ผลงานกลุ่มผู้สูงวัย 60-80 ปีมในอาณาบริเวณโรงพยาบาลป่าติ้ว ยโสธร ที่ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ไม่เป็นอัลไซเมอร์ด้วยการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนผลิตสินค้าพื้นเมืองให้เป็นคลังความรู้ ท่ามกลางบรรยากาศการเรียนรู้กิจกรรมต่อเนื่อง สุข ง่าย ใส งาม ช่วยกันทำงานอดิเรกผลิตเป็นสินค้าจำหน่าย พวงกุญแจหมอนขิด สบู่ชาร์โคล ทำพัดประดิษฐ์ ทอผ้าฝ้ายเป็นผ้าพันคอ ผ้าขาวม้า ถั่วคั่วทราย การปลูกแตงโม ทุกคนที่ได้ทำงานอย่างมีความสุข ภาคภูมิใจและทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ปีมาแล้ว
ธัญนันท์ ศรีชนะ หัวหน้าพยาบาลวิชาชีพฯลฯ สมหญิง อุ้มบุญ พยาบาลวิชาชีพ ICN พยาบาลป้องกันการติดเชื้อ คำผิว วงษ์กล้า พนักงานศูนย์เปลนักพัฒนาคุณภาพ เป็นตัวแทนจาก รพ.ป่าติ้ว นำเสนอนิทรรศการและอธิบายผลงาน 1 ทศวรรษกับการพัฒนางานประจำด้วยงานวิจัยในโรงพยาบาลป่าติ้ว (R2R ป่าติ้ว สุข ง่าย ใส งาม) ให้ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณนายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ รศ.นพ.เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ หัวหน้าทีมที่ปรึกษาโครงการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย ดร.ณัฏฐญา พัฒนะวาณิชนันท์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ และคีย์แมนสำคัญในกระทรวงสาธารณสุข ก่อนเข้าร่วมงานแถลงข่าว
ด้วยวาทกรรมของ อ.นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล “คุยกันเล่น เห็นของจริง อิงวิจัย” ธัญนันท์ ศรีชนะ หัวหน้าพยาบาลริเริ่มจัดทำโครงการ R2R ในปี 2552 โดยมี ดร.นิภาพร ละครวงศ์พาเรียนรู้ สมหญิง อุ้มบุญ หัวหน้าหน่วยจ่ายกลางและซักฟอก ได้ชักชวนพนักงานในหน่วยจ่ายกลางและซักฟอกเข้ามาเรียนรู้ในขบวนการ จากเดิมไม่เคยรู้ว่างานวิจัยเป็นอย่างไร เรียนรู้ด้วยการตั้งคำถาม รู้ปัญหาในหน้างานที่มีอยู่รอบตัว เรียนรู้วิธีจัดการกับปัญหาด้วยวิธีการใหม่ๆ เรียนรู้การวัดและสรุปผลจากงานประจำสู่งานวิจัย ด้วยการส่งผลงานเข้าร่วมในปี 2553 ด้วยพลังปลุกปั้นจนได้รับรางวัลดีเด่น 2 รางวัลในปี 2554 เปลี่ยนวิธีคิด ให้คนหน้างานจากการมองเห็นปัญหาเป็นการมองเห็นโอกาสในการพัฒนา จึงชักชวนคนหน้างานให้เห็นความสำคัญ
คำผิว วงษ์กล้า สร้างผลงานเป็นที่ประจักษ์ ทำให้พยาบาลและวิชาชีพอื่นรู้สึกละอาย หันมาทำ R2R บ้าง ชวนนักวิชาการ ผู้มีความรู้รอบด้านมาช่วยพัฒนาผลงานสิ่งประดิษฐ์ ลดต้นทุน ลดขั้นตอนในทุกหน่วยงานเป็น “หนึ่งคน หนึ่งผลพัฒนางาน” ตามสไตล์ “R2R ป่าติ้วที่ สุข ง่าย ใส งาม” เป็นที่ศึกษาดูงาน รับเชิญเป็นวิทยากร และกรรมการคัดเลือกงานวิจัย เป็นความสุขเล็กๆ อิ่มใจในผลงาน เปลี่ยนทัศนคติคนหน้างานให้เป็น Knowledge worker พัฒนาเป็นองค์แห่งการเรียนรู้จนถึงทุกวันนี้ เพราะคนทำงานได้เห็นคุณค่าในงาน เห็นคุณค่าในตนเอง เกิดพลังสร้างสรรค์พัฒนาผลงาน ไม่หยุดนิ่ง ได้ขยายผลแนวคิด R2R สู่เครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ บูรณาการงานป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ IC เชื่อมโยงสู่ระบบสุขภาพอำเภอ DHS-PCA&FCT-CoC เป็นรางวัลประเภท Metal R2R ในปี 2559 ได้รับการถ่ายทำวีดิทัศน์เป็นครั้งที่ 2 เพื่อการเผยแพร่ในงาน R2R National Forum ที่ผสมผสานแนวคิด R2R แนบเนียนในงานประจำ ส่งผลห้โรงพยาบาลผ่านการรับรองการพัฒนาคุณภาพ HA ทุกครั้ง
ปัจจุบันทิศทางการขับเคลื่อนของเครือข่าย R2R ป่าติ้ว ได้เชื่อมโยงจากนโยบายการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) นำประเด็นจาก Gap มาสู่คำถามการวิจัย R2R มีเป้าหมายนำไปสู่ผู้ป่วยปลอดภัย คนทำงานปลอดภัย ไร้ความเสี่ยง วิเคราะห์ Gap เชิงระบบเชื่อมมาสู่การใช้เครื่องมือ Meta R2R มาบูรณาการเป็นกลไกขับเคลื่อน พัฒนาคน พัฒนางาน ก้าวผ่านมาถึงปีที่ 10 หนึ่งทศวรรษกับการพัฒนางานประจำด้วยงานวิจัยในโรงพยาบาลป่าติ้ว
รพ.ปทุมธานี : พี่ช่วยน้องพัฒนาระบบการดูแล
แม่ตกเลือดหลังคลอดลดภาวะแทรกซ้อน
ภาวะตกเลือดหลังคลอดของแม่เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของสตรีคลอดบุตรทั่วโลก รวมทั้งเมืองไทย จ.ปทุมธานี ในปี 2555-2556 และ 2558 พบว่ามีมารดาตกเลือดหลังคลอดเสียชีวิตในโรงพยาบาลชุมชนปีละ 1 ราย เป็นความสูญเสียที่ร้ายแรงกับผู้ป่วยและญาติรวมทั้งเจ้าหน้าที่ ห้องคลอด รพ.ปทุมธานี ซึ่งเป็น รพ.แม่ข่าย จึงคิดพัฒนาระบบการดูแลผู้คลอดให้กับ รพ.ชุมชนทุกแห่ง ใช้แนวคิดทฤษฎีระบบและการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนา
มีการพัฒนาหลายวงรอบตามสภาพปัญหาที่ได้จากการร่วมกันวิเคราะห์ การขาดแคลนด้านอัตรากำลัง การขาดความรู้ทักษะนการเผชิญภาวะวิกฤติฉุกเฉินจากการตกเลือดหลังคลอด และขาดผู้เชี่ยวชาญในการดูแลรักษา ความไม่พร้อมของเครื่องมือช่วยชีวิต ยา คลังเลือด รวมถึงขาดแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย อาศัยความจริงใจและช่วยเหลือในฐานะพี่ช่วยน้อง เมื่อพบปัญหาและอุปสรรคในงาน จะนำปัญหาเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ MCH Board เพื่อออกเป็นนโยบายผลักดันให้เกิดการปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกันทุกโรงพยาบาล การ Stock เลือดที่จำเป็น รวมถึงการขอความร่วมมือกับโรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาล ทบวง มหาวิทยาลัย ในรับดูแลคนไข้คลอดที่มีภาวะวิกฤติฉุกเฉินขณะส่งต่อ ส่งผลให้การพัฒนาดำเนินไปอย่างราบรื่น
โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งให้การดูแลผู้คลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการใช้ถุงตวงเลือดเพื่อประเมินการเสียเลือดใช้แนวทางการรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอดทุกโรงพยาบาลสำรองเลือดและยาไว้ใช้ บุคลากรมีความรู้ทักษะในการดูแลผู้คลอดและให้การดูแลมารดาที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จัดเตรียมความพร้อมของทีมอุปกรณ์ช่วยชีวิตฉุกเฉิน มีระบบการให้คำปรึกษาช่วยเหลือกัน เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน อัตราการตกเลือดหลังคลอดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อัตราการเกิดภาวะช็อกจากการตกเลือดลดลงมาก ไม่มีมารดาเสียชีวิตจากการตกเลือดหลังคลอด
การแก้ไขปัญหาเชิงระบบได้รับความร่วมมือและยอมรับจากทุกฝ่าย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาระดับจังหวัด โรงพยาบาลจังหวัดต้องช่วยกันดูแล โรงพยาบาลชุมชนเนื่องจากมีความพร้อมและศักยภาพมากกว่า โรงพยาบาลชุมชนต้องพร้อมที่จะพิจารณาตนเองให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นด้วย ทั้งนี้ ความสำเร็จเกิดขึ้นเมื่อผู้บริหาร คณะกรรมการ MCH Board ผลักดันนโยบายลงสู่ผู้ปฏิบัติ สูติแพทย์ ช่วยให้ความรู้และเขียน Order รับผิดชอบส่งต่อให้โรงพยาบาลชุมชนนำไปใช้ พยาบาลห้องคลอดจังหวัดช่วยฝึกทักษะการดูแลผู้คลอดให้กับพยาบาลห้องคลอด โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งเกิดการขับเคลื่อนอย่างมีพลังจนเกิดการทำงานกันเป็นทีม
โรงพยาบาลสามโก้ อ่างทอง
ให้บริการทันตกรรมเด็กก่อนวัยเรียน
การให้บริการทันตกรรมในเด็กก่อนวัยเรียนพบปัญหาในการให้บริการทันตกรรม เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่มีปฏิกิริยาต่อต้านในการให้บริการทางทันตกรรมด้วยการแสดงออก ไม่ยอมให้ความร่วมมือ ร้องไห้ ผลักไส ไม่อ้าปาก ไม่ยอมให้เข้าใกล้ ส่วนเด็กที่สามารถรับบริการทันตกรรมได้สำเร็จนั้น ต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน การปฏิบัติงานเต็มไปด้วยความยากลำบาก ต้องสูญเสียทรัพยากรมากกว่าการให้บริการที่ได้รับความร่วมมือ
ดังนั้นการให้บริการทำฟันที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องสร้างความเชื่อมั่นให้เด็กก่อนวัยเรียนมีความมั่นใจ ว่าการรับบริการทางทันตกรรมไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว จำเป็นต้องสร้างให้เด็กก่อนวัยเรียนเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับสถานที่ เครื่องมือ ทันตบุคลากร เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ รับรู้ มั่นใจ ถ้าเด็กก่อนวัยเรียนมีโอกาสได้แตะต้อง หรือสัมผัสการรับบริการทางทันตกรรมด้วยวิธีการค่อยเป็นค่อยไป ได้ทำตามแบบอย่างพฤติกรรมที่กล้าหาญของผู้อื่น ได้รับเหตุผลและให้คำชมเชย เด็กก่อนวัยเรียนจะลดความกลัวต่อการรับบริการทางทันตกรรมลงได้ หากเด็กได้รับประสบการณ์ในการทำฟันที่ดีจะส่งผลให้เด็กเกิดความเชื่อมั่น และให้ความร่วมมือต่อการรับบริการทางทันตกรรมในครั้งต่อไป
เด็กก่อนวัยเรียนเข้าห้องทันตกรรมได้โดยลำพัง นั่งเก้าอี้ทันกรรม อ้าปากขัดฟันได้ เคลือบฟลูออไรด์ได้จนสำเร็จ เด็กให้ความร่วมมืออย่างดี ใช้เวลาให้บริการทันตกรรมลดลง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน เด็กก่อนวัยเรียนมีทัศนคติที่ดีขึ้นในการรับบริการทางทันตกรรม
การสร้างประสบการณ์ตรงให้กับเด็กก่อนวัยเรียน ส่งผลให้เกิดความเชื่อมั่น เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หากพบปัญหาก็แก้ไขปัญหาหน้างาน ปัจจัยความสำเร็จด้วยความร่วมมือร่วมใจของทีมงานฝ่ายทันตกรรมทุกคน เจ้าหน้าที่ใน รพ.สามโก้ ผู้ปกครอง ครูพี่เลี้ยงเด็กที่ให้ความร่วมมือในการศึกษาเป็นอย่างดี รวมทั้งทีมงาน R2R สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทองที่สนับสนุนด้านงบประมาณและวิชาการ รวมทั้งการให้คำแนะนำตลอดการศึกษาครั้งนี้
รพ.ท่าวังผา จ.น่าน “หมอตึงดูแลเฮาดีแต้ละ”
พัฒนาระบบบริหารยาให้ผู้ป่วยใช้ยาถูกต้อง
ในปี 2553 รพ.ท่าวังผา จ.น่าน มีปัญหาใช้ยาไม่สมเหตุสมผล ร้อยละ 57 ในกลุ่มผู้ป่วยระบบติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน โรคท้องร่วงเฉียบพลันและแผลเลือดออก พบผู้ป่วยดื้อยาปฏิชีวนะร้อยละ 5.5 พบปัญหาใช้ยาไม่ถูกต้องตามคำสั่งในกลุ่มผู้สูงอายุและอ่านหนังสือไม่ออกจำนวน 48 ราย ส่งผลกระทบให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและกับมารักษาซ้ำใน รพ.มีมูลค่ายาดีที่ยาเหลือใช้ในกลุ่มผู้ป่วย NCD มูลค่า 923,969.16 บาท/ปี เป็นมูลค่าที่สูงและมีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของ รพ. ส่งผลให้การรักษาไม่ประสบความสำเร็จ การส่งเสริมการใช้ยาที่ถูกต้องอย่างสมเหตุสมผล การให้คำปรึกษาด้านยา การพัฒนาอุปกรณ์ช่วยในการรับประทานยา การจัดยากับยาเหลือใช้และการจัดการรายกรณี ส่งเสริมให้การรักษาด้วยยาเป็นไปตามแผนการรักษาที่เหมาะสม
ผู้ป่วยสูงอายุและอ่านหนังสือไม่ออกสามารถทานยาเองได้ถูกต้อง การใช้ยาพ่นสูดในผู้ป่วยโรคหืดและ COPD การบริบาลทางเภสัชทำให้ผู้ป่วยใช้ยาวาร์ฟารินได้ถูกต้อง และลดการใช้ยาไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นได้ มูลค่ายาดีเหลือใช้ลดลงจาก 923,969.16 บาท เหลือเพียง 645,754.41 บาท ขณะนี้ขยายผลไปสู่ รพ.อื่นใน จ.น่าน และมี รพ.หลายแห่งเข้ามาดูดงาน สสจ.นครสวรรค์ สสจ.พะเยา และมีการเผยแพร่ในเวทีวิชาการระดับประเทศ คนไข้ประทับใจ “หมอตึงดูแลเฮาดีแต้ละ”.
สสส.จับมือสถาบันประสาทวิทยา เครือข่ายพุทธิกา ชี้ทำบุญได้ด้วยแรงกาย แรงใจ ไม่ต้องใช้เงิน ชวนชาวพุทธสร้างพลังแห่งความดีผ่านงานจิตอาสา มุ่งสู่วิถีฉลาดทำบุญเพื่อสร้างสุขภาวะของสังคม
สถาบันประสาทวิทยา ร่วมกับเครือข่ายพุทธิกา และสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมจัดกิจกรรมเปิดตัว “โครงการวิถีฉลาดทำบุญเพื่อสร้างสุขภาวะของสังคม” เพื่อนำเสนอแนวคิดเรื่องการสร้างสังคมแห่งการให้ เชื่อมโยงกับแนวคิดเรื่องบุญในพระพุทธศาสนา ผ่านกิจกรรม “ชิมลองจิตอาสา” รับรู้แนวคิดการแบ่งปันผ่านร้าน “ปันกันอิ่ม” ให้ธรรมะผ่านร้านหนังสือ “หนุนปัญญา” ภายในงานมีการเสวนา “ชีวิตเปลี่ยนสังคม” และฟังธรรมบรรยายให้ข้อคิดเรื่องฉลาดทำบุญกับการทำงานอาสาสมัครที่ทำแล้วใจเป็นสุขและเกิดประโยชน์ต่อสังคม
พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ประธานมูลนิธิเครือข่ายพุทธิกา กล่าวว่า การทำบุญตามหลักพระพุทธศาสนาไม่ได้มีแค่การทำทาน แต่ยังรวมถึงการเสียสละเวลา แรงกาย น้ำใจ ความรู้ ความสามารถ ความเอื้ออาทรให้แก่ผู้อื่น และผู้รับก็ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงพระสงฆ์ หรือที่วัดเท่านั้น แต่ยังสามารถให้แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยาก ไม่ว่าคน สัตว์ หรือแม้แต่การช่วยฟื้นฟูธรรมชาติที่เสื่อมโทรม อาทิ สถานสงเคราะห์ องค์กรมูลนิธิที่ไม่แสวงหากำไร องค์กรการกุศล สถาบันการศึกษา รวมถึงโรงพยาบาล ซึ่งโครงการมีพื้นที่ปฏิบัติการเพื่อรองรับจิตอาสา 2 แห่ง คือโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และสถาบันประสาทวิทยา หวังว่าจะเป็นพื้นที่ตัวอย่างการเรียนรู้ที่ใช้กระบวนการจิตอาสาเป็นฐานในการสร้างองค์กรสุขภาวะ อันจะนำไปสู่การสร้างสังคมแห่งการให้ มีปีติอิ่มใจ นึกขึ้นมาเมื่อไหร่ก็ยิ่งมีความสุข ซึ่งเกิดจากมีปัญญาประกอบเข้ามา
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า นับเป็นโอกาสในการส่งเสริมวิถีสุขภาวะผ่านกิจกรรมอาสาสมัคร ซึ่งถือเป็นช่องทางหลัก (pathway) ของการพัฒนาสุขภาวะ ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจและวิสัยทัศน์ของแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สสส.ที่ต้องการส่งเสริมสนับสนุนให้สังคมไทยมีสุขภาวะ โดยเฉพาะการมีสุขภาวะทางจิตวิญญาณ นำสู่การสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจ
นพ.มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า “โครงการวิถีฉลาดทำบุญเพื่อสร้างสุขภาวะของสังคม” เน้นการทำบุญเพื่อพัฒนาคุณธรรมในจิตใจคน และเชื่อมโยงมิติทางสังคมโดยเปิดให้ร่วมแบ่งปันเวลา ทรัพย์สิน หรือความใส่ใจต่อผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากไร้ในสังคม ให้ได้เรียนรู้ความสุขจากการให้ และนำไปสู่การเปลี่ยนทัศนคติ วิธีคิด พฤติกรรม เกิดจิตสำนึกรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม รวมทั้งจะช่วยขัดเกลาความเห็นแก่ตัว และการเสพติดความสุขจากวัตถุ กิจกรรมจิตอาสา ซึ่งเป็น 1 ในบุญกิริยาวัตถุ 10 ที่ชื่อว่า “ไวยาวัจมัย” คือการทำบุญด้วยการขวนขวายรับใช้ โดยผู้อาสาเข้าร่วมจะได้ทำงานอาสา อาทิ ถุงผ้าใส่ยากลับบ้าน ทำอาหารแบ่งปัน พัฒนาสื่อเพื่อผู้ป่วยและญาติ ศิลปะเด็ก โดยมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเป็นพื้นที่ตัวอย่างแห่งการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการจิตอาสาเป็นฐานในการสร้างองค์กรสุขภาวะ
พญ.ไพรัตน์ แสงดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวว่า กิจกรรม “ฉลาดทำบุญ วิถีสร้างสุข” วันนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในการปลุกเร้าพลังแห่งความดีผ่านกระบวนการจิตอาสา เพื่อเป็นพื้นที่ตัวอย่างการเรียนรู้เรื่องการทำบุญรูปแบบใหม่ในสังคมไทย อันจะนำไปสู่สังคมแห่งการแบ่งปันอย่างกว้างขวางในอนาคต.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |