30 มี.ค. 2562 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยรายงานสถานะหนี้ครัวเรือนไทยในไตรมาส 4/2561 มียอดคงค้างที่ 12.827 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าถึง 2.2% QoQ สอดคล้องกับการเร่งตัวขึ้นของสินเชื่อรายย่อยหลายๆ ประเภท ทั้งสินเชื่อบ้าน สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ รวมถึงสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล โดยแม้ครัวเรือนส่วนใหญ่จะเป็นหนี้ หรืออาจจะมีการใช้บริการสินเชื่อจากสถาบันการเงินเพื่อรองรับการจับจ่ายใช้สอยที่เพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของแต่ละปีตามผลของปัจจัยด้านฤดูกาล มากกว่าช่วงอื่นๆ แต่คงต้องยอมรับว่า ในไตรมาส 4/2561 ที่ผ่านมา มีปัจจัยเฉพาะ ซึ่งก็คือ การปรับเกณฑ์การกำหนดการวางเงินดาวน์สำหรับการซื้อบ้าน (มาตรการ LTV ใหม่) ที่มีผลทำให้ครัวเรือนบางกลุ่มเร่งตัดสินใจก่อหนี้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ก่อนที่มาตรการ LTV ใหม่จะมีผลบังคับใช้ในเดือนเม.ย. 2562
ภาพรวมในปี 2561 หนี้ครัวเรือนที่กลับมาเพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจ ทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี ขยับขึ้นไปที่ 78.6% ในปี 2561 จาก 78.3% ในปี 2560 อย่างไรก็ดี คงต้องยอมรับว่า กว่าครึ่งหนึ่งของหนี้ที่ครัวเรือนรับภาระเพิ่มขึ้นนั้น ก่อให้เกิดสิทธิความเป็นเจ้าของในทรัพย์สิน เช่น ซื้อบ้าน ซื้อรถ และขยายธุรกิจ
สำหรับแนวโน้มในปี 2562 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในปี 2562 อาจทรงตัวในกรอบประมาณ 77.5-79.5% ต่อจีดีพี โดยภาพรวมเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มเติบโตในอัตราที่ชะลอลงในปีนี้ เมื่อผนวกกับภาระหนี้ของครัวเรือนที่น่าจะเพิ่มขึ้นจากผลของการก่อหนี้ก้อนใหญ่ (หนี้บ้านและหนี้รถ) ที่มีผลผูกพันหลายปีนับจากวันที่ก่อหนี้ อาจมีผลทำให้ครัวเรือนหลายส่วนใช้ความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้นในการก่อหนี้ก้อนใหม่ ขณะที่ ยังต้องติดตามมาตรการด้านเศรษฐกิจภายใต้การดำเนินการของรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งคาดว่า น่าจะเข้ามาช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพ และดูแลแก้ไขปัญหาด้านรายได้-ภาระหนี้ ของครัวเรือน โดยเฉพาะครัวเรือนในกลุ่มที่มีรายได้น้อย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |