ในยุคที่มีการดิสรัปชั่นในหลายวงการ ธุรกิจและองค์กรต่างๆ จำเป็นต้องรับมือกับนวัตกรรมที่เกิดขึ้นต่อจึงจะนำพาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ โดยงานวิจัยชิ้นใหม่ของเอคเซนเชอร์ ระบุว่าวัฒนธรรมแห่งความเสมอภาคในสถานที่ทำงาน เป็นปัจจัยเร่งอันทรงพลังที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมและสร้างการเติบโตให้แก่องค์กร ขณะเดียวกัน ยังสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การดึงพลังวัฒนธรรมของที่ทำงานออกมาใช้ให้ได้ จะเป็นหัวใจของการเปิดศักยภาพ ขับเคลื่อนนวัตกรรมให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กรอีกด้วย
นนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการ เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย กล่าวว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่ทั่วโลกยอมรับถึงความสำคัญของการมีนวัตกรรมต่อเนื่อง โดยคิดเป็น 95% มองว่านวัตกรรมมีความสำคัญต่อการสร้างความสามารถในการแข่งขันและความอยู่รอดของธุรกิจ และวัฒนธรรมแห่งความเสมอภาค จะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนแนวคิดด้านนวัตกรรมได้อย่างทรงพลัง เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งกว่าปัจจัยอื่นใดที่ทำให้องค์กรต่างกันไป เช่น ด้วยลักษณะอุตสาหกรรม ประเทศ หรือลักษณะของกำลังแรงงาน จากการสำรวจกับกลุ่มคนทุกเพศ เพศสภาพ อายุ และเชื้อชาติ พบว่าผู้ที่มีแนวคิดเชิงส่งเสริมนวัตกรรมจะมาจากที่ทำงานที่มีวัฒนธรรมเสมอภาคกันมากกว่า
ทั้งนี้ งานวิจัยใหม่ของเอคเซนเชอร์ได้ข้อมูลจากการสำรวจผู้ที่อยู่ในสาขาอาชีพต่างๆ กว่า 18,000 คนใน 27 ประเทศ ซึ่งรวมถึง 1,400 คนในสหรัฐอเมริกา การสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารในระดับสูงอีกกว่า 150 คนใน 8 ประเทศ รวมถึงใช้โมเดลที่รวมเอาผลสำรวจจากพนักงานกับข้อมูลด้านแรงงานที่เปิดเผยมาประมวลสภาพแวดล้อมที่เปิดโอกาสเป็นปัจจัยสนับสนุนวัฒนธรรมความเสมอภาคที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาแนวคิดด้านนวัตกรรม ซึ่งเป็นแนวคิดที่ประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 ด้าน คือจุดมุ่งหมาย, ความเป็นอิสระ, ทรัพยากร, แรงบันดาลใจ, การร่วมมือ แลtการทดลอง
หากสภาพแวดล้อมในที่ทำงานเปิดโอกาสให้แสดงความสามารถมาก ก็จะได้คะแนนแนวคิดเชิงนวัตกรรมมากขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น พนักงานสหรัฐ จากที่ทำงานที่มีวัฒนธรรมเสมอภาคกันอย่างเข้มข้น มีแนวโน้มจะยอมรับว่า ไม่มีสิ่งใดมาหยุดยั้งไม่ให้พวกเขาสร้างนวัตกรรมมากกว่าที่อื่นถึง 7 เท่า หรือคิดเป็น 44% ในกลุ่มที่มีวัฒนธรรมเสมอภาคกันมากที่สุด เปรียบเทียบกับ 6% ในกลุ่มที่มีวัฒนธรรมเสมอภาคกันน้อยที่สุด
แต่ที่สำคัญคือองค์กรจะต้องปิดช่องว่างสำคัญที่งานวิจัยนี้ ค้นพบว่าเกิดขึ้นระหว่างผู้บริหารระดับสูง และพนักงานขณะที่ 76% ของผู้บริหารระดับสูงทั่วโลกกล่าวว่า ได้เปิดโอกาสให้พนักงานได้สร้างนวัตกรรมแล้ว แต่กลับมีพนักงานเพียง 42% ที่เห็นไปในทางเดียวกัน มีตัวอย่างเช่น ผู้บริหารทั้งหลายมักให้ค่ากับรางวัลที่เป็นตัวเงินมากเกินไป และนำมาใช้เป็นแรงจูงใจให้พนักงานสร้างนวัตกรรม ขณะที่กลับให้ค่ากับจุดมุ่งหมายน้อยเกินไป ในที่ทำงานที่มีวัฒนธรรมค่อนข้างเสมอภาคกัน พบว่าปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่สุดต่อการสร้างแนวคิดเชิงนวัตกรรมนั้น จะต้องมีเรื่องการฝึกอบรมทักษะ เวลาการทำงานที่ยืดหยุ่น และการเคารพสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัวเข้ามาด้วย
เพียงแค่ปัจจัยด้านความหลากหลายอย่างเดียว ก็มีอิทธิพลอย่างมากต่อแนวคิดด้านนวัตกรรมแล้ว หากเป็นวัฒนธรรมแห่งความเสมอภาค ก็ยิ่งเป็นตัวแปรสำคัญ ที่จะส่งผลทวีคูณช่วยให้บริษัทพัฒนานวัตกรรมได้เต็มที่ งานวิจัยนี้พบว่าแนวคิดด้านนวัตกรรมของพนักงานในสหรัฐนั้น จะเพิ่มขึ้นถึง 8 เท่า ถ้ารวมปัจจัยด้านความหลากหลายและวัฒนธรรมแห่งความเสมอภาคเข้าด้วยกัน โดยเทียบกับบริษัทที่ไม่ค่อยมีปัจจัยสองด้านนี้
งานวิจัยยังพบว่าแนวความคิดด้านนวัตกรรมในเศรษฐกิจที่โต เร็วหรือผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้นเร็ว จะแข็งแกร่งหรือเข้มข้นกว่าประเทศอื่น จึงมีโอกาสที่ดีอีกมหาศาล เอคเซนเชอร์คำนวณว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมหรือจีดีพีในประเทศต่างๆ ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นไปถึงระดับมากกว่า 8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐใน 10 ปีข้างหน้า ถ้าทุกประเทศมีแนวคิดด้านนวัตกรรมเพิ่มขึ้นอีก 10%
การเร่งให้เกิดความเสมอภาคในที่ทำงานเพื่อผลักดันนวัตกรรม เป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดแล้วในยุคนี้ ถ้าคนเรามีความรู้สึกร่วม มีความเป็นเจ้าของ และได้รับการเอาใจใส่จากนายจ้างตามความทุ่มเทอุตสาหะ ทัศนคติ และเงื่อนไขแวดล้อมต่างๆ ก็จะมีโอกาสพัฒนา เดินหน้า และกล้าใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวัตกรรมนั่นเอง.
รุ่งนภา สารพิน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |