อภัยภูเบศร ห่วงประชาชนเครียด"การเมือง"จน"ไมเกรน"ถามหา แนะใช้ “ใบบัวบก-ขิง”


เพิ่มเพื่อน    


15มี.ค.62-นางสาวเบญจวรรณ หมายมั่น แพทย์แผนไทยประยุกต์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร   กล่าวว่า ในช่วงโค้งสุดท้ายของการหาเสียงเลือกตั้ง ทั้งตัวผู้บริหาร ผู้สมัครพรรคต่าง ๆ ตลอดจนประชาชนทั่วไปต่างก็เสพข่าวที่มาจากหลายทาง เกิดอาการเครียด ประกอบกับเป็นช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง บางวันอากาศร้อนจัด หลายคนถึงขั้นปวดหัวไมเกรน โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรตระหนักถึงสถานการณ์ช่วงนี้ จึงขอเสนอทางออกของการบรรเทาอาการไมเกรนด้วยสมุนไพรใกล้ตัว 2 ชนิด คือ ใบบัวบก และขิง 


"ก่อนอื่นต้องเข้าใจอาการและรู้จักไมเกรนก่อนว่า เป็นเป็นความผิดปกติในกลุ่มโรคที่มีปัจจัยทางพันธุกรรมร่วมด้วย โดยมีอาการทางระบบประสาทก่อนมีอาการปวดศีรษะไมเกรน  เดิมเชื่อว่าเกิดจากหลอดเลือดในสมองมีการหดตัวเกิดขึ้น หลังจากนั้น ร่างกายมีการตอบสนองโดยการทำให้หลอดเลือดมีการขยายตัว ซึ่งการขยายตัวของหลอดเลือดนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดศรีษะขึ้น ลักษณะสำคัญคือ มักมีอาการปวดข้างเดียวเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มีอาการปวดตื้อๆ (ประมาณ ร้อยละ 85% ) การปวดมักเป็นมาก ปานกลาง ถึงรุนแรง และมักเป็นมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว ระยะเวลาของอาการปวดในผู็ใหญ่ 4 - 72 ชั่วโมง  ส่วนเด็ก 2-ง 48 ชั่วโมง  "

นอกจากนี้ยังพบอาการเบื่ออาหารได้ค่อนข้างบ่อย ส่วนอาการคลื่นไส้พบได้ประมาณร้อยละ 90 ในขณะที่อาการอาเจียนพบในผู้ป่วยประมาณ 1 ใน 3 ส่วน ภาวะที่ผู้ป่วยไวต่อสิ่งเร้าได้ง่ายขึ้นก็พบได้เช่นกัน ดังนั้น ผู้ป่วยไมเกรนส่วนใหญ่มักอยากอยู่ในห้องมืดและเงียบเพราะจะทำให้อาการปวดศีระษะดีขึ้น 

ในทางการแพทย์แผนไทย เชื่อว่า ไมเกรน หรือ ลมปะกัง มักมีความผิดปกติของธาตุไฟและธาตุลมกำเริบ ในช่วงบนของร่างกาย คือ บริเวรศรีษะ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ ปวดตา การมองเห็นผิดปกติไป บางรายเจอความแกงในเยื่อบุตาและมีความร้อน การใช้ยาฤทธิ์เย็นก็เป็นอีกทางเลือกที่ช่วยบรรเทาอาการได้ 

สำหรับสมุนไพรแก้ไมเกรน นั้น ตัวแรกคือ ใบบัวบก เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กที่ขึ้นบนดิน แต่มีลักษณะใบคล้ายกับใบบัว ซึ่งรู้จักกันดีว่าน้ำใบบัวบกช่วยแก้ช้ำใน และยังมีสรรพคุณอื่น ๆ อีกมาก เช่น ใบบัวบกมีสรรพคุณทางยา ในการแก้ช้ำใน ทำให้หายฟกช้ำได้ดี แก้ร้อนในกระหายน้ำ ลดอาการปวดศีรษะข้างเดียว (ไมเกรน) บำรุงสมอง แก้ความดันโลหิตสูง แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ และขับปัสสาวะ ส่วนสรรพคุณแก้ปวดไมเกรน ให้เอาต้นสดของบัวบก จำนวน 2 กำมือ มาคั้นกับน้ำสะอาดกินวันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น หรือกินต้นสด ๆ เลยก็ได้ และสามารถผสมกับน้ำต้มสุกเจือน้ำตาลกรวดเล็กน้อย ใช้ดื่มวัน ½ แก้ว 2 เวลา เช้า – เย็น

อีกตัวหนึ่งคือ ขิง การศึกษาวิจัยล่าสุดในต่างประเทศ ทำการศึกษาวิจัยในการใช้ขิงรักษาอาการปวดไมเกรนอีกด้วย                         โดยทำการศึกษาวิจัยในผู้ป่วยไมเกรน 100 ราย ในแผนกประสาทวิทยา ของโรงพยาบาลในประเทศอิหร่าน ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีระยะการเป็นไมเกรนมาประมาณ 7 ปี มีอาการปวดมากกว่า 2 ครั้งต่อเดือน เปรียบเทียบระหว่างการให้แคปซูลขิง 250 มิลลิกรัม กับยาแผนปัจจุบันชื่อ “ซูมาทริปแทน” ขนาด 50 มิลลิกรัม เมื่อมีอาการปวดไมเกรน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มที่รับประทานขิง อาการปวดไมเกรนลดลงดีเทียบเท่ากับกลุ่มที่รับประทานยาแก้ปวดแผนปัจจุบัน คือ สามารถลดอาการปวดไมเกรนได้ถึง 60% ภายในเวลา 2 ชั่วโมงหลังรับประทานยา และพบว่าแคปซูลขิง มีข้อดีที่เหนือกว่ายาแผนปัจจุบัน คือ ไม่พบอาการข้างเคียงจากการรับประทานยา ในขณะที่ยาซูมาทริปแทน มักทำให้เกิดผลข้างเคียง คือ ง่วงนอน อาการแสบร้อนที่หน้าอก 

"การที่ขิงสามารถบรรเทาอาการปวดไมเกรนได้นั้น น่าจะมาจากการที่ขิงมีฤทธิ์ในการลดกระบวนการอักเสบ ลดอาการปวดในร่างกาย ลดการสร้างสารพรอสตาแกลนดิน ที่ทำให้ปวดและอักเสบ ซึ่งยังมีข้อมูลในการใช้ขิงในการบรรเทาอาการปวดข้อมาก่อนหน้านี้ อีกทั้ง ขิงยังมีสรรพคุณในการแก้คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว ซึ่งอาการดังกล่าวมักพบว่าเป็นอาการนำก่อนที่จะมีอาการปวดไมเกรน จึงถือได้ว่าขิงเป็นสมุนไพรอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยไมเกรน และหากใครชื่นชอบการดื่มน้ำขิงอยู่แล้ว ก็สามารถจิบน้ำขิงอุ่นๆ เวลาปวดไมเกรนได้เช่นกัน"แพทย์แผนไทยกล่าว

นอกจากนี้ ไมเกรนยังสามารถใช้ การนวดรักษา โดยยึดหลักการกระจายลม กระจายการไหลเวียนของเลือดลม หรือการพอกยาเพื่อช่วยลดปิตตะ ที่กำเริบขึ้นด้านบน คือลดความร้อนที่ช่วงบนของร่างกาย ทำให้อาการปวดไมเกรนลดลง ได้อีกด้วย
--------------------------


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"