ร้องเรียนแบบครอบคลุม


เพิ่มเพื่อน    


    การดำเนินงานของภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยที่ส่วนใหญ่ถ้าไม่ได้แยกตัวเข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมตามเขตพื้นที่ต่างๆ ก็จะเข้าไปแทรกซึมอยู่กับสังคมประชาชน เช่น ชุมชน หมู่บ้าน หรือในพื้นที่ที่คนอาศัยอยู่ เพราะโรงงานทั้งหมดต้องพึ่งพาอาศัยคนให้เข้าไปทำงาน จึงจำเป็นต้องเข้าไปตั้งอยู่ในเขตชุมชน 
    แต่ก็ต้องเข้าใจว่า เมื่อเข้าไปอยู่ในจุดนั้นแล้ว ก็จะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย เนื่องจากในเขตชุมชนนั้นไม่ได้รับการตอบแทนจากโรงงานทั้งหมด หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ไม่ใช่ทุกคนในหมู่บ้านหรือชุมชนนั้นๆ จะเข้าไปทำงานให้กับโรงงานดังกล่าว จึงอาจจะทำให้คนบางส่วนที่อยู่ในกลุ่มนี้อาจจะรับไม่ได้หากเกิดปัญหาขึ้นในพื้นที่ที่ตัวเองอาศัยอยู่
    เพราะที่ผ่านมาหากไม่มีโรงงานเข้ามาตั้งในพื้นที่นี้ ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในบริเวณดังกล่าวก็อาจจะดำเนินไปอย่างปกติสุขก็เป็นได้ ไม่จำเป็นต้องทนอยู่กับปัญหาที่อาจจะได้รับมาทั้งน้ำเสีย ฝุ่นควัน หรือเสียงดัง จนรบกวนการเป็นอยู่ของคนในชุมชน เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่โรงงานที่คิดจะเข้าไปตั้งในเขตของชุมชนนั้นจะต้องคำนึงเป็นอันดับต้นๆ ว่าจะอยู่ร่วมกับคนในชุมชนอย่างไรไม่ให้เกิดปัญหา เราจึงเห็นหลายโรงงานนั้นนอกจากจะมีมาตรการดูแลไม่ให้เกิดการร้องเรียนแล้ว ก็จะต้องมีโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่ทำร่วมกับชุมชนด้วย ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนของใช้หรือทุนการศึกษาให้คนในพื้นที่ สนับสนุนด้านกิจกรรมที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ 
    และที่ผ่านมาก็มีเหตุการณ์ต่างๆ ที่ทำให้เห็นว่าเมื่อโรงงานอยู่ร่วมกับประชาชนไม่ได้จะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งผลร้ายแรงที่สุดที่เคยมีมาคือ การสั่งปิดโรงงานนั้นๆ รวมถึงชดเชยค่าเสียหายให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จึงทำให้หลายโรงงานหรือบริษัทต่างๆ ไม่อยากให้เรื่องนี้มาเป็นประเด็นที่จะส่งผลให้ตัวเองต้องปิดโรงงานไป จึงพยายามทำตามข้อกำหนดมาตลอด แต่ก็มีบางแห่งที่ไม่สนใจและไม่ใส่ใจกับการเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชน และยังดำเนินงานที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ 
    แต่แทนที่จะให้หน่วยงานที่ดูแลออกตรวจสอบตลอดเวลา และทุกโรงงานในประเทศไทยนั้นก็อาจจะมีการตกหล่นและไม่ทั่วถึงได้ จะมอบสิทธิ์ให้กับประชาชนที่อยู่ในชุมชนสามารถร้องเรียนเรื่องต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบมายังกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) หรือกระทรวงอุตสาหกรรมเองเลย เพื่อที่จะเข้าไปตรวจสอบได้ตรงจุด ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการร้องเรียนในเรื่องต่างๆ เข้ามาตลอดทั้งปี แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ได้ เพราะระบบเดิมที่ทำอยู่เป็นการแจ้งร้องเรียนผ่านหนังสือชี้แจง การโทร.ร้องเรียน หรือเข้าไปร้องเรียนในหน่วยงานย่อยของกระทรวง
    ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาระบบ และบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานระดับกรม รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด เพื่อให้การบริหารจัดการข้อมูลข่าวสาร การจัดการเรื่องร้องเรียนเป็นไปอย่างเป็นระบบ ภายใต้ชื่อแอปพลิเคชัน “I-Dee (Industry-Dee)” ที่สามารถแสดงผลและใช้งานผ่านเครือข่ายระบบโทรศัพท์มือถือทั้งระบบแอนดรอยด์ และระบบไอโอเอส รวมทั้งสามารถใช้งานผ่านทางระบบเว็บไซต์ โดยที่ข้อมูลเรื่องร้องเรียนทั้งหมดจะเชื่อมโยงและสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างศูนย์ปฏิบัติการกระทรวง กับศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรีได้อีกด้วย
    โดยสุรพล ชามาตย์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การดำเนินการแจ้งเรื่องร้องเรียน สามารถดำเนินการได้ 3 ช่องทาง คือ 1.การโหลดแอปพลิเคชัน I-Dee (Industry-Dee) ซึ่งจะมีการให้บริการทั้งระบบโทรศัพท์มือถือ 2.การรับเรื่องร้องเรียนผ่านทาง https://i-dee.industry.go.th และ 3.การเข้าไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ในสำนักงานอุตสาหกรรม ทั้ง 76 จังหวัด หรือการเดินไปติดต่อด้วยตนเอง หรือการส่งจดหมาย โทรศัพท์ และแจ้งผ่านทางอีเมล และโซเชียลมีเดีย ของกระทรวงอุตสาหกรรม 
    เมื่อเจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนแล้วจะทำการบันทึกข้อมูล และตรวจสอบเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวง จากนั้นก็จะส่งต่อข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่หากเป็นกรณีที่ไม่เกี่ยวข้องกับกระทรวงอุตสาหกรรม ก็จะส่งเรื่องต่อไปยังสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เพื่อให้ตรวจสอบและดำเนินการ ทั้งนี้ ในทุกขั้นตอนของการดำเนินการ ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่า การดำเนินการอยู่ในขั้นตอนใด และหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบ
    มีช่องทางมากมายขนาดนี้ก็ต้องยอมรับว่าครอบคลุมและให้ประโยชน์กับประชาชนอย่างมาก รวมทั้งยังเชื่อได้ว่าการดำเนินงานของโรงงานในชุมชนทั้งหลายจะเริ่มมีความเป็นระบบระเบียบมากขึ้น เพื่อไม่ให้กระทบกับการอยู่ร่วมกันของประชาชนในพื้นที่.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"