นิทรรศการ “คนรักนา มา/หา/นคร” กลางกรุงที่หอศิลป์ กทม.
ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการพัฒนาเมืองต่างๆ ทำให้วิถีชีวิตของคนสมัยนี้มีความสะดวกสบายมากขึ้น แต่ก็ต้องทำงานแลกเงินและเผชิญกับการแข่งขันสูง ทำให้หลายคนเลือกหันหลังให้ความวุ่นวายและออกไปใช้ชีวิตเรียบง่ายในต่างจังหวัดอยู่ไม่น้อย
นิทรรศการ “คนรักนา มา/หา/นคร” จึงเกิดขึ้นเพื่อให้คนกรุงได้เข้ามาสัมผัสวิถีชีวิตแบบไทยสมัยก่อน โดยอาจารย์วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร ผู้ก่อตั้งกลุ่มโรงนานิเวศน์ จัดนิทรรศการครั้งแรกพร้อมสมาชิกร่วมกับมูลนิธิตาวิเศษ ให้คนที่รักนาได้มาเยี่ยมเยียน แบ่งปัน และรู้เรื่องราวสื่อความสุขของข้าวพื้นถิ่นและศิลปะพื้นบ้าน ความกลมกลืนระหว่างผู้คนและสิ่งแวดล้อมที่จะนำความผ่อนคลายมาให้คนกรุงได้สัมผัสกันกลางเมือง ตั้งแต่วันนี้-7 เมษายน 2562 ณ ลานชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
จัดแสดงเครื่องสีข้าวที่ยังใช้งานในปัจจุบัน
สำหรับนิทรรศการ "คนรักนา มา/หา/นคร" คือเรื่องราวของคนรักนาที่นำเอากลิ่นอายของวิถีชีวิตเรียบง่าย ตามแนววิถีชีวิตชุมชนไทย ผ่านการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ อาทิ เครื่องสีข้าว หมอดินหุงข้าว จาน ชาม ตู้กับข้าว อุปกรณ์ในการดำรงชีวิตที่มีการใช้จริงทุกชิ้น และกิจกรรมเวิร์กช็อป อาทิ สอนเทคนิควาดรูปสีน้ำ, หมวกสวยด้วยตัวเองโดยตาวิเศษแลผองเพื่อน, ธรรมชาติบำบัดลดอาการปวดด้วยเปลือกเลม่อนและสมุนไพร, สร้างปรากฏการณ์โดยเป้ สีน้ำ และพูดคุยสบายๆ กับเรื่องนิเวศน์สุนทรีย์ พร้อมกับช็อป ชิม ผลไม้จากสวน อาทิ มะม่วง มะพร้าว กล้วย ขนมจากสอดไส้ ขนมกล้วย กระเทียม สินค้าจากชุมชน อย่าง น้ำปลา และงานแฮนด์เมดอีกมากมาย
อาจารย์วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร กล่าวว่า จุดเริ่มต้นนิทรรศการครั้งนี้มาจากการทำงานทัศนศิลป์ที่ชื่อว่า ปรากฏการณ์นิเวศน์สุนทรีย์-ปฐมบท คนรักนา มา/หา/นคร คำว่า "นิเวศน์สุนทรีย์" เหมือนความรู้ใหม่ที่ตนเพิ่งค้นพบว่าสามารถสร้างประโยชน์ให้กับตนเองและผู้อื่นได้ โดยอาศัยธรรมชาติ ความสวยงาม ความสงบ เป็นสุนทรีย์ และมีความเป็นศิลปะเข้ามาเชื่อมโยงด้วย
อาจารย์วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร
อาจารย์วิจิตรเล่าว่า จากการทำนาวงกลมที่เป็นการศึกษาวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมด้วยในการแก้ปัญหาเรื่องข้าว มีขยะอยู่ในนาข้าว ปัญหาเรื่องสารเคมี ศัตรูพืชต่างๆ จึงได้ศึกษาและทำจริงโดยการปรับที่นาให้เป็นวงกลม ซึ่งต่างจากการทำนาแบบเดิมที่เป็นสี่เหลี่ยมหรือสามเหลี่ยม ในพื้นที่ 40-50 ตารางเมตร ที่ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม หรือบางคนอาจจะเพิ่มพื้นที่ได้ตามความต้องการ ซึ่งภายในนานอกจากมีการปลูกข้าว ยังมีการออกแบบให้มีบ่อน้ำอยู่ตรงกลาง ซึ่งสามารถนำน้ำมาใช้ได้เมื่อขาดแคลนหรือการจัดเป็นพื้นที่ทำกิจกรรมอย่าง การทำกระดาษสาจากฟางข้าว ซึ่งชาวบ้านก็ให้ความสนใจ และผลที่ได้เกิดความสุนทรีย์ ความรื่นรมย์ในการทำนา
“ ตนยังได้ตัดสินใจซื้อบ้านอยู่ที่ริมคลองมหาสวัสดิ์ เพราะพบว่าคนในชุมชนยังมีการใช้ชีวิตแบบดั้งเดิมแม้เริ่มจะเลือนหายไป เพราะการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมต่างๆ ที่เข้ามา ทำให้อยากที่จะเรียนรู้และเข้าใจวิถีชีวิตแบบไทย อย่างการอยู่โดยไม่มีตู้เย็น เตาแก๊สกว่า 6-7 เดือน พบว่าเราสามารถอยู่ได้โดยใช้ฟืนและถ่านก่อไฟ การหุงข้าวโดยใช้หม้อดิน จานชามเป็นสมัยก่อน รอบบริเวณบ้านมีการปลูกผักผลไม้ทานเอง ไม่ใช่เพียงแค่นั้น แต่ยังทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน คนรอบข้างในการแบ่งปันกัน เป็นภาพในอดีตที่รั้วไม่ต้องกั้นสูง ทำอาหารแบ่งกันกิน หยิบยืมข้าวของกันได้ ในนิทรรศการมีข้าวของที่คนในชุมชนและตนเองได้นำไปใช้จริงๆ มาจัดแสดง สะท้อนบางครั้งคนเราก็ต้องการการอยู่แบบเรียบง่าย เป็นวิถีชีวิตอย่างไทยจริงๆ ที่ไม่ใช่แค่บ้านเรือนไทยหรือลายไทย” อาจารย์วิจิตรกล่าว
อุปกรณ์เครื่องครัวตามวิถีไทยในอดีต
ลลนา พานิช หนึ่งในสมาชิกกลุ่มโรงนานิเวศน์ บอกว่า มีความสนใจในสิ่งที่ใกล้ตัว โดยเฉพาะเรื่องปากท้อง ตั้งแต่คำว่า "ออร์แกนิก" เกิดขึ้นใหม่ๆ จนถึงเรื่องราวของสโลว์ฟู้ด สโลว์ไลฟ์ ตนเคยเขียนบทความในปี 2535 ตอนนั้นยังไม่ได้รับความสนใจจากคนไทยมากนัก จนได้มาเจออาจารย์วิจิตรวิจัยเรื่องการทำนาวงกลม และได้มีโอกาสเรียนรู้การทำกิจกรรมที่บ้านอาจารย์วิจิตร หุงข้าวจากหม้อดิน การทำครัวโดยใช้เตาถ่าน เศษไม้ และชีวิตใกล้กับธรรมชาติ แต่ก็ไม่ปฏิเสธเทคโนโลยีเช่นกัน ใช้ให้เกิดประโยชน์ เกิดนิเวศน์สุนทรีย์กับตนเอง
ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมชมและเวิร์กช็อปในนิทรรศการ คนรักนา มา/หา/นคร ได้ ณ ลานชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (หยุดวันจันทร์) โดยเวลาขึ้นอยู่กับกิจกรรมในแต่ละวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ facebook : นิเวศน์สุนทรีย์
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |