ที่นี่คือแหล่งอาหารของอาเซียน!


เพิ่มเพื่อน    

           ปลาสีเสียด, ปูเสือ, ปลาโฉมงาม, กุ้งแชบ๊วย, หอยสังข์...ความอุดมสมบูรณ์ของอาหารทะเลที่อำเภอจะนะ สงขลา...สัปดาห์ก่อน ผมอยู่ที่ตำบลนาทับ วันต่อมาผมไปเยี่ยมตำบลตลิ่งชันใกล้กับสะกอม

                ชาวประมงยืนยันว่าทะเลที่นี่คือแหล่งอาหารของคนไทยและอาเซียน และเป็น “ปอด” แห่งอากาศบริสุทธิ์ของคนไทย พวกเขาพร้อมกันปกปักรักษามรดกแห่งธรรมชาติแห่งนี้ให้ลูกหลานเหลนโหลน

                ดังนั้น การสร้างโครงการอุตสาหกรรมใดที่มีผลกระทบต่อแหล่งอาหารธรรมชาติอันทรงคุณค่าเช่นนี้จักต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของชาวบ้านที่ปักหลักอยู่มาหลายชั่วอายุคน

                ไม่ว่าจะเป็นโครงการที่โยงกับโรงแยกแก๊สหรือท่อแก๊สไทย-มาเลเซีย, โรงไฟฟ้าถ่านหินหรือท่าเรือน้ำลึกสงครามแห่งที่สอง!

                ผมคุยกับ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการและนักเคลื่อนไหวที่เคยทำงานด้านการปกปักรักษาสิ่งแวดล้อมที่ต้องประสานกับฝ่ายธุรกิจและข้าราชการในประเด็นความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับโครงการ

                แกบอกผมว่าประเด็นนี้ยังเป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันหาทางออกกันต่อไป เพราะมีความสลับซับซ้อนอยู่ในตัว

                เอกชนเองนั้นแม้ในบริษัทเดียวกันก็ยังไม่มีการบูรณาการกัน เช่น ผู้บริหารสูงสุดมุ่งเน้นเรื่องการสร้างกำไรและทำธุรกิจ โดยมอบหมายให้ฝ่ายประชาสัมพันธ์ หรือ CSR ไป “ทำกิจกรรมเพื่อสังคม” กับชาวบ้าน โดยคิดว่าทำแค่นั้นก็พอแล้ว

                ฝ่าย CSR กับฝ่ายธุรกิจและฝ่ายพัฒนาสินค้าในบริษัทเดียวกันก็ไม่คุยกัน ไม่มองประเด็นเดียวกัน ทำให้ความขัดแย้งกับคนท้องถิ่นที่ต้องการปกปักรักษาวิถีชีวิตเดิมของตนไม่อาจจะหาทางออกได้

                มิหนำซ้ำฝ่ายข้าราชการประจำและเจ้าของธุรกิจยังเข้าไปสร้างความแตกแยกในชุมชนท้องถิ่นด้วยกลยุทธ์ “แบ่งแยกแล้วปกครอง” ทำให้เกิดปัญหาความร้าวฉานมากขึ้นอีก

                นักการเมืองทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติก็มิได้ทำหน้าที่พูดคุยกับฝ่ายต่างๆ เพื่อหาทางออกร่วมกัน ตรงกันข้าม กลับกลายเป็นคู่กรณีกับชาวบ้านเสียเอง หรือไม่ก็หายตัวไปจากปัญหาโดยไร้ร่องรอย

                ผมถาม ดร.ธรณ์ว่าจากประสบการณ์ของท่าน มีวิธีใดที่จะทำให้เกิดการพูดจาระหว่างฝ่ายต่างๆ เพื่อหาทางออกร่วมกัน ให้ทุกฝ่ายได้เข้าใจและแสวงหาสูตรที่จะได้ประโยชน์ร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้บรรลุเป้าหมายของ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” หรือ sustainable development ที่ให้การพัฒนาเดินหน้าไปพร้อมๆ กับการรักษาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต

                ดร.ธรณ์บอกว่าต้องเริ่มด้วยการหาทางให้ฝ่ายต่างๆ พูดจาในภาพรวมเสียก่อน เพราะหากลงรายละเอียดตั้งแต่แรก ความขัดแย้งเดิมๆ ก็จะปะทุขึ้นได้ทุกขณะ

                ผมได้ยินและฟังแนวคิดจากทั้งด้านธุรกิจเอกชนที่ผลักดันให้เกิดเขตเศรษฐกิจพิเศษทางใต้ และผมได้สัมผัสกับผู้นำและชาวบ้านชุมชนที่ต้องการปกป้องวิถีชีวิตเดิมที่อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ

                ผมเห็นว่าทุกฝ่ายมีความพร้อมที่จะนั่งลงพูดจากัน เพราะทุกฝ่ายรู้ดีว่าเราจะเดินหน้าไปได้ก็ด้วยการแลกเปลี่ยนมุมมอง เข้าใจเหตุผลของอีกฝ่ายหนึ่ง และพยายามแสวงหาทางออกร่วมกัน ซึ่งก็ย่อมหมายความว่าไม่มีใครได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ 100% ต้องมีการเสียสละบางส่วนเพื่อให้ได้เป้าหมายของสังคมเป็นส่วนรวม

                ผมฟังความรอบด้านแล้วก็ยังเชื่อว่ายังมีหนทางที่จะสร้างความเข้าใจของฝ่ายต่างๆ เพื่อการเดินไปข้างหน้าพร้อมๆ กัน

                คนทำสื่อไม่เพียงแต่มีหน้าที่รายงานสิ่งที่เกิดขึ้นหรือความขัดแย้งในสังคมเท่านั้น แต่ยังจะต้องพยายามมองหา “จุดยืนร่วม” ของทุกฝ่ายเพื่อการสร้างพลังให้สังคมเดินไปข้างหน้าอีกด้วย

                ติดตามในรายการ “ฟังเสียงประเทศไทย คำตอบอยู่ในหมู่บ้าน” ทาง ThaiPBS เร็วๆ นี้ครับ!.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"