ประเทศไทยและสาธารณรัฐอิตาลี ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้ไทยและอิตาลีมีความสัมพันธ์แลกเปลี่ยนความรู้ การพัฒนาประเทศโดยเฉพาะทางด้านวัฒนธรรม ได้มีการลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐอิตาลี เมื่อปี 2547 ส่งผลให้เกิดความร่วมมือในโครงการต่างๆมากมาย
หนึ่งในโครงการที่มีความสำคัญกับประเทศไทยอย่างยิ่ง คือ โครงการโบราณคดีพื้นที่ลพบุรี (Lopburi Regional Archaeological Project - LoRAP) ที่ดำเนินการ่วมกับสถาบันอิตาลีเพื่อการศึกษาภูมิภาคตะวันออก ทำให้เกิดการค้นพบและมีความรู้ด้านโบราณคดีเพิ่มขึ้นมากมาย โดยเฉพาะเรื่องโลหะกรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และการแลกเปลี่ยนบริเวณลุ่มแม่น้ำลพบุรี
กำไลเปลือกหอยมือเสือ
ด้วยเหตุนี้กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม จึงได้จัดโครงการสื่อมวลชนสัญจร ลงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลพบุรี และสุพรรณบุรี โดยในพื้นที่จังหวัดลพบุรี มีการจัดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง ความรู้ใหม่จากการศึกษาวิจัยแหล่งโบราณคดีในลุ่มแม่น้ำลพบุรี และ นิทรรศการ150 ปี แห่งความสัมพันธ์ไทย-อิตาลี ที่จะจัดแสดงตั้งแต่วันนี้ – กุมภาพันธ์ 2563 ในโอกาสฉลอง 150 ปี ความสัมพันธ์ไทย-อิตาลี ภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิชาการโบราณคดี “โครงการโบราณคดีพื้นที่ลพบุรี (Lopburi Regional Archaeological Project - LoRAP)” เพื่อเผยแพร่ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ความเป็นมา และความสำคัญของแหล่งโบราณคดี แหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม และการดำเนินงานในภารกิจของกรมศิลปากร โดยหวังให้เกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์ ดูแล รักษา มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ โดยมี มร.ลอเรนโซ กาลานติ (Lorenzo Galanti) เอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย และคุณใหม่-สิริกิติยา เจนเซ่น เข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วย ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์
ภาชนะดินเผาที่ใช้ในพิธีกรรมศพ
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กว่าศตวรรษที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและอิตาลีได้มีความสัมพันธ์เติบโตและงอกงาม ที่ครอบคลุมในเรื่องต่างๆ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ วิทนยาศาสตร์ การศึกษา และโดยเฉพาะด้านวัฒนธรรม ที่ได้ทำการตกลงความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรม ซึ่งมีโครงการแลกเปลี่ยนมากมาย และในโอกาสที่ความสัมพันธ์ด้านการทูตครบวาระ 150 ปี จึงได้เกิดการจัดนิทรรศการในครั้งนี้ขึ้น เพื่อเป็นการเผยแพร่ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น และความรู้ใหม่ทางโบราณคดีให้แก่สาธารณชน
ส่วนจัดแสดงภาชนะดินเผาทั้ง 5 สมัย
นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนงานของทางโบราณคดี ได้มีการลงนามความตกลงโครงการความร่วมมือทางวิชาการโบราณคดีระหว่างกรมศิลปากร และรัฐบาลอิตาลี ที่มุ่งหมายในการศึกษาวิจัยทางโบราณคดีบริเวณลุ่มแม่น้ำลพบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญมีแหล่งโบราณคดีจำนวนมากกระจายอยู่ จึงได้มีการขุดค้นเพื่อศึกษาวิจัย และดูแลรักษาอนุรักษ์ และเพื่อเป็นการให้ความรู้และศึกษาวิจัยในพื้นที่ของนักโบราณคดีทั้งชาวไทยและอิตาลีแก่ประชาชนต่อไป
แผ่นสำริด ในสมัยเหล็ก
โดยภายในนิทรรศการความรู้ใหม่จากการศึกษาวิจัยแหล่งโบราณคดีในลุ่มแม่น้ำลพบุรี ได้มีการจัดแสดงผลการดำเนินงานด้านโบราณคดีตลอดระยะเวลากว่า 90 ปี และผลงานของนักโบราณคดีทั้งของชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมถึงการจัดแสดงโบราณวัตถุที่ได้จากการทำงานโบราณคดีในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำลพบุรี โดยแบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นแรกจะพบกับประวัติความเป็นมาความร่วมมือการทำงานด้านโบราณคดีระหว่างไทยและอิตาลี รวมถึงพื้นที่ในการสำรวจโบราณวัตถุ ส่วนชั้นที่ 2 เป็นการจัดแสดงโบราณวัตถุในสมัยต่างๆ ที่ได้ถูกค้นพบที่มีอายุมากกว่า 1,000 ปี
อุปกรณ์โบราณที่ถูกค้นพบ
ในส่วนของนิทรรศการ150 ปี แห่งความสัมพันธ์ไทย-อิตาลี ที่ได้ให้ความรู้ด้านความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-อิตาลี และประวัติความเป็นมาของชาวอิตาลีที่ได้ทำคุณประโยชน์ในประเทศไทย โดยโบราณวัตถุที่จัดแสดงภายในนิทรรศการนี้ได้มีการจัดเก็บเข้าคลังเพื่อความปลอดภัยไปแล้วนั้น แต่ก็ยังมีป้ายข้อมูลที่ให้ความรู้ อาทิ นายมาริโอ ตามานโญ และนายอันนิบาเล ริกอตติ ผู้ออกแบบ สถานที่สำคัญๆ ได้แก่พระที่นั่งอนันตสมาคม วังปารุสกวัน ทำเนียบรัฐบาล ฯลฯ โครงการความร่วมมือต่างๆ และบทบาทของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ชาวอิตาเลียนที่มีความสำคัญกับวงการศิลปะไทย และอีกมากมาย
ผู้ชมสามารถเล่นเกมส์เลื
นางสาว นันทลักษณ์ คีรีมา ภัณฑารักษ์ชำนาญการ นิทรรศการความรู้ใหม่จากการศึกษาวิจัยแหล่งโบราณคดีในลุ่มแม่น้ำลพบุรี ได้พาเดินชมและเล่าให้ฟังว่า โบราณวัตถุที่ถูกค้นพบในจังหวัดลพบุรี 95% ถูกค้นพบโดยนักโบราณคดีในโครงการโครงการโบราณคดีพื้นที่ลพบุรี ทีมีทีมชาวอิตาลีคือ ดร.โรแบโต เคียอาลาและ Dr.fiorella rispol ร่วมกับนักโบราณคดีชาวไทยด้วย ในส่วนของนิทรรศการนี้จะมีจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนมาชมได้คิด คือเราจะจัดแสดงเศษหมอดินเผาวัตถุโบราณ ซึ่งในสายตาใครหลายคนอาจจะมองว่านี่คือขยะ หรือมองข้ามไป แต่สำหรับนักโบราณคดีนี่คือชิ้นส่วนที่สำคัญที่จะนำไปสู่การศึกษาวิจัย ถึงเรื่องราวในประวัติศาสตร์ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำลพบุรี และเมื่อเดินเข้ามาในโซนด้านในก็จะเห็นถึงประวัติความเป็นมาของการทำงานด้านโบราณคดีระหว่างชาวไทยและชาวอิตาลี อุปกรณ์ในการทำงาน รวมไปถึงได้รู้จักพื้นที่ที่ดำเนินงาน ได้แก่ แหล่งโบราณคดีท่าแค อ.เมือง, เนินดิน-เขาทรายอ่อน อ.เมือง, พุน้อย อ.บ้านหมี่ และโนนป่าหวาย อ.โคกสำโรง
แผนที่ลุ่มแม่น้ำลพบุรี
“ในส่วนของด้านบน ก็จะพบกับวัตถุซึ่งเป็นหม้อดินเผาที่มีสภาพเกือบสมบูรณ์ ซึ่งชิ้นส่วนที่หายไปก็คือชิ้นที่จัดแสดงอยู่ด้านหน้าทางเข้า ซึ่งหม้อใบนี้สันนิฐานว่าใช้ในพิธีกรรมร่วมกับคนตาย ต้องทุบและฝัง เพื่อให้ผู้ตายนำไปใช้ในโลกหน้า ด้านการจัดแสดงโบราณวัตถุในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่แบ่งออกเป็น 5 สมัย ได้แก่สมัยหินใหม่ สมัยสำริด สมัยเหล็ก1 สมัยเหล็ก2 และสมัยเหล็ก3 ที่มีอายุตั้งแต่ 1,400-3,800 ปี ที่พบภาชนะดินเผาที่มีลักษณะเฉพาะ อย่าง ทรงพาน ทรงหม้อก้นกลม ทรงหม้อก้นกลมมีสัน ทรงพานฐานสูง ทรงบาตร เป็นต้น หรืออย่างหลักฐานสำคัญที่ทำให้เชื่อว่าจังหวัดลพบุรีอยู่ใกล้กับทะเล คือ ค้นพบเปลือกหอยมือเสือ และการค้นพบเครื่องในกระบวนการผลิตต่าง ทำให้เกิดความเชื่ออีกว่าที่นี้อาจจะเป็นแหล่งผลิตโลหะขนาดใหญ่ นอกจากนี้โบราณวัตถุที่พบยังสามารถทำให้เชื่อมโยงไปถึงการแลกเปลี่ยนทางการค้า หรือด้านวัฒนธรรมกับต่างชาติอีกด้วย” ภัณฑารักษ์ชำนาญการ กล่าว
อุปกรณ์ของนักโบราณคดี
นางสาว นันทลักษณ์ คีรีมา
อย่างไรก็ตามผู้ที่สนใจชมนิทรรศการความรู้ใหม่จากการศึกษาวิจัยแหล่งโบราณคดีในลุ่มแม่น้ำลพบุรี และ นิทรรศการ150 ปี แห่งความสัมพันธ์ไทย-อิตาลี สามารถเดินทางไปรับชมได้แล้วตั้งแต่วันนี้ – กุมภาพันธ์ 2563 ณ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ จ.ลพบุรี สอบถามโทร 036-411-458
นิทรรศการ150 ปี แห่งความสัมพันธ์ไทย-อิตาลี
รมว. และเอกอัครราชทูตอิตาลี
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |