ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ ก็เริ่มพอจะเดาได้ว่า รัฐบาลชุดใหม่จะเป็นใคร เพราะดูแล้วพรรคเพื่อไทยแม้จะได้เก้าอี้ ส.ส.มากกว่า คู่แข่งอย่างพลังประชารัฐ และก็ประกาศเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลแล้ว แต่ดูเหมือนการรวมเสียงจะทำได้ยากกว่ามาก แถมยังต้องลุ้นหา 375 เสียงในการโหวตนายกรัฐมนตรีอีก
แต่อย่างไรก็ดีสิ่งที่คนกังขาและสงสัยมาก คือ เรื่องการนับคะแนนของ กกต. ที่มีตัวเลขไม่ตรงกับจำนวนกับผู้ใช้สิทธิ ซึ่งหากทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ไม่สามารถชี้แจงรายละเอียดที่ชัดเจนได้ เกรงเหลือเกินว่า มันอาจจะเป็นปัญหาที่บานปลาย ซึ่งหากประชาชนไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งในครั้งนี้ เกรงว่ามันจะพาประเทศไปสู่วิกฤติใหม่ๆ ได้อีก
ซึ่งเรื่องแบบนี้จะกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจในภาครวมอย่างแน่นอน เอาเฉพาะหน้าแค่เรื่องการรับรอง ส.ส. ยังไม่ต้องไปถึงการตั้งรัฐบาล ซึ่งประเมินแล้ว มีเสียงที่ก้ำกึ่งมาก ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นอุปสรรคต่อการบริหารประเทศอยู่แล้ว เพราะมันส่งผลต่อเสถียรภาพในการบริหารประเทศของรัฐบาล
ล่าสุดเว็บไซต์สำนักข่าวบลูมเบิร์กในสหรัฐรายงานบทวิเคราะห์ว่า สถานการณ์การเมืองไทยจะเกิดความแตกแยกกันจนส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบรัฐสภา นำไปสู่ความขัดแย้งกันเหมือนเมื่อครั้งในอดีต ทั้งนี้ ความไม่แน่นอนในทางการเมืองของไทยข้างต้น ก็จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทยโดยตรง โดยเฉพาะการส่งออกและการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นภาคธุรกิจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย
พร้อมกันนี้ การที่คะแนนเสียงสองฝ่ายนั้นใกล้เคียงกัน ก็สะท้อนในตลาดหุ้นชัดเจน โดยภาวะหุ้นเปิดตลาดในวันที่ 25 มี.ค. พบว่าดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลดลงกว่า 10 จุด โดยเปิดตลาดดัชนีสูงสุดอยู่ที่ 1,634.96 จุด ก่อนรูดลงอย่างรวดเร็วไปแตะที่ 1,629.86 จุด หรือลดลง -12.00 จุด
ด้าน นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย ให้สัมภาษณ์ผ่านช่องเนชั่นว่า ผลการเลือกตั้งที่ออกมาถือว่าผิดคาด ประการแรกการเมืองเหลือ 2 ทางเลือกเท่านั้น ไม่อึมครึมเหมือนที่กังวล ประการที่ 2 พรรคพลังประชารัฐ ได้คะแนนดิบมาเป็นอันดับ 1 ซึ่งเป็นปัจจัยสร้างความชอบธรรมให้พรรคพลังประชารัฐสามารถเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลได้ แต่ที่ไม่ดีเท่าไหร่คือคะแนนเสียง 2 ฝั่งที่สูสี ทำให้ไม่มีเสถียรภาพ แม้จะตั้งได้ ตลาดทุนมองว่าไม่มีเสถียรภาพ
“ตั้งรัฐบาลได้หรือไม่ได้ ถ้าพลังประชารัฐเป็นแกนนำตั้ง ข้อดี คือ ไม่ต้องรอ 60 วัน สมาชิกวุฒิสภาโหวตให้ไหม แต่ถ้าเพื่อไทยเป็นแกนนำก็จะลุ้นว่า ส.ว.เลือกให้ไหม”
ส่วนเงินทุนจากต่างประเทศต้องได้รัฐบาลที่มีเสถียรภาพ เกิน 300 ขึ้นไป แต่วันนี้ดูแล้ว 260 อาจจะสร้างความไม่แน่นอนว่ารัฐบาลจะอยู่ได้นานแค่ไหน
“ถ้ารัฐบาลเกิน 300 เสียง ผมเชื่อว่าเข้าแน่นอน และเข้ามากด้วย ถ้าไม่ถึงนี่ ก็ต้องดูนโยบายเศรษฐกิจ”
คะแนนเสียงที่ไม่ชนะการขาดลอยแบบนี้ ชัดเจนว่า กระทบต่อการบริหารประเทศอย่างไม่ต้องสงสัย ยังไม่นับเรื่องความกังขาในการนับคะแนน ซึ่งสองประเด็นนี้จะกลายเป็นปัญหาการเมือง และเมื่อไม่มีสภา ความขัดแย้งทางการเมืองจะกลับมาสู่ท้องถนนอีกครั้ง ซึ่งนี่คือความอันตราย
ประเด็นนี้เองภาคเอกชนอย่างหอการค้าไทย โดยนายกลินท์ สารสิน ประธานฯ ก็ออกมาแสดงความเห็นว่า แม้ใครจะมาเป็นรัฐบาลก็ได้ไม่สำคัญ แต่หลังการเลือกตั้งขอให้สถานการณ์สงบเรียบร้อย เพื่อให้นักลงทุนต่างชาติมั่นใจดำเนินธุรกิจได้ เพราะเท่าที่มีการสอบถามนักลงทุนส่วนใหญ่ต้องการให้เดินหน้าโครงการต่างๆ จากรัฐบาลชุดก่อน เช่น โครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) หรือโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ
เห็นได้ชัดว่า นักลงทุนต้องการความสงบ ฉะนั้นสิ่งที่จะคลี่คลายปมปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ ก็คือความชัดเจนของ กกต. เพื่อการเดินหน้าการจัดตั้งรัฐบาล และนำประเทศไปสู่ความสงบ.
ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |