'หมอธี'ปิดปาก มาร์คตอกครม. ร่วมรับผิดชอบ


เพิ่มเพื่อน    

    “หมอธี” อ้างติดภารกิจที่กระทรวงค่อนข้างมาก ไม่ได้ไปร่วมงาน "อุ่นไอรักฯ" พร้อม ครม. ปัดตอบบีบีซียืนยันขออนุญาตเพื่อบันทึกเทปสัมภาษณ์แล้ว "มาร์ค" ชี้เมื่อ "หมอธี" ตัดสินใจจบแบบไม่ก่อปัญหาให้รัฐบาล ก็ใกล้ถึงจุดที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบร่วมกัน
    เมื่อวันพฤหัสบดี นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่ไม่ได้ไปร่วมชมงาน “อุ่นไอรัก คลายความหนาว” ที่บริเวณพระลานพระราชวังดุสิตและสนามเสือป่า  พร้อมกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าเรื่องนี้ไม่ได้มีอะไร เพียงแต่ตนติดภารกิจและปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่กระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากภาระงานมีค่อนข้างมาก
    เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ทางสำนักข่าวบีบีซีออกมาชี้แจงว่าได้มีการขออนุญาตเพื่อทำการบันทึกเทปในการให้สัมภาษณ์แล้ว นพ.ธีระเกียรติกล่าวว่า เรื่องนี้ตนขอไม่ตอบ
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อ รมว.ศธ.ขอไม่ตอบคำถามเกี่ยวกับสำนักข่าวบีบีซี จากนั้น นพ.ธีระเกียรติก็ได้ลุกขึ้นและเดินออกจากห้องแถลงข่าวทันที
    ทั้งนี้ ภายหลัง นพ.ธีระเกียรติกล่าวกับนักเรียนไทยและนักธุรกิจที่สถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงลอนดอน พาดพิง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กรณีนาฬิกาหรูไม่แจ้งบัญชีทริพย์สิน ว่า วุฒิสมาชิกอังกฤษมาประชุมสายละอายใจก็ขอลาออก แต่รัฐมนตรีไทยถูกกล่าวหานาฬิกา 25 เรือนยังไม่ออก ถ้าผมถูกเปิดโปงเรือนแรกก็ออกแล้ว ทำให้ นพ.ธีระเกียรติได้รับการชื่นชมอย่างกว้างขวาง แต่สุดท้ายกลับกล่าวขอโทษ พล.อ.ประวิตร ระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเรียกเข้าพบที่ทำเนียบรัฐบาล ทำให้สังคมกลับมาวิจารณ์ นพ.ธีระเกียรติ ว่าไร้มาตรฐานเสียเอง กระทั่งไม่ไปร่วมงานอุ่นไอรักฯ ดังกล่าว 
    นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการที่ นพ.ธีระเกียรติแถลงว่าผิดมารยาทที่พูดถึงคนใน ครม. ว่าตัวรัฐมนตรีก็ยืนยันว่าเขาได้พูดจริง ไม่ได้ปฏิเสธ และพูดย้ำว่าทุกคนก็มีความเห็นส่วนตัวได้ เพียงแต่ท่านบอกว่าเมื่อคำนึงถึงการทำงานให้กับนายกฯ แล้วเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ท่านก็เลือกที่จะให้จบแบบนี้ แต่คำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้นาฬิกาที่มีขึ้นมาทั้งหมด เป็นเรื่องของปัญหาวัฒนธรรมทางการเมือง จริยธรรมทางการเมือง ความรับผิดชอบทางการเมือง ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับเรื่องของกฎหมาย และตนก็บอกว่าเหตุหนึ่งที่มีการแยกแยะอย่างนี้ โดยเฉพาะในสากล ก็เพราะพอกระบวนการของกฎหมายต้องใช้เวลา สุดท้ายสิ่งเหล่านี้ก็จะมาบั่นทอนการทำงานต่างๆ ไปเรื่อยๆ และตั้งแต่ต้นเรื่องนี้มา ก็เป็นจริงอย่างที่พูด เพราะข่าวเรื่องนี้ไม่จบเสียที จะมีประเด็นขึ้นมาอย่างนี้แม้กระทั่งในรัฐมนตรีร่วมคณะด้วยกันเอง
    เมื่อถามว่า เป็นการเสียมารยาทอย่างที่ นพ.ธีระเกียรติแถลงหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เจ้าตัวเขาก็ยอมรับแล้ว ซึ่งอยู่ที่ว่าท่านจะตัดสินใจอย่างไร ตอนนี้ท่านตัดสินใจแล้ว ท่านบอกว่าเสียมารยาท แต่ความเห็นท่านก็คงไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรจากที่พูดไป เพียงแต่ว่าบอกว่าไม่ประสงค์ที่จะเลือกอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งเข้าใจว่าคงเกรงว่าอาจจะก่อให้เกิดปัญหากับรัฐบาลโดยรวม เลยเลือกวิธีนี้ และเห็นว่าแต่ละคนก็คงมีความคิด มีมาตรฐานไม่เหมือนกัน พูดง่ายๆ ก็จะมีคำถามตามมาว่า ถ้าคิดอย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ตกลงการแสดงออกหรือการตัดสินใจที่เหมาะสมควรจะเป็นอย่างไร แต่ท่านบอกว่าความเห็นท่านเหมือนเดิม ท่านพูดจริง ซึ่งท่านมองเรื่องการทำงานให้กับนายกฯ สำคัญกว่า นี่คือข้อสรุปของท่าน ซึ่งตนก็บอกไปแล้วว่าเรื่องแบบนี้ถ้าเราพูดถึงในแง่ของมาตรฐาน วัฒนธรรมทางการเมือง ในต่างประเทศที่เป็นสากล ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งไม่เหมือนกัน 
    “แม้คนใน ครม.ไม่กล้าวิจารณ์ แต่พอถึงจุดหนึ่ง ก็หนีไม่พ้น เมื่อตัดสินใจกันแบบนี้ ทุกคนก็ต้องรับผิดชอบร่วมกัน ในที่สุดก็กลายเป็นเรื่องของรัฐบาลทั้งหมด ในสมัยผมเป็นรัฐบาล กรณีคุณวิทยา แก้วภราดัย และคุณวิฑูรย์ นามบุตร ท่านเหล่านั้นถึงใช้คำว่าไม่เป็นภาระกับรัฐบาล เพราะเขารู้ว่าในที่สุดจะกลายเป็นเรื่องของรัฐบาลไปโดยปริยาย ซึ่งวันนี้ผมว่าเกือบจะไปสู่จุดนั้นแล้ว เพราะท่านนายกฯ พูดเองว่า ใครรักท่านก็ต้องรักทุกๆ คนด้วย หมายความว่าต้องรับผิดชอบร่วมกันไป” นายอภิสิทธิ์กล่าว
    ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตสมาชิกวุฒิสภา เตรียมยื่นเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตรวจสอบคุณสมบัติกรณีการถือหุ้นสัมปทานรัฐหรือไม่ของ นพ.ธีระเกียรติ ว่าตนไม่ทราบ เป็นเรื่องที่ กกต.จะเป็นผู้พิจารณาเอง 
    เมื่อถามว่า หากมีการยื่นเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบการถือหุ้นเกิน 5 เปอร์เซ็นต์ของรัฐมนตรี จะสามารถทำได้หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ที่มีการร้องให้ตรวจสอบการถือหุ้นเกิน 5 เปอร์เซ็นต์ของรัฐมนตรีในรัฐบาลนี้ไปแล้ว โดยส่งเรื่องให้ ป.ป.ช.และกกต.พิจารณา ซึ่ง ป.ป.ช.ได้ส่งหนังสือมาถามรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และแจ้งมาที่นายกฯ ให้ตรวจสอบ ส่วนความคืบหน้าเป็นอย่างไรไม่ทราบ อย่างไรก็ตาม ต้องแยกให้ออกระหว่างการถือหุ้นสัมปทานของรัฐ กับการถือหุ้นในบริษัทเอกชนเกิน 5 เปอร์เซ็นต์ ถือเป็นคนละเรื่องกัน  
    นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ให้สัมภาษณ์กรณีที่ นพ.ธีระเกียรติถือหุ้นในบริษัทที่รับสัญญาสัมปทานและเป็นคู่สัญญากับรัฐ โดยถือครองหุ้นของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 5,000 หุ้นว่า รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ไม่ได้ยกเว้นไว้ แต่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้ว่า การถือหุ้นก่อนที่เข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่อยู่ในข่ายต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้น กรณีนี้ตนไม่รู้ข้อเท็จเป็นอย่างไร ถ้าเป็นหุ้นที่มีอยู่เก่าก่อนรับตำแหน่งได้ แต่ถ้าได้มาใหม่ในระหว่างดำรงตำแหน่ง ศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่าไม่ได้ ซึ่งกรณีดังกล่าวก็ต้องไปพิสูจน์กัน ส่วนคนที่จะเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองควรจะขายหุ้นก่อนรับตำแหน่งหรือไม่เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน คิดว่าเรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่ามีหุ้นเท่าไหร่ ถ้ามีอยู่ 2,000 หุ้น ก็คงไม่กระทบ เพราะจำนวนหุ้นไม่ได้มีน้ำหนักอะไร ออกเสียงอะไรก็ไม่ได้ กำไรก็คงได้นิดเดียว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"