บางคนอาจจะเคยเจอกับปัญหาที่มาจากการซื้อของใช้ อุปกรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะเสื้อผ้าที่ทำให้หงุดหงิดอยู่บ่อยๆ ในเรื่องของสเปกไม่ตรงตามมาตรฐาน ไซส์ไม่เท่ากันในแต่ละร้าน แต่ละแบรนด์ จนทำให้ต้องเสียเงินเปล่าไปโดยใช่เหตุ ซึ่งอาจจะมองว่าเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องเล็กน้อยที่อาจจะไม่จำเป็นต้องมีการควบคุมหรือกำหนด
แต่เมื่อเร็วๆ นี้ในการจัดประชุมของคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) ได้ยกมตินี้ขึ้นมาเพื่อพิจารณาเห็นชอบจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ขนาดรูปร่างคนไทย ซึ่งเป็นการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานชาย-หญิงไทย อายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไปให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งเมื่อได้ทราบก็คงจะแปลกหูนิดหน่อยว่าเรื่องแบบต้องกำหนดเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมเลยหรอ?
แต่ก็เพื่อความเป็นมาตรฐานที่จะใช้อ้างอิงได้ ก็คงเป็นเรื่องที่หลายๆ คนมองว่าสมควรที่จะต้องทำให้เป็นแบบอย่างเดียวกัน เพราะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดไซส์โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอนั้น ก็เป็นอุตสาหกรรมลำดับต้นๆ ที่ประเทศไทยสร้างมูลค่าได้ ทั้งจากในประเทศและการส่งออก โดยการกำหนดมาตรฐานครั้งนี้ที่ประชุมศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 13,442 ราย ในพื้นที่ 5 ภูมิภาค
โดย น.ส.นิสากร จึงเจริญธรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการฯ กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการออกแบบพัฒนาสินค้าที่เกี่ยวกับสรีระร่างกาย เช่น เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ ของใช้ต่างๆ เช่น เก้าอี้ ที่นอน โต๊ะ เนื่องจากที่ผ่านมาการออกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสรีระคนไทย ส่วนใหญ่ใช้มาตรฐานไซส์ของต่างประเทศ เช่น ยุโรป สหรัฐ ส่งผลให้ไซส์เสื้อผ้า หรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ไม่ได้มาตรฐานคนไทย
“เสื้อผ้า หรือเฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบ เพื่อให้คนไทยตอนนี้ส่วนใหญ่อ้างอิงจากไซส์ต่างประเทศ เช่น ยุโรป สหรัฐ ทำให้ไซส์เสื้อผ้าต่างๆ แขน ขา ชายเสื้อยาวไปบ้าง ต้องคอยตัดออก หรือแม้กระทั่งเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เก้าอี้ทำงาน เก้าอี้กินข้าวบางอันก็สูงไป อาจทำให้เมื่อยได้ หรือทำให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมได้ ต่อไปหากผู้ผลิตเสื้อผ้า หรือเฟอร์นิเจอร์ที่เน้นการผลิตและจำหน่ายในประเทศ นำมาตรฐานขนาดรูปร่างไปใช้” น.ส.นิสากรกล่าว
โดยขั้นตอนการบังคับใช้ ต้องรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา จากนั้นจะประกาศใช้ได้อย่างเป็นทางการ โดยมาตรฐาน มอก. ขนาดรูปร่างคนไทย จะแบ่งเป็นผู้ชายและผู้หญิง เป็นมาตรฐานทั่วไป โดยการกำหนดมาตรฐานดังกล่าว ประกอบไปด้วยคณะกรรมการหลายฝ่าย เช่น คณะอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สมอ., ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, สำนักงานสถิติแห่งชาติ, สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สมาคมช่างตัดเสื้อไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, กรมอนามัย, สถาบันพัฒนาแพทเทิร์นอุตสาหกรรมและการออกแบบเสื้อผ้าสำเร็จรูป
โดยความละเอียดในการกำหนดมาตรฐานไซส์คนไทยนั้น ทางคณะกรรมการใช้วิธีการวัดขนาดโดยเทคโนโลยีตรวจวัดเรือนร่างสามมิติ กลุ่มตัวอย่าง 13,442 ราย แบ่งเป็นเพศชาย 6,303 ราย และเพศหญิง 7,139 ราย ใน 5 ภาคทั่วประเทศเฉลี่ยใกล้เคียงกัน ใช้เครื่องสแกนสามมิติด้วยแสงขาว วัดสัดส่วนต่างๆ เช่น ส่วนสูง น้ำหนัก ความกว้างขนาดศีรษะ ระยะห่างตา ความยาวมือ รอบเท้า ความยาวเท้า จากนั้นนำมาวิเคราะห์คำนวณกำหนดเป็นไซส์ไทย
และได้ออกมาเป็นไซส์สำหรับขนาดรูปร่าง ไซส์ 28 รอบอก 69.0-74.0 ซม. รอบเอว 57.0-62 ซม. รอบสะโพก 75.0-80.0 ซม., ไซส์ 30 รอบอก 74.0-79 ซม. รอบเอว 62.0-67.0 ซม. รอบสะโพก 80.0-85.0 ซม., ไซส์ 32 รอบอก 79.0-84.0 ซม. รอบเอว 67.0-72.0 ซม. รอบสะโพก 85.0-90.0 ซม.
ไซส์ 34 รอบอก 84.0-89.0 ซม. รอบเอว 72.0-77.0 ซม. รอบสะโพก 90.0-95.0 ซม., ไซส์ 36 รอบอก 89.0-94.0 ซม. รอบเอว 83.0-89.0 ซม. รอบสะโพก 101.0-107.0 ซม. ไซส์ 42 รอบอก 104.0-109.0 ซม. รอบเอว 102.0-109.0 ซม. รอบสะโพก 120.0-127.0 ซม. ไซส์ 46 รอบอก 114.0-119.0 ซม. รอบเอว 109.0-116.0 ซม. รอบสะโพก 127.0-134.0 ซม.
ซึ่งเท่าที่เห็นนั้นก็ถือว่าละเอียดพอสมควร ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่คนอื่นอาจจะเคยมองว่ามันเป็นปัญหา แต่ไม่รู้ว่าจะต้องปรึกษาใคร แต่ตอนนี้ก็เห็นว่าหน่วยงานรัฐเห็นความสำคัญกับเรื่องนี้ และนำมาปฏิบัติเป็นแนวทางอย่างชัดเจน ซึ่งก็ถือว่าเป็นผลดีกว่าไม่ทำอะไรเลย.
ฐวัฒน์ หาญกล้า
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |