สถาบันพระมหากษัตริย์กับความมั่นคงประเทศ สมัยประชาธิปไตย


เพิ่มเพื่อน    

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ประเทศไทยได้มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่ถึงกระนั้นความไม่สงบภายในประเทศก็ยังคงมีอยู่ ประเทศไทยในขณะนั้นกำลังอยู่ในหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทย คณะราษฎรที่ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ยังคงมีความวิตกกังวลต่อการฟื้นอำนาจของกลุ่มกษัตริย์นิยม จึงยังคงเฝ้าระวังและควบคุมสถานการณ์การเมืองอย่างใกล้ชิด แต่ด้วยพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในขณะนั้น ได้มีส่วนช่วยรักษาความมั่นคงของประเทศให้ดำรงอยู่ได้

หลังจากที่คณะราษฎรได้ทำการยึดอำนาจเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 แล้ว ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นยังทรงประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้เสด็จพระราชดำเนินกลับคืนสู่กรุงเทพมหานครเพื่อทรงดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ต่อไปภายใต้รัฐธรรมนูญ คณะราษฎรยังได้กราบบังคมทูลให้ทรงตอบรับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้นด้วย ถ้าหากพระองค์ทรงปฏิเสธก็ดีหรือไม่ทรงตอบรับภายใน 1 ชั่วโมง นับตั้งแต่ทรงได้รับหนังสือกราบบังคมทูลแล้วก็ดี คณะราษฎรก็จะได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินโดยจะเลือกเจ้านายพระองค์อื่นที่เหมาะสมขึ้นทรงเป็นพระมหากษัตริย์ต่อไป

ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับหนังสือกราบบังคมทูลของคณะราษฎรแล้วพระองค์ทรงมีทางเลือกอยู่ 3 ทาง คือ ทางแรก พระองค์เสด็จหนีไปต่างประเทศ ทางที่สอง พระองค์เสด็จกลับกรุงเทพฯ และยินยอมรับคำเชิญของคณะราษฎรให้คงทรงเป็นพระมหากษัตริย์ต่อไปภายใต้รัฐธรรมนูญ และทางสุดท้ายคือทรงรวบรวมกำลังทหารหัวเมืองที่ยังมิได้เข้ากับคณะราษฎร และยังคงมีความจงรักภักดีต่อพระองค์ ยกทัพมายึดกรุงเทพฯ โดยอาจจะมีทหารบางหน่วยในกรุงเทพฯ ที่ยังมิได้ตัดสินใจที่จะเข้าข้างฝ่ายใดเข้ามาสวามิภักดิ์ด้วย นั่นหมายถึงพระองค์ทรงเลือกวิธีปราบปรามคณะราษฎร

ในทางเลือกทั้ง 3 ทางนั้น ถ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลือกแนวทางที่สาม ประเทศชาติอาจจะต้องเกิดการนองเลือด ไม่ว่าจะเป็นประชาธิปไตยหรือกลับไปสู่ราชาธิปไตย ความมั่นคงของประเทศจะต้องได้รับความกระทบกระเทือนอย่างหนัก และในยามที่ประเทศชาติเกิดความระส่ำระสายมหาอำนาจอาจเข้าแทรกแซงได้ เพราะขณะนั้นสถานการณ์ของโลกกำลังคุกรุ่นด้วยไฟสงคราม แต่นับเป็นโชคดีของประชาชนชาวไทยที่มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงห่วงใยประชาชนและประเทศชาติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตัดสินพระทัยเลือกแนวทางที่สอง คือ พระองค์เสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ และทรงยินยอมรับคำเชิญของคณะราษฎรให้เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญต่อไป พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาตอบรับคณะราษฎร ดังมีข้อความตอนหนึ่งว่า

     .....ข้าพเจ้าเห็นแก่ความเรียบร้อยของอาณาประชาราษฎร์ 
    ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อกับทั้งเพื่อจัดการโดยละม่อมละมัย ไม่ให้
    ขึ้นเชื่อได้ว่าจลาจลเสียหายแก่บ้านเมือง...จึงยอมรับที่จะเป็นตัวเชิด
    เพื่อให้คุมโครงการตั้งรัฐบาลให้เป็นรูปวิธีเปลี่ยนแปลงตั้งพระธรรมนูญ
    โดยสะดวก เพราะถ้าข้าพเจ้าไม่ยอมรับเป็นตัวเชิด นานา
    ประเทศคงจะไม่ยอมรับรองรัฐบาลใหม่นี้ซึ่งจะเป็นความลำบากยิ่งขึ้น
    หลายประการ.....

 

การตัดสินพระทัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งนั้นได้ระงับความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎรได้ทำให้ความมั่นคงของประเทศกลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง ไม่มีการต่อต้านหรือปราบปรามคณะราษฎรโดยสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่กลับกลายเป็นฝ่ายที่ให้ความสนับสนุนคณะราษฎรในการสรรค์สร้างสถาปนาประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นแก่ประเทศไทยต่อไป

ภายหลังที่คณะราษฎรได้บรรลุวัตถุประสงค์ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว คณะราษฎรได้เสนอให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกในระบอบประชาธิปไตยของไทย ต่อมาได้เกิดความขัดแย้งในคณะรัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับเรื่องเค้าโครงการเศรษฐกิจที่นายปรีดี พนมยงค์ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้จัดร่างมาเพื่อพิจารณา เนื่องจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดาไม่เห็นด้วยกับเค้าโครงการเศรษฐกิจดังกล่าว จนถึงขั้นได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้เปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรฐาน เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476

ผลจากความยุ่งยากทางการเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ได้นำไปสู่การยึดอำนาจของคณะทหารบก  ทหารเรือ และพลเรือน ภายใต้การนำของพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เมื่อวันที่  20 มิถุนายน พ.ศ.2476 ทำให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดาต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรได้ประชุมพิจารณาและตกลงที่จะเสนอชื่อพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ขึ้นกราบบังคมทูลให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2476 โดยที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงทัดทานแต่ประการใด ในขณะที่พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาได้ปรารภในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า

    ....ไม่อยากเป็น เพราะไม่สันทัดในทางการเมือง อ้างว่าเป็น
    นักรบไม่ใช่นักทูต แต่เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มาแล้ว ก็จะ
    ขอรับหน้าที่สัก 10-15 วัน พอให้พ้นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อไปเสียก่อน...
    ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อถึงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2476 พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา จึงได้มีหนังสือ

กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยมีความสำคัญตอนหนึ่งว่า

    ....ข้าพระพุทธเจ้าได้กล่าวแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใน
    สภาและผู้แทนหนังสือพิมพ์ที่มาสอบถามว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะรับ
    ฉลองพระเดชพระคุณในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพียง 10-15 วันเท่านั้น
    พอได้มีโอกาสฟังเสียงและสังเกตหาผู้ที่สมควรจะเป็นนายกรัฐมนตรี
    สืบไป และจะถึง 15 วันตามกำหนดในวันที่ 5 เดือนนี้แล้ว ข้า
    พระพุทธเจ้าจึงใคร่ขอพระราชทานพระมหากรุณา....ขอพระบรม
    ราชานุญาตลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 5 เดือน
    นี้ เป็นต้นไป.....

พระยาพหลพลพยุหเสนา(พจน์ พหลโยธิน)

ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความสำคัญของความมั่นคงของประเทศชาติเป็นที่ตั้ง พระองค์ทรงยืนยันที่จะให้พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป พระองค์ทรงโต้แย้งเหตุผลทั้งหมดที่เป็นข้ออ้างของพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาที่สมควรจะต้องลาออก ดังมีพระราชกระแสรับสั่งบางตอนว่า

    ....ที่ท่านวิตกว่าการที่มีตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีและผู้
    บัญชาการทหารบก จะทำให้คนทั้งหลายครหาได้ว่า ประเทศสยาม
    ปกครองโดยอำนาจทหารนั้น ข้าพเจ้าเห็นว่ายังไม่ควรวิตก เพราะ
    เวลานี้ยังไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดครหาหรือสงสัยไปในทางนั้นเลย แม้แต่
    พวกหนังสือพิมพ์ซึ่งถือว่าเป็นปากเสียงของประชาชน และซึ่งใน
    เวลานี้มีอิสระและเสรีภาพในการพูดยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน ก็ไม่ปรากฏ
    ว่ามีเสียงระแวงในทางนี้เลย...

    และนอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องอื่นๆ อีกหลายข้อ ในตอนท้ายของพระราชหัตถเลขา พระองค์ทรงมีรับสั่งว่า

    ....ข้าพเจ้าเห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นอย่างใดที่ท่านจะต้องลาออก 
    จึงมีความเสียใจที่จะอนุญาติไม่ได้ และเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ความ
    เรียบร้อยของชาติบ้านเมืองอันเป็นที่รักยิ่งของเรา ข้าพเจ้าขอร้อง
    ให้ท่านอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบไปก่อน...

การที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น สะท้อนให้เห็นถึงพระบรมราโชบายของพระองค์ในการที่จะรักษาความมั่นคงของประเทศในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ เพื่อมิให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองในขณะนั้นเพราะพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เคยเป็นทั้งหัวหน้าคณะราษฎรในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และหัวหน้าคณะทหารยึดอำนาจการปกครองจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรีสืบต่อจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดาจากสภาผู้แทนราษฎร เพื่อกราบบังคมทูลให้ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 

ประกอบกับในขณะนั้นยังไม่มีผู้ใดเหมาะสมกับสถานการณ์ของบ้านเมืองเท่าท่านผู้นี้ ดังนั้นการมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจึงเป็นการลดความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนั้นลงได้ในระดับหนึ่ง.
-----------
อ้างอิง: วารสารประวัติศาสตร์ สถาบันพระมหากษัตริย์กับความมั่นคงประเทศ สมัยประชาธิปไตย,รองศาสตราจารย์ณรงค์ พ่วงพิศ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"