“สรรพากร” จ่อจ้างธนาคารโลกศึกษารูปแบบรีดภาษีอี-บิสซิเนส


เพิ่มเพื่อน    

 

15 มี.ค. 256 2นายปิ่นสาย สุรัสวดี โฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยถึงความคืบหน้า ร่างพ.ร.บ.ประมวลรัษฎากร ที่กำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการธุรกรรมอีเล็กทรอนิกส์ (อี-บิสซิเนส) ว่า กรมฯ เตรียมว่าจ้างธนาคารโลก มาทำการศึกษารูปแบบหาจัดเก็บภาษีผู้ประกอบการธุรกรรมอีเล็กทรอนิกส์ให้รอบด้านมากขึ้น โดยคาดว่าจะนำข้อสรุปเสนอให้รัฐบาลใหม่ พิจารณาได้ภายในสิ้นปีนี้

ทั้งนี้ ร่างกฎหมายอีบิสซิเนสฉบับปัจจุบันไม่สามารถนำส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาได้ทันภายในรัฐบาลชุดนี้ ดังนั้น กรมฯ จึงจะมีการปรับใหม่ให้มีการเก็บภาษีได้รอบด้านมากกว่าฉบับปัจจุบัน ที่เรียกเก็บภาษีจากบริการนำเข้าสินค้าอย่างเดียว ซึ่งในกฎหมายฉบับใหม่จะเก็บครอบคลุมภาษีทุกประเภท เช่น ภาษีหักภาษี ณ ที่จ่าย, ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีนิติบุคคล เพื่อทำให้เกิดความเป็นธรรมทั้งผู้ประกอบการในและนอกประเทศ และทำให้การจัดภาษีของกรมฯมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย

“กฎหมายฉบับนี้มีความจำเป็น ต้องเร่งทำ เพราะทุกประเทศในโลกประสบปัญหาเช่นเดียวกัน คือ ไม่สามารถจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการออนไลน์ได้ เพราะไม่ได้มีการตั้งสำนักงาน หรือจดทะเบียนในประเทศนั้น ๆ เช่น ในสหภาพยุโรปก็พยายามจะร่างกฎมายขึ้นมาเก็บเช่นเดียวกับไทย” นายปิ่นสาย กล่าว

ด้านนายวินิจ วิเศษสุวรรณภูมิ รองโฆษกกรมสรรพากร กล่าวถึงยอดการยื่นแบบแสดงรายได้ภาษีบุคคลธรรมดา ปี 2561ว่า มียอดการยื่นแบบในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ.2562 แล้ว จำนวน 4 ล้านราย ในจำนวนนี้มียอดขอคืนภาษี 2 ล้านราย คิดเป็นมูลค่า 2.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งกรมสรรพากรได้คืนภาษีไปแล้ว 1.3 ล้านราย เป็นการคืนผ่านพร้อมเพย์ 1 ล้านราย โดยยอดการขอคืนภาษีปีภาษี 2561 เพิ่มขึ้น 15% เนื่องจากปีนี้พฤติกรรมของประชาชนยื่นแบบเร็วขึ้น และส่วนใหญ่ยื่นผ่านอินเตอร์เน็ต และสามารถอัพโหลดเอกสารหลักฐานรายได้ทันที ทำให้กรมสามารถตรวจสอบได้เร็วและคืนภาษีได้ไวขึ้น
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"