ถือเป็นประเด็น "ทอล์กออฟเดอะทาวน์" อย่างกว้างขว้างหลังจากหัวเรือใหญ่อย่าง "อาคม เติมพิทยไพสิฐ" รมว.คมนาคม เรียกบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ถึงประเด็นการเปิดประมูลสัมปทานพื้นที่เชิงพาณิชย์ และพื้นที่จำหน่ายสินค้าปลอดอากร (ดิวตี้ฟรี) พร้อมได้กำชับให้ ทอท.สร้างความชัดเจนทั้งข้อกฎหมายและรูปแบบดำเนินการโครงการดังกล่าว ขอให้ ทอท.ชะลอการออกประกาศเชิญชวนออกไปก่อน
ขณะเดียวกัน ก็ให้เร่งหารือกับคณะกรรมการ (บอร์ด) ทบทวนรูปแบบใหม่ ให้นำข้อห่วงใยของทุกฝ่ายเข้าไปพิจารณาอย่างรอบคอบ นอกจากนี้ขอให้ ทอท.ไปหารือกับกระทรวงการคลังอย่างเป็นทางการ เพื่อศึกษาว่าโครงการเข้าข่ายพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ร่วมทุนปี 2562 หรือไม่ โดยกระทรวงในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล ขอให้ ทอท.หารือกับกระทรวงการคลังอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะการเอาโครงการเข้า พ.ร.บ.ร่วมทุนฉบับใหม่ จะต้องปฏิบัติอย่างไร
ทั้งนี้ หากไม่เข้าข่ายตามกฎหมาย ก็จะต้องทำตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่สั่งการให้กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคิดกลไกกลาง เพื่อที่จะทำให้โครงการที่ไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุนปี 2562 สามารถประมูลอย่างโปร่งใสได้ ส่วนนี้ ทอท.อาจจะต้องกลับไปหารือว่าควรจะทำอย่างไร หากลไกกลางเข้ามาสร้างความเชื่อมั่น
เรื่องนี้ร้อนถึง นิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ที่ต้องออกมาแถลงข่าวว่าขณะนี้ ทอท.ได้ตัดสินใจเลื่อนการขายซองประกวดราคาดิวตี้ฟรี 4 สนามบิน (สุวรรณภูมิ ภูเก็ต เชียงใหม่ หาดใหญ่) ในวันที่ 19 มี.ค.นี้ ออกไปก่อน เนื่องจากกระแสสังคมที่อาจจะยังตั้งข้อสงสัยในเรื่องนี้อยู่ ทอท.ก็จะทำความเข้าใจต่อสังคม
พร้อมระบุอย่างชัดเจนว่า หากไม่มีเหตุผลมาเป็นข้อโต้แย้ง มาหักล้าง ก็จะพิจารณาการขายซองใหม่อีกครั้งหนึ่ง คาดว่าไม่น่าจะนาน หรือในราว 1-2 สัปดาห์ น่าจะพิจารณากรอบเวลาที่จะเดินหน้ากำหนดวันขายซองใหม่ได้ เพราะที่ผ่านมา ทอท.ยืนยันว่า ได้ดำเนินการอย่างถูกต้องครบกระบวนการตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ แล้ว
และยังย้ำอีกว่า การออกทีโออาร์ก่อนหน้านี้ได้พิจารณาแล้วว่า โครงการดังกล่าวไม่ได้เข้าข่ายที่จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 (กฎหมายพีพีพี) เนื่องจากในมาตรา 7 แม้ท่าอากาศยานและการขนส่งทางอากาศจะเป็นหนึ่งในหน่วยงานเจ้าของโครงการที่จัดทำโครงการร่วมลงทุนในกิจการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะ รวมถึงกิจการเกี่ยวเนื่องที่จำเป็น
ดังนั้น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจการดังกล่าว ซึ่ง ทอท.พิจารณาแล้ว จึงเห็นว่าการเปิดสัมปทานดิวตี้ฟรีและพื้นที่เชิงพาณิชย์ในสนามบินไม่ใช่กิจการเกี่ยวเนื่องที่จำเป็นต่อการประกอบการท่าอากาศยานถึงขั้นถ้าไม่มีแล้วจะไม่สามารถให้บริการสนามบินได้ จึงมองว่าไม่เข้าข่ายต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว ทำให้เราตัดสินใจเดินหน้าเปิดสัมปทานไปก่อนหน้านี้
และยังยืนยันด้วยว่า “ที่ผ่านมา ทอท.ได้พิจารณากระแสสังคมมาโดยตลอด ไม่ได้นิ่งเฉย โดยเฉพาะประเด็นการผูกขาดดิวตี้ฟรีก็ไม่มีแล้ว เพราะ ทอท.จะมีการเปิดประมูล "ปิกอัพเคาน์เตอร์" (pick up counter) ที่สนามบินสุวรรณภูมิภายในปีนี้ ก็จะทำให้ผู้ประกอบการดิวตี้ฟรีในเมืองมาส่งสินค้าในสนามบินได้”
และจากการให้สัมภาษณ์ของผู้บริหาร ของ ทอท.กล่าวว่า ซึ่งจากผลการศึกษาของที่ปรึกษา ชี้ชัดว่าการรวมสัญญาของโครงการจำหน่ายสินค้าปลอดอากรทั้ง 4 ท่าอากาศยาน จะทำให้ผู้ชนะการประมูลมีอำนาจต่อรองกับผู้แทนจำหน่าย (Supplier) ของสินค้า (Brand Name) ชั้นนำได้มาก ซึ่งธุรกิจร้านค้าปลอดอากรเป็นธุรกิจที่ต้องแข่งขันกับผู้ประกอบการอื่นในระดับโลก การจะทำให้ท่าอากาศยานภูมิภาคมีสินค้า Brand Name ให้บริการผู้โดยสารเหมือนที่ให้บริการในท่าอากาศยานใหญ่
ที่สุดแล้ว ทอท.จำเป็นต้องคัดเลือกให้ได้ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพมากที่สุดเพื่อให้สามารถแข่งขันในระดับโลกได้ หากท่าอากาศยานของไทยไม่สามารถแข่งขันได้ จะส่งผลเสียต่อประเทศชาติโดยรวมต่อไป ก็ต้องมาลุ้นกันว่าท้ายที่สุดจะได้ข้อสรุปภายในเวลาที่กำหนดหรือไม่ หรือจะต้องยืดเยื้อจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่มาชี้ช่อง เรื่องนี้คงต้องตามกันต่อ.
กัลยา ยืนยง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |