(ศ.นพ.ชัยรัตน์ นิรันตรัตน์)
“โรคเกี่ยวกับระบบคอและหู” ถือว่าเป็นปัญหาสุขภาพของผู้สูงวัย โดยเฉพาะโรคหวัดแดดที่พบได้ในช่วงหน้าร้อน หรือแม้ภาวะไม่ได้ยินในผู้สูงวัย หรืออาการหูตึง ที่เกิดจากสาเหตุของความเสื่อมในร่างกาย รวมไปถึงการละเลยดูแลสุขภาพ อย่างการที่ปล่อยให้น้ำหนักตัวเพิ่ม ก็มีส่วนในการกระตุ้นโรคดังกล่าวเช่นกัน ศ.นพ.ชัยรัตน์ นิรันตรัตน์ จากราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย ให้คำแนะนำในการป้องกันโรคของคนสูงวัยที่เกิดได้กับทั้ง 2 ระบบไว้น่าสนใจ
(โรคที่พบได้บริเวณทางเดินหายใจและลำคอในผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคหวัดแดด ซึ่งเกิดจากการอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อน และเข้าไปสู่ในพื้นที่ซึ่งมีแอร์หรืออากาศเย็นแบบทันทีทันใด)
คุณหมอให้ข้อมูลว่า “โรคที่สามารถเกิดขึ้นได้บริเวณ “คอ” และ “ทางเดินหายใจ” คือ “โรคหวัดแดด” ซึ่งสาเหตุหลักๆ นั้นมาจากการได้รับแสงแดดเยอะ และการสูญเสียน้ำ หรือบางทีผู้สูงอายุก็เข้าไปในที่เย็น หรือมีเครื่องทำความเย็นโดยแบบฉับพลัน หมายความว่าเดินอยู่ท่ามกลางแสงแดดจ้าและรีบเข้าไปในห้องแอร์ทันที ทำให้ปรับตัวไม่ทัน ประกอบกับช่วงเวลากลางคืนก็มักจะนอนในที่เย็นๆ ไม่ได้มีการสวมถุงมือถุงเท้านอนเข้านอนก็จะทำให้เป็นได้ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถปรับตัวให้ทันกับสภาพอากาศหนาวๆ ร้อนๆ ได้ การป้องกันหวัดที่ดีที่สุดก็คล้ายๆ กัน เช่น ต้องนอนให้ได้ 6-7 ชั่วโมง กินน้ำให้พอ 6-8 แก้ว เวลาที่อยู่ในที่มีแสงแดดจัดต้องใส่หมวกและถือร่ม หรือยืนที่มีต้นไม้ร่มรื่น หมั่นจิบน้ำเปล่าบ่อยๆ และอย่าเข้าไปในที่เย็นๆ เร็วเกินไปหากว่าก่อนหน้านั้นได้ทำภารกิจอยู่ในที่มีแสงแดดจัด
(ผู้สูงอายุมีปัญหาหูตึง หรือการได้ยินเสียงที่ลดน้อยลง ลูกหลานควรสื่อสารด้วยความเข้าใจ เช่น การพูดเสียงดัง หรือสื่อสารโดยการให้ผู้สูงอายุเห็นหน้าและอ่านปาก)
ส่วนโรคที่ผู้สูงอายุมักพบได้บ่อยเมื่อวัยเข้าเลข 5 เลข 6 อย่าง “โรคหูตึง” หรือภาวะที่คนสูงวัยได้ยินลดน้อยลง เนื่องจากทำงานของหูชั้นในนั้นมันเสื่อมสภาพตามอายุของเราที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ดังนั้นวิธีแก้ไขคือการทำให้ร่างกายไม่เสื่อมเร็ว เช่น ต้องควบคุมน้ำหนักไม่ให้เป็นโรคอ้วน ออกกำลังกายให้เพียงพอ กินให้ครบ 5 หมู่ อีกทั้งต้องนอนหลับให้เพียงพอ 7 ชั่วโมง ทำใจให้สดชื่น อีกทั้งต้องหมั่นไปเช็กร่างกาย เพื่อป้องกันไม่ให้คอเลสเตอรอลสูง ถ้าเป็นเบาหวานก็ต้องควบคุมโรคให้ดี เนื่องจากโรคกลุ่มดังกล่าวจะทำให้หูเสื่อมได้ แต่ถ้าหูเสื่อมแล้วหรือเริ่มมีอาการหูตึง เวลาที่ผู้สูงวัยสื่อสารกับผู้อื่นก็มักจะต้องดูปากเวลาคุย หรือการที่ลูกหลานพูดคุยกับท่านก็ให้จ้องหน้าท่าน ตรงนี้ก็จะช่วยได้ หรือถ้าพูดกันด้านข้าง ผู้สูงวัยจะไม่ค่อยได้ยิน ดังนั้นผู้ที่ยืนอยู่ด้านข้างถือเป็นผู้ที่จะต้องปรับตัว โดยอย่าโมโห แต่ควรต้องพูดดังๆ และให้ท่านเห็นหน้าผู้สนทนาด้วยก็จะดีที่สุด
แต่ทั้งนี้ เมื่อหูตึงจะต้องใช้เครื่องช่วยฟังสำหรับการได้ยิน แต่ต้องพาผู้สูงอายุไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบการได้ยิน เช่น เมื่อทดสอบปล่อยเสียง 20 เดซิเบล ให้คนไข้ฟังหรือยกมือ ถ้าเป็นผู้สูงอายุที่ปกติก็จะได้ยิน แต่ถ้าป่วยเป็นโรคหูตึง หากปล่อยเสียง 30-40 เดซิเบล คนไข้ก็จะไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบ ทั้งนี้ แพทย์ก็จะวินิจฉัยเกี่ยวกับความเสื่อมของหูชั้นในว่าเสื่อมลงกี่เปอร์เซ็นต์ ตามระดับเสียงที่ปล่อยไปแล้วไม่ได้ยิน ทั้งนี้ เพื่อประเมินในการใส่เครื่องช่วยฟังให้เหมาะกับผู้สูงอายุแต่ละคน”.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |