แรงงานรอเก้อ! บอร์ดค่าจ้างโยน ปรับค่าแรงเม.ย.


เพิ่มเพื่อน    


    "แรงงาน" รอไปก่อน บอร์ดค่าจ้างเลื่อนเคาะขึ้นค่าแรงปี 62 ไปปลายเดือนเม.ย. อ้างรอฟังเหตุ 46 จังหวัดแจ้งไม่ขอขึ้นค่าแรง "ปลัดแรงงาน" ปัดขยายวันพิจารณาใหม่ไม่เกี่ยวใกล้เลือกตั้ง
    เมื่อวันที่ 13 มี.ค. นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง หรือบอร์ดค่าจ้าง ชุดที่ 20 กล่าวภายหลังการประชุมเพื่อพิจารณาปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2562 ว่า มี 46 จังหวัดที่แจ้งมาไม่ขอขึ้นค่าแรง ทางคณะกรรมการฯ ที่ประกอบด้วยฝ่ายลูกจ้างและนายจ้างมีความเห็นว่า ควรขอให้ 46 จังหวัดชี้แจงสาเหตุที่ละเอียดและชัดเจนกว่าที่ส่งมาให้ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาเพิ่มเติมว่าเกิดจากสาเหตุอะไร ทำไมจึงไม่ขอขึ้นค่าแรง 
    นายจรินทร์กล่าวว่า ขณะที่ตัวแทนจากหน่วยงานภาคเศรษฐกิจ คือ กระทรวงพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) ให้ความเห็นว่าขณะนี้ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในประเทศอยู่ในภาวะไม่แน่นอน ค่าเงินบาทแข็ง การส่งออกเริ่มทรงตัว ประกอบกับได้รับผลกระทบจากภาวะสงครามการค้าจีน-สหรัฐ ทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่าควรจะต้องพิจารณาอย่างรอบด้านและรอบคอบ ทำให้ผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯ เป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายมากที่สุด ทั้งระบบเศรษฐกิจ นายจ้าง และลูกจ้าง 
    ประธานบอร์ดค่าจ้างกล่าวว่า จะนัดคณะกรรมการฯ ประชุมพิจารณาอีกครั้งในช่วงปลายเดือนเม.ย.นี้ ส่วนจะสามารถประกาศขึ้นค่าแรงได้ก่อนวันแรงงานหรือไม่ เรื่องนี้ยังตอบไม่ได้ เพราะต้องผ่านการพิจารณาถึงความเหมาะสมจากคณะกรรมการฯ หากเหมาะสมก็คงจะประกาศได้  
    “เหตุที่เลื่อนการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เราดูเรื่องข้อมูลเป็นหลัก ไม่เกี่ยวข้องกับความกังวลเรื่องใกล้ช่วงเลือกตั้ง และขอย้ำว่าไม่เคยยืนยันว่าการขึ้นค่าแรงจะมีผลในวันที่ 1 เม.ย.นี้ เพียงแต่เดือนเม.ย.จะเป็นการครบรอบปีจากการขึ้นค่าแรงเมื่อปีที่แล้ว และหากเลื่อนการขึ้นค่าแรงออกไป ก็จะไม่มีการให้เงินย้อนหลัง เราต้องเดินไปข้างหน้า และขอให้พี่น้องแรงงานมั่นใจว่าการเลื่อนครั้งนี้ ไม่ใช่เป็นการดับฝัน เพียงแต่ขอเวลาพิจารณาข้อมูลเหตุผลที่ 46 จังหวัดให้มาไม่ชัด ซึ่งหากตัดสินใจอะไรออกไปด้วยข้อมูลที่ไม่รอบด้าน ก็จะส่งผลต่อความศักดิ์สิทธิ์ของคณะกรรมการฯ ที่เป็นตัวแทนพี่น้องแรงงานทันที” ประธานบอร์ดค่าจ้างกล่าว 
    ทั้งนี้ สำหรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2561 แบ่งเป็น 7 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 ค่าจ้าง 308 บาท มี 3 จังหวัด คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส, ระดับที่ 2 ค่าจ้าง 310 บาท มี 22 จังหวัด คือ สิงห์บุรี นครศรีธรรมราช ตรัง แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน เชียงราย สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี ศรีสะเกษ ตาก ชัยภูมิ อำนาจเจริญ แพร่ ราชบุรี ระนอง มหาสารคาม ชุมพร หนองบัวลำภู สตูล, ระดับที่ 3 ค่าจ้าง 315 บาท มี 21 จังหวัด คือ ร้อยเอ็ด ประจวบคีรีขันธ์ นครสวรรค์ สระแก้ว พัทลุง อุตรดิตถ์ อุดรธานี นครพนม บุรีรัมย์ สุรินทร์ เพชรบุรี พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ชัยนาท เลย ยโสธร พะเยา บึงกาฬ น่าน กาญจนบุรี อ่างทอง
    ระดับที่ 4 ค่าจ้าง 318 บาท มี 7 จังหวัด คือ จันทบุรี สมุทรสงคราม สกลนคร มุกดาหาร นครนายก กาฬสินธุ์ ปราจีนบุรี ระดับที่ 5 ค่าจ้าง 320 บาท มี 14 จังหวัด คือ อุบลราชธานี สุพรรณบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา หนองคาย ลพบุรี ตราด ขอนแก่น สงขลา สุราษฎร์ธานี กระบี่ เชียงใหม่ นครราชสีมา พังงา ระดับที่ 6 ค่าจ้าง 325 บาท มี 7 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา และระดับที่ 7 ค่าจ้าง 330 บาท มี 3 จังหวัด คือ ภูเก็ต ชลบุรี ระยอง. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"