิทธิพล ติดตามพฤติการณ์บุคคลพ้นโทษ หรือปล่อยตัวชั่วคราว ในคดีเกี่ยวกับทรัพย์ เพศ และยาเสพติด ,กวดขันจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการยิงปืนขึ้นฟ้า การพกพาอาวุธ ,ในกรณีที่มีการจับกุมเด็กและเยาวชนให้ดำเนินการกับผู้ปกครอง ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ทุกราย ,จัดกำลังออกดูแลการเล่นน้ำสงกรานต์ให้เป็นไปตาม มติคณะรัฐมนตรี โดยในการเล่นน้ำสงกรานต์ต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ไม่แต่งกายล่อแหลม รณรงค์ให้ใส่ผ้าไทย ผ้าพื้นเมือง กำหนดเวลาการเล่นน้ำให้ชัดเจนเพื่อความปลอดภัยในการใช้เส้นทางสัญจร รณรงค์ให้เล่นน้ำด้วยความสุภาพ งดการใช้ปืนฉีดน้ำแรงดันสูง น้ำแข็ง หรือโฟม ซึ่งอาจเกิดอันตรายได้ กวดขันมิให้มีการแสดงหรือการเต้นที่ไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย และห้ามขับรถกระบะบรรทุกน้ำเข้าไปในที่ชุมชนหรือบริเวณจัดงาน ,จัดทำ โครงการประชารัฐร่วมใจดูแลความปลอดภัยบ้านช่วงเทศกาลสำคัญ ในระหว่างวันที่ 11-17 เม.ย. ,ให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง คัดกรองบุคคลเข้าออกประเทศโดยละเอียด เพื่อป้องกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แรงงานต่างด้าว หรือผู้หลบหนีหมายจับ
2.การรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ กำชับทุกหน่วยเข้มงวดการป้องกันการฉวยโอกาสของผู้ไม่หวังดีหรือผู้เสียผลประโยชน์ก่อเหตุร้ายในพื้นที่ต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ ,จัดกำลังสายตรวจร่วมรักษาความปลอดภัยและให้บริการนักท่องเที่ยวในพื้นที่จัดงานที่เป็นที่นิยมของชาวต่างชาติ รวมทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผนบูรณาการร่วมกัน
3. การอำนวยความสะดวกด้านการจราจร ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน จัดตั้ง ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2562 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 10-18 เม.ย. (รวม 9 วัน) โดยมี พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้อำนวยการ มีหน้าที่ กำหนดนโยบาย อำนวยการ สั่งการ ควบคุม และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงเทศกาล โดยมีองค์ประกอบ ประกอบด้วย ส่วนอำนวยการ ส่วนปฏิบัติการ และส่วนสนับสนุน และให้ทุกกองบัญชาการ กองบังคับการ/ตำรวจภูธรจังหวัด ดำเนินการจัดตั้งศูนย์อำนวยการและประสานงานของตนเอง ,ให้ทุกหน่วยเตรียมความพร้อมกำลังพล อุปกรณ์ เครื่องตรวจจับความเร็ว เครื่องตรวจวัดระดับแอลกฮอล์ ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ ,ห้ามรถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป เดินในถนนบางสายช่วงเทศกาลสงกรานต์ ,บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดจริงจังและต่อเนื่องกับผู้ฝ่าฝืนกฎหมายจราจร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องใน 10 ข้อหาหลัก เช่น ขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยในขณะขับขี่ และผู้ที่ขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้วง 7วันอันตราย (11-17 เม.ย.)
4. การประชาสัมพันธ์ เตือนประชาชนระมัดระวัง การหลอกลวงเอาทรัพย์สินในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งไม่ควรสวมใส่เครื่องประดับอันเป็นเหตุจูงใจให้เกิดการประทุษร้ายต่อทรัพย์ ,เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุ ขอให้ผู้ขับขี่รถเตรียมร่างกายให้พร้อมและปฏิบัติตามกฎหมายจราจรโดยเคร่งครัด ,ประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือจากประชาชน ให้เล่นน้ำสงกรานต์ด้วยความสุภาพตามประเพณี ไม่ใช้อุปกรณ์การเล่นน้ำในลักษณะที่อาจเกิดอันตรายแก่ผู้อื่น แต่งกายอย่างสุภาพ เรียบร้อย มิดชิด โดยไม่แต่งกายในลักษณะที่ล่อแหลมหรือยั่วยุ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาชญากรรมได้ ,ห้ามร้านค้าจำหน่ายสุราแก่บุคคลที่มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่ได้ และบุคคลอายุต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์ ,ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบกำหนดเขตพื้นที่และห้วงเวลาการเล่นน้ำ โดยให้เล่นน้ำบริเวณที่จัดให้เท่านั้น ,ประชาชนสามารถแจ้งเหตุ/ติดต่อขอความช่วยเหลือ ที่หมายเลขโทรศัพท์ 191,1599และ SMS 191 หรือผ่านแอปพลิเคชั่น Police I Lert u
ทั้งนี้ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ผบ.ตร. ยังได้เน้นย้ำให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับ ลงไปกำกับดูแลการปฏิบัติของหน่วยที่อยู่ในความรับผิดชอบ โดยให้ หัวหน้าสถานีตำรวจและผู้บังคับบัญชาทุกระดับของสถานีตำรวจต้องอยู่ควบคุมการปฏิบัติหน้าที่อย่างใกล้ชิดห้ามลาห้ามขาด
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |