จุฬาฯ ชูโมเดล Zero Waste ลดขยะพลาสติกแล้ว 100 ตัน


เพิ่มเพื่อน    

ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี ผจก.โครงการ Chula Zero Waste

 

     สหประชาชาติกำหนดปัญหามลพิษขยะพลาสติกเป็นวาระโลกปีก่อน ขณะที่รัฐสภายุโรปเห็นชอบร่างกฎหมายห้ามใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งภายในปี 2564 ทั้งหลอด, ช้อน-ส้อม-มีด, ก้านสำลีเช็ดหู, ที่คนเครื่องดื่ม, พลาสติกชนิด Oxo, กล่องโฟม สำหรับประเทศไทยนั้นรัฐบาลประกาศเป้าหมายเลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง 7 ชนิดในปีนี้ ทั้ง Cap seal ขวดน้ำดื่ม, ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีส่วนผสมของของสารประเภท oxo, Microbead จากพลาสติก ปี 2565 เพิ่มถุงพลาสติกหูหิ้วขนาดความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน, กล่องโฟมบรรจุอาหาร ปี 2568 ได้แก่ แก้วน้ำพลาสติกใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง และหลอดพลาสติก

 

จุฬาฯ เดินหน้า Chula Zero Waste ลดขยะพลาสติกในมหาวิทยาลัย

 

      ด้านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเดินหน้าภายใต้โครงการ Chula Zero Waste พัฒนาระบบการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายในจุฬาฯ ให้เป็นต้นแบบการจัดการขยะในพื้นที่เมือง รวมถึงพัฒนาและบูรณาการความรู้เรื่องการลด คัดแยกและการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอน และกิจกรรมภาคปฏิบัติทุกระดับตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงมหาวิทยาลัย อีกทั้งสร้างค่านิยม Zero Waste ให้แก่บุคลากรในจุฬาฯ ช่วยลดและคัดแยกขยะที่ต้นทาง

      จากงานเสวนามาตรการลดขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งพร้อมประกาศเจตนารมณ์ดำเนินมาตรการลดขยะพลาสติก .ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จุฬาฯ มีเป้าหมายจะลดขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งภายใน 3 ปี ตั้งแต่ปี 25622564 โดยจะเป็นเขตปลอดโฟม 100% และปลอดถุงพลาสติกชนิด Oxo-degradable ที่แตกตัวเร็ว กลายเป็นไมโครพลาสติก ลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกชนิดหูหิ้วลง 80% ในทุกร้านค้าผ่านมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ มีการเก็บเงินค่าถุงพลาสติกจูงใจให้พกถุงผ้า เลิกใช้แก้วพลาสติก 100% ในโรงอาหาร เปลี่ยนแก้วที่ใช้ซ้ำได้หรือแก้วกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพ (zero-waste cup) ลดปริมาณการใช้หลอดพลาสติก ช้อน-ส้อมพลาสติกลง 20% ผ่านมาตรการขอก่อน ค่อยให้ และลด-งดแจก ในการประชุมและการจัดงาน

 

แก้วกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพย่อยสลายใน 6 เดือน

 

     ด้าน ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี ผู้จัดการโครงการ Chula Zero Waste กล่าวว่า โครงการ Chula Zero Waste เป็นแผนปฏิบัติการ 5 ปี ประสบความสำเร็จด้วยมาตรการงดแจกถุงพลาสติกในร้านสะดวกซื้อในมหาวิทยาลัยตั้งแต่ปี 2560 ช่วยลดปริมาณถุงพลาสติกถึง 90% ลดขยะจากถุงพลาสติก 3.2 ล้านใบ แต่ถุงพลาสติกในร้านสะดวกซื้อก็มีปริมาณมากคิดเป็น 26% ของร้านค้าทั้งหมดในมหาวิทยาลัย ส่วนปริมาณการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วคิดเป็น 28% ของพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง 4 ประเภทที่รวมๆ แล้วอาจมีปริมาณการใช้มากกว่า 20 ล้านชิ้นต่อปี ดังนั้น ร้านค้าในเขตพื้นที่การศึกษาจะห้ามใช้กล่องโฟมและถุงพลาสติกชนิด Oxo-degradable โดยเด็ดขาด งดการให้ถุงพลาสติกฟรี ยกเว้นสำหรับของร้อนพร้อมทาน เปลี่ยนเป็นเก็บเงิน 1-2 บาทตามกลไกเศรษฐศาสตร์เพื่อจูงใจให้ลดรับถุงพลาสติก ถุงที่อนุญาตให้ใช้จะมี 3 ทางเลือก คือ ถุงกระดาษ ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้ที่ได้มาตรฐานการย่อยสลายเป็นปุ๋ย และถุงที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล 100% 

      “ แล้วยังมี My Bottle เพิ่มตู้กดน้ำดื่มสะอาด 50 ตู้ กิจกรรมแจกกระบอกน้ำช่วยลดปริมาณขวดพลาสติก 6 แสนขวดต่อปี ในประชากรของจุฬาฯ 10% มีการปรับพฤติกรรม, My Cup ร้านกาแฟ เอาแก้วมาเอง ได้ส่วนลด 3-5 บาท เพราะในจุฬาฯ มีร้านกาแฟเยอะมาก และ Zero-waste cup ต้องจ่ายค่าแก้ว 2 บาท เกิดการกระตุ้นให้พกแก้วมาเอง และในโรงอาหารเปลี่ยนการใช้แก้วพลาสติกมาเป็นแก้วกระดาษเคลือบด้วยพลาสติกชีวภาพย่อยเป็นปุ๋ยได้ภายใน 6 เดือน ทุกโครงการลดขยะพลาสติกภายในจุฬาฯ 100 ตัน แต่ยังเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับขยะเหลือทิ้งทั้งหมด 1,600-1,800 ตันต่อปี ผู้จัดการโครงการกล่าวจะต้องทำให้ยั่งยืน

      นอกจากเสวนา ภายในงานจัดแสดงผลงานนิสิตชมรม Chula Zero Waste แสดงถึงการจัดการขยะและผลงานออกแบบถังขยะแยกประเภทอัจฉริยะจากนิสิตคณะครุศาสตร์ ตลอดจนงานประติมากรรมจากขยะพลาสติกของนิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ที่น่าสนใจ

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"