สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ จัดอบรม “ทักษะการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม/มีภาวะพึ่งพิง ด้วยการดูแลแบบฮิวแมนนิจูด” มุ่งพัฒนาระบบการบริการสุขภาพผู้สูงอายุและสร้างเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุ
นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ของประเทศไทยเป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการดำเนินนโยบายด้านประชากรและการวางแผนครอบครัวที่ประสบผลสำเร็จ การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ดี ตลอดจนความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ส่งผลให้ประชาชนมีอายุขัยเฉลี่ยที่ยืนยาวขึ้น จำนวนและสัดส่วนของผู้สูงอายุจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การที่โครงสร้างของประชากรไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ก่อให้เกิดปรากฏการณ์การมีจำนวนผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มากกว่าจำนวนเด็ก (อายุต่ำกว่า 15 ปี) เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2561 และคาดว่าในปีพ.ศ.2564 จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์
Aged Society คือมีประชากรผู้สูงอายุสูงถึงร้อยละ 20 อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุไทยสะท้อนให้เห็นถึงการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานต่างๆ เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ เนื่องจากการที่ประชากรมีอายุยืนยาวไม่ได้หมายความว่าจะมีสุขภาพที่ดี การเจ็บป่วยเรื้อรังและมีภาวะทุพพลภาพทำให้ผู้สูงอายุมีแนวโน้มอยู่ในภาวะพึ่งพิงจำนวนเพิ่มมากขึ้น รัฐบาลจึงได้ประกาศให้ “สังคมผู้สูงอายุเป็นระเบียบวาระแห่งชาติ” โดยมี 2 มาตรการหลักคือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนทุกวัย และการยกระดับขีดความสามารถสู่การบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 โดยกระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่รับผิดชอบหลักในเรื่องการจัดระบบสุขภาพเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ กรมการแพทย์จึงเร่งพัฒนาบุคลากรทางสุขภาพเพื่อรองรับการจัดระบบบริการสุขภาพในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมและมีภาวะพึ่งพิง ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
นพ.สกานต์ บุนนาค รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปัจจุบันพบว่าผู้สูงอายุไทยมีภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและสมองเสื่อมเพิ่มมากขึ้น ทำให้อยู่ในภาวะพึ่งพิงมากขึ้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ มีความยากลำบาก ก่อให้เกิดความเครียดในตัวผู้ดูแลและครอบครัว หรือแม้แต่บุคลากรเจ้าหน้าที่ทางสุขภาพที่ให้การดูแลผู้ป่วย เนื่องจากไม่สามารถให้การดูแลที่เหมาะสม อีกทั้งปัญหาพฤติกรรมของผู้ป่วยที่ทำให้เกิดภาระของผู้ดูแล ครอบครัว ผลกระทบที่มีต่อชุมชนหรือเศรษฐกิจ การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นที่ทั้งบุคลากรเจ้าหน้าที่ รวมทั้งครอบครัวหรือผู้ดูแล ต้องอาศัยทักษะและองค์ความรู้เฉพาะที่สามารถรับมือกับอาการทางพฤติกรรมและจิตที่แปรปรวนและความเสื่อมถอยลง ในรูปแบบการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูด (Humanitude)
ฮิวแมนนิจูดเป็นแนวคิดการดูแลที่เน้นบทบาทการดูแลที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านการรู้คิด ด้านความจำ หรือมีความผิดปกติทางพฤติกรรม มีการสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง โดยยึดหลักการดูแลผู้สูงอายุด้วยความเคารพและเข้าใจในความเป็นมนุษย์ ให้การดูแลด้วยความรัก ความเข้าใจ เอาใจใส่ ความอบอุ่น อ่อนโยนและเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สูงอายุ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีเกิดความผาสุกในชีวิต โดยมีหลักการที่สำคัญ 4 องค์ประกอบ คือ 1) การพูด 2) การสบตา 3) การสัมผัส และ 4) การจัดท่าทางแนวตั้งตรง ซึ่งเหมาะสมกับการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมโดยเฉพาะ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |