เรียกว่าเป็นช่วง “โค้งเกือบจะสุดท้าย” แล้วสำหรับการหาเสียงเลือกตั้งก่อนหย่อนบัตรในวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคมนี้ ซึ่งนอกจาก “พรรคการเมือง” ต่างๆ จะขมีขมันในการเดินสายตลอดวัน แบบหากทำได้แบบ “เซเว่น-อีเลฟเว่น” คงทำกันไปแล้ว ก็ดูเหมือนมีการทิ้ง “ไพ่ตาย” กันออกมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะ “พรรคประชาธิปัตย์” ภายใต้การนำของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ซึ่งเรียกเรตติ้ง และพาดหัวสื่อได้มาอย่างต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์นี้ ก่อนเข้าสัปดาห์สุดท้ายกันเลยทีเดียว ...๐ งานนี้ก็เรียกว่า “พี่มาร์ค” ทุ่มแบบเกหมดหน้าตักกันเลยทีเดียว เพราะเล่นเอา “ลุงกำนัน” สุเทพ เทือกสุบรรณ แห่งพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) ถึงกับต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การหาเสียงจากเรื่อง “คนธรรมดาสร้างชาติ” มาเป็นการรุมถล่ม “มาร์ค” ผู้ไม่หนุน “บิ๊กตู่” กันแทบจะทุกเวที ที่จัดปราศรัยกันทีเดียว ...๐ ก็ไม่รู้ว่า “ไพ่ตาย” ของอภิสิทธิ์งวดนี้หวยจะออกตรงตามที่หวังไว้หรือไม่ ช่วงค่ำๆ วันอาทิตย์ที่ 24 มี.ค.นี้ก็น่าจะรู้กันแล้ว แต่ก่อนจะถึงวันนั้น ในช่วงนี้ หน้าจอทีวีคงเห็นนโยบายของบรรดาพรรคการเมืองจำนวน 77 พรรค ที่ได้ส่งผู้สมัครลงแข่งขันกันไม่มากก็น้อย ซึ่งแต่ละพรรคก็เสนอ “นโยบายขายฝัน” กันถ้วนทั่ว แต่ที่น่าคิดก็คือ แต่ละพรรคที่นำเสนอนั้น ทั้งพรรคใหญ่และพรรคเล็กต่างบอกถึงสารพันปัญหาของประเทศไทย ซึ่งมีทั้ง “ภัยสงคราม” จนถึงปัญหาเศรษฐกิจกันเลยทีเดียว นี่ ถ้าเป็นชาวต่างชาติมาฟังมาดูอาจถึงขั้นใจหล่นไปถึงตาตุ่มกันเลยทีเดียว เพราะอะไรมันจะสาหัสสากรรจ์ยิ่งกว่าประเทศ “เวเนซุเอลา” ที่เผชิญวิกฤติเศรษฐกิจ บวกกับ “ซีเรีย” ที่สงครามกลางเมืองยังคุกรุ่นอยู่เสียอีก ...๐ อยากจะบอกและเตือนกันว่า การเสนอนโยบายเพื่อจูงใจผู้มีสิทธิให้ลงคะแนนเสียงนั้น ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องวาดภาพ “ความเลวร้าย” ของประเทศให้มันเกิดขนาดก็ได้ เพราะ ไม่ต้องห่วงว่าผู้มีสิทธิ์ทั้งหลายจะนอนหลับทับสิทธิ์กันหรอก ดูได้จากการ “เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร” ก็น่าจะสะท้อนได้ดีว่า ประชาชนนั้นอัดอั้นในการใช้สิทธิ์ใช้เสียงเพียงใด ในวันที่ 24 มี.ค.นี้ อาจเป็นการหย่อนบัตรที่ ทำสถิติในประวัติศาสตร์การเมืองทั้งจำนวนผู้มาใช้สิทธิ์และจำนวนบัตรเสียมากที่สุดเลยก็เป็นได้ ใครจะรู้ จริงไหม ...๐ ที่คึกพอๆ กับการหาเสียงของพรรคการเมืองก็คือบรรดา “โพล” ทั้งหลาย ซึ่งล่าสุดทั้ง “นิดาโพล” และ “ซูเปอร์โพล” ก็ได้สำรวจความคิดเห็นในท่วงทำนองเดียวกันว่าด้วยนโยบายที่โดนใจ ซึ่งน่าคิดอย่างยิ่งสำหรับ “ภูมิใจไทย” ของเสี่ยหนู “อนุทิน ชาญวีรกูล” ว่าจะมีการปรับทบทวนการชูนโยบายในช่วงทิ้งโค้งสุดท้ายหรือไม่อย่างไร เพราะนโยบายหลักในเรื่อง “กัญชาเสรี” ที่คิดว่าจะเป็นหมัดเด็ดนั้น ผลกลับปรากฏว่าอยู่แทบอยู่รั้งบ๊วย ในขณะที่นโยบาย ทำงานสัปดาห์ละ 4 วันที่แทบจะเอ่ยน้อยเสียยิ่งกว่ากลับโดนใจ "มนุษย์เงินเดือน” กันถ้วนหน้า ...๐ เห็นบรรดา “ก๊วนปรปักษ์” รัฐธรรมนูญที่ถูกยุบไปแล้ว โดยเฉพาะบรรดาบิ๊กเนมที่ไม่ใช่กรรมการผู้บริหารพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) แสดงเพาเวอร์ในช่วงนี้จนถึงขั้น “อิทธิพร บุญประคอง” ประธาน กกต. ต้องออกมาระบุว่าจะตั้งกรรมการสอบ “รณรงค์โหวตโน-เทคะแนน” ของอดีตผู้สมัครพรรค ทษช. โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ร้อง เพราะความปรากฏต่อ กกต.แล้ว ซึ่งก็ เล่นเอา “จาตุรนต์ ฉายแสง” หรือแม้แต่ “วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล” และ “ฐิติมา ฉายแสง” ออกมาเรียงแถวตอบโต้กันแบบรู้ว่าไม่มีอะไรจะเสีย กันถ้วนหน้า โดยเฉพาะคำชี้แจงของ “น้องเปิ้ล-ฐิติมา” สะท้อนความเป็นนักการเมืองเข้าเส้นได้เป็นอย่างดี เพราะบอกว่า “บทบาทก็คล้ายกับนาย จตุพร พรหมพันธุ์ ที่เคยมีโทษจำคุก ก็เป็นผู้ช่วยหาเสียงของพรรคเพื่อชาติ ก็ไม่เห็นมีใครวิจารณ์” งานนี้เรียกว่าหาพรรคหาพวกและลากใครต่อใครมาร่วมรับกรรมกันเลยทีเดียว ...๐ บทบาทของบิ๊ก “ทษช.” ที่ไม่ใช่ กก.บห.ยามนี้น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะดูเหมือนเป็นการแสดงโชว์ให้ “คนหน้าเหลี่ยม” ดูอย่างไรอย่างนั้น ว่าแม้จะถูกยุบพรรคแล้วแต่ก็ยังลงแรงแข็งขันนะนาย หากว่า “พรรคเพื่อไทย” แลนด์สไลด์ตามที่วาดหวังได้จริง รัฐมนตรีและรัฐมนโททั้งหลายของรัฐบาลก็น่าจะมีกระเส็นกระสายมาบ้า งก็จะเป็นพระคุณอย่างสูงนะครับนาย ...๐ แต่ที่น่าสนใจเข้าไปอีกหลังมีคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ซึ่งเป็นคำตัดสินประวัติศาสตร์นั้น น่าสนใจว่าหากมีการลง คำวินิจฉัยอย่างเป็นทางการใน “ราชกิจจานุเบกษา” ออกมา จะมีการต่อยอดในเรื่องดังกล่าวหรือไม่อย่างไร โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายอาญามาตรา 112 เชื่อว่าอีกไม่นานคงรู้ โดยเฉพาะบรรดาขาร้องทั้งหลายก็อย่าเงียบกันเชียว ...๐
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |