ผมได้พูดคุยกับคุณวีรชัย พลาศรัย ท่านเอกอัครราชทูตไทยประจำวอชิงตันก่อนที่ท่านถึงแก่กรรมเพียง 16 วันว่าด้วยการเตรียมการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรสำหรับคนไทยและบทบาทหน้าที่ของท่านที่สหรัฐอเมริกา
คิดไม่ถึงเลยว่านั่นเป็นบทสัมภาษณ์สุดท้ายกับท่าน เพราะน้ำเสียงลีลาและจังหวะของท่านยังเข้มแข็งชัดเจนและมีพลังอย่างยิ่ง
ท่านกับผมยังหัวเราะกันอยู่หลายจังหวะระหว่างการพูดคุยกันเรื่องการเตรียมตัวการเลือกตั้งสำหรับคนไทยที่นั่นด้วยซ้ำ
ผมขอนำเอาบางตอนของบทสนทนาวันนั้นมาให้ได้อ่านกันครับ
สุทธิชัย : ท่านทูตวีรชัยครับ คนไทยในอเมริกาสนใจการเลือกตั้งครั้งนี้มากน้อยเพียงใดครับ
ทูตวีรชัย : ช่วงที่เรารณรงค์มาเดือนหนึ่งก็พบว่าคนไทยในสหรัฐมีความกระตือรือร้นมากเลยครับ
มีทั้งวัยนักศึกษา คนรุ่นใหม่ ที่ตื่นเต้นเพราะไม่เคยลงคะแนนเสียงมาก่อน และมีทั้งคนที่เคยลงคะแนนมาแล้ว เป็นรุ่นผู้ใหญ่ ซึ่งก็คึกคักมากครับ
สุทธิชัย : ทางสถานทูตมีวิธีการรณรงค์อย่างไรครับ
ทูตวีรชัย : เรามีอยู่ 4 แห่ง ที่วอชิงตันนี่ก็หนึ่ง ที่ลอสcองเจลิส ที่ชิคาโกและนิวยอร์ก เราส่งข่าวไปตามจุดต่างๆ ที่มีชุมชนไทย, วัดไทย, ร้านอาหารไทย และเราใช้เว็บไซต์ ใช้ Facebook ทำการประชาสัมพันธ์ตั้งแต่กฎหมายอนุญาตให้เราทำได้
สิ่งที่เราเน้นคือ ครั้งนี้เหมือนเป็นการล้างไพ่ ทุกคนต้องลงทะเบียนใหม่หมด เราจึงจัดตั้งศูนย์ให้คนไทยมาสำหรับคนที่เหมือนผมคือเล่นคอมพิวเตอร์ไม่ค่อยเก่ง ก็ให้มาลงทะเบียนด้วยตัวเองเช่นที่วัดไทย ครั้งสุดท้ายจัดที่วัดไทยดีซีก็มากัน 500 กว่าคน เจ้าหน้าที่ก็จะช่วยชี้แนะ ทำไปด้วยกัน หลักฐานก็ใช้หนังสือเดินทางและบัตรประชาชนหรืออย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ในที่สุดก็เรียบร้อยสำหรับทุกท่านที่ประสงค์จะลงทะเบียนเลือกตั้งครับ
สุทธิชัย : ตัวเลขของคนที่มาลงทะเบียนขอใช้สิทธิ์เลือกตั้งกับจำนวนคนไทยที่มีอยู่ในอเมริกาจริงคงจะต่างกันเยอะใช่ไหมครับ?
ทูตวีรชัย : จากการประเมินของเรา เราคิดว่ามีคนไทยในอเมริกาใกล้ๆ 500,000 คน แต่ในจำนวนนี้ที่มาติดต่อกับเราก็น้อยมาก ด้วยเหตุผลหลายๆ ประการ บางท่านก็อาจมีปัญหาในเรื่องการอยู่ในประเทศอะไรต่างๆ อย่างนี้ครับ แต่เรื่องนี้เราไม่ถือเป็นประเด็นอยู่แล้ว เพราะถ้าเป็นคนไทยเราก็ต้องดูแลอะไรกันไปในทุกๆ ด้านเท่าที่ทำได้ ตราบเท่าที่อยู่ในกรอบของกฎหมายของไทยและสหรัฐกับกฎหมายระหว่างประเทศ
แต่เมื่อดูจำนวนผู้มาลงทะเบียนขอเลือกตั้งเพียง 15,000 ก็นิดเดียว ซึ่งก็คงต้องรณรงค์กันในครั้งต่อๆ ไป
มีคนถามว่าคนไทยอยู่ในฐานะผิดกฎหมายจะมาลงทะเบียนได้หรือไม่ ผมบอกว่าได้ เพราะว่ามันไม่เกี่ยวกับการใช้สิทธิ์ตามกฎหมายไทย ผมก็ไม่ถามอยู่แล้ว ผมดูแล้วท่านเป็นคนไทยก็จบ ไม่ต้องห่วง
บางคนที่ผมเคยคุยด้วยก็บอกว่าไม่อยากมายุ่ง คนไทยบางคนก็คิดแบบนั้นนะครับ
สุทธิชัย : ทางสถานทูตมีวิธีการให้คนไทยที่นั่นได้รับรู้ถึงนโยบายหาเสียงของพรรคต่างๆ ในเมืองไทยอย่างไรบ้างครับ
ทูตวีรชัย : ข้อหนึ่ง ตามกฎหมาย เราจะต้องพิมพ์ชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหมด ซึ่งผมต้องเซ็นกำกับทุกหน้า เยอะมากเลยครับ มีจำนวนมหาศาล นี่ผมก็กำลังนั่งเซ็นอยู่นี่
ขณะเดียวกันเราก็ให้คำแนะนำว่าให้ไปดูเว็บไซต์ของคณะกรรมการเลือกตั้ง โดยเราอำนวยความสะดวก ใครที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ที่บ้านหรือใช้ไม่เก่งก็มาที่สถานทูต เราก็นั่งเปิดให้ดูกัน
สุทธิชัย : เลือกตั้งครั้งนี้มีกติกาใหม่ที่ทำให้คนไทยที่อยู่ต่างประเทศต้องศึกษามากหน่อย ผู้สมัครของพรรคแต่ละเขตเบอร์ก็ไม่เหมือนกัน และต้องรู้ว่าการกาคะแนนครั้งนี้เป็นการกาครั้งเดียว แต่มีผลต่อทั้งการเลือก ส.ส.เขตและบัญชีรายชื่อด้วย
ทูตวีรชัย : ครับ เราอธิบายครับ เราใช้วิธีลงคะแนนทางไปรษณีย์ หมายความว่าทุกท่านที่ลงทะเบียนแล้ว สบายใจได้ เราจะส่งบัตรเลือกตั้งไปให้ที่บ้านตามที่อยู่ ในนั้นจะมีเอกสารมากมาย และหนึ่งในเอกสารจะอธิบายว่าอะไรเป็นอะไร เลือกอย่างไร กาอย่างไร แต่ไม่ได้บอกให้เลือกใครนะครับ (หัวเราะ)
ผมจะทำหน้าที่ให้รอบคอบและดีที่สุดครับ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |