26 มี.ค. 2562 นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า กรมได้ทำการจัดทำบทวิเคราะห์ธุรกิจร้านอาหารประจำเดือนก.พ. 2562 พบว่าการจัดตั้งธุรกิจร้านอาหารในปี 2561 มีจำนวน 2,197 ราย เพิ่มขึ้น9.52% เมื่อเทียบกับปี 2560 ในส่วนของมูลค่าทุนจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในปี 2561 มูลค่า 6,794 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50.54% เมื่อเทียบกับปี 2560
ทั้งนี้ ในปี 2561 ธุรกิจร้านอาหารมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น สอดคล้องกับการเติบโตของการท่องเที่ยว ซึ่งพบว่า มูลค่าการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติใช้ไปกับอาหารและเครื่องดื่มสูงเป็นลำดับที่ 3 รองจากที่พักและคมนาคมขนส่ง ประกอบกับการขยายตัวของธุรกิจร้านอาหารที่มีจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ อีกทั้งนโยบายของการท่องเที่ยวที่สนับสนุนการท่องเที่ยวเมืองรอง จัดโปรโมท 20 เส้นทางอาหารถิ่น ดึงกลุุ่มนักท่องเที่ยวเข้าเมืองรอง
ปัจจุบัน มีร้านอาหารที่ดำเนินกิจการอยู่ (ณ 28 ก.พ. 2562) จำนวน 1.44 หมื่นราย คิดเป็น 1.98% ของธุรกิจที่ดำเนินกิจการอยู่น มูลค่าทุน 9.91 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 0.59% ของธุรกิจที่ดำเนินกิจการอยู่ โดยธุรกิจส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบบริษัทจำกัด 1.24 หมื่นราย คิดเป็นสัดส่วน 86.63% มีมูลค่าทุน 9.21 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 92.92% และธุรกิจนี้มีมูลค่าทุนไม่เกิน 5 ล้านบาทสูงถึง 82.39% ส่วนการเพิ่มทุนของธุรกิจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องใน ซึ่งในปี 2561 มีการเพิ่มทุน 1.08 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 116.43% เมื่อเทียบกับปี 2560
อย่างไรก็ตาม เมื่อแยกพื้นที่การจัดตั้งธุรกิจร้านอาหาร พบว่าพื้นที่กรุงเทพฯมีการจัดตั้งสูงสุดคิดเป็น 41.87% มีมูลค่าทุน 69.84% รองลงมาคือภาคใต้ คิดเป็น 20.99% เมื่อพิจารณารายจังหวัด พบว่าจังหวัดที่ประกอบธุรกิจร้านอาหารสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และเชียงใหม่ ซึ่งแต่ละจังหวัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ โดยในส่วนพื้นที่กรุงเทพฯนั้น นอกจากจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติแล้ว ยังเป็นชุมชนเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่จำนวนมาก ต้องการความสะดวกรวดเร็วทำให้มีการใช้บริการร้านอาหารเป็นจำนวนมาก
ด้านการลงทุนของต่างชาติในนามนิติบุคคลไทยที่ประกอบธุรกิจร้านอาหาร ณ 28 ก.พ. 2562 มีมูลค่าการลงทุน 1.19 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 12.04% ของการลงทุนในธุรกิจนี้ โดยสัญชาติที่ลงทุนในธุรกิจสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น มูลค่า 1,461.35 ล้านบาท คิดเป็น 12.24% สหรัฐ มูลค่า 994.81 ล้านบาท คิดเป็น 8.33% และฝรั่งเศส มูลค่า 954.02 ล้านบาท คิดเป็น 7.99% ซึ่งการที่ต่างชาติยังทยอยกันเข้ามาลงทุนเปิดกิจการในเมืองไทย แสดงให้เห็นว่าตลาดร้านอาหารยังมีอนาคตที่ดี โดยอาหารญี่ปุ่นก็เป็นที่นิยมในปัจจุบัน และคาดว่าจะขยายตัวต่อไปได้ ขณะเดียวกันนักลงทุนไทยยังคงต้องปรับตัวทั้งรสชาติและบริการ เพื่อรับกับการบุกตลาดของเครือข่ายร้านอาหารชื่อดังจากต่างประเทศ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |