คู่จิ้นนปช.!'เหวง'แชร์โพสต์'ป้าธิดา'แบ่งยุคสมัยการสืบทอดอำนาจทหารไทยเริ่มต้นที่คณะราษฎร


เพิ่มเพื่อน    

26 มี.ค.62 - นพ.เหวง โตจิราการ ได้แชร์โพสต์ ยุคสมัยการสืบทอดอำนาจทหารไทย จากเพจ ธิดา โตจิราการ ซึ่งเขียนโดย ธิดา ถาวรเศรษฐ 

โดยนางธิดา แบ่งยุคสมัยการสืบทอดอำนาจทหารไทย

ยุคที่ 1 
จาก พ.ศ. 2475 เริ่มต้นจากพลเอกพระยาพหล พลพยุหเสนา ผู้ก่อการสายทหารของคณะราษฎรส่งทอดให้จอมพล ป. พิบูลสงคราม แม้จะมีการทำรัฐประหารในปี 2490 แล้วทำให้เกิดรัฐธรรมนูญล้าหลัง นำประเทศสู่อนุรักษ์นิยมจนเป็นเผด็จการทหารเต็มรูปแบบ ส่งต่อมายังการทำรัฐประหารครั้งสำคัญในปี พ.ศ. 2500 ได้จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นเผด็จการทหารสำคัญของประเทศ แล้วก็ส่งต่อมายังจอมพล ถนอม กิตติขจร จนถึงปี พ.ศ. 2516

การสืบทอดเผด็จการทหารจึงสิ้นสุดยุคแรกของการสืบทอดอำนาจของผู้บัญชาการทหารบก แม้จะมีนายกรัฐมนตรีพลเรือนบ้างก็เป็นเวลาสั้น ๆ แต่อำนาจการปกครองยังอยู่ในมือทหารเป็นลำดับมา นับเวลาได้ประมาณ 40 ปี

ยุคที่ 2
เริ่มจากการทำรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519 โดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุด แต่อำนาจยังอยู่ที่กองทัพบก มีพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ สืบทอดอำนาจจาก 2519 ถึง 2531 นับเป็นเวลาประมาณ 12 ปี ที่เปลี่ยนจากเผด็จการทหารเต็มรูปแบบมาเป็นการสืบทอดอำนาจในฐานะนายกรัฐมนตรีทหารที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เรียกกันว่าประชาธิปไตยครึ่งใบ

ยุคที่ 3
เป็นยุคสั้น ๆ มีการทำรัฐประหารในปี พ.ศ. 2534 แต่ผู้ทำรัฐประหารไม่เป็นนายกรัฐมนตรีเอง อย่างไรก็ตามหลังการได้รัฐธรรมนูญของคณะรัฐประหารฉบับปี 2534 เมื่อมีความพยายามจะสืบทอดอำนาจแบบเดิม ก็ถูกประชาชนเดินขบวนขับไล่จนเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญก้าวหน้าในปี 2540 เพื่อเข้าสู่ประชาธิปไตยเต็มใบ ไม่มีนายกฯ ทหาร ไม่มี ส.ว.แต่งตั้ง เป็นระบอบประชาธิปไตยเกือบเต็มใบที่ยังมีอำนาจรัฐอนุรักษ์นิยมและทหารอำนาจนิยมซ้อนทับอยู่.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"