พิโธ่!เหลือ13วัน 48%ยังเข้าใจผิด 'บัตรลงคะแนน'


เพิ่มเพื่อน    


    อึ้ง! เหลือเวลาแค่ 2 สัปดาห์ แต่ชาวบ้านกว่า 48% ยังนึกว่าต้องกาบัตรลงคะแนน 2 ใบ เสียงส่วนใหญ่ 80% หนุนพรรคชนะมีสิทธิ์ชอบธรรมตั้งรัฐบาลก่อน “อนุทิน” คว้าอันดับหนึ่งผู้นำขัดแย้งน้อยสุด ส่วน “ประยุทธ์” รั้งบ๊วย โพลสังศิตเชื่อ “พปชร.” กวาดชัยดันลุงตู่คว้านายกฯ
    เมื่อวันอาทิตย์ มีผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนในเรื่องการเมืองถึง 3 สำนัก โดยศูนย์สำรวจความคิดเห็นสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) หรือนิด้าโพล เผยผลโพลเรื่องการลงคะแนนเลือกตั้ง 2562 ที่สำรวจประชาชน 1,251 หน่วยตัวอย่าง โดยเมื่อถามถึงการรับทราบของประชาชนว่าจะต้องกาบัตรลงคะแนนคนละกี่ใบ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ 51.96% ระบุว่าทราบต้องกาบัตรกี่ใบ ขณะที่ 48.04% ระบุว่าไม่ทราบ ซึ่งในจำนวนของผู้ที่ระบุว่าทราบพบว่า 92.77% ระบุคำตอบได้ถูกต้องว่าต้องกาบัตร 1 ใบ และ 7.23% ระบุว่ากาบัตร 2 ใบ ซึ่งไม่ถูกต้อง
     ด้านการรับทราบของประชาชนเกี่ยวกับหมายเลขผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มาจากพรรคการเมืองเดียวกันจะเป็นแบบต่างเขตเลือกตั้ง ต่างหมายเลข พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ 51.8% ระบุว่าทราบ ขณะที่ 48.2% ระบุว่าไม่ทราบ สำหรับการรับทราบหมายเลขผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) หรือพรรคการเมืองที่จะเลือก พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ 62.03% ระบุว่าทราบหมายเลขผู้สมัคร ส.ส.หรือพรรคการเมือง และ 37.97% ระบุว่าไม่ทราบ และเมื่อถามถึงปัญหาการจำหมายเลขผู้สมัคร ส.ส.ที่จะเลือก พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ 80.98% ระบุว่าไม่มีปัญหาในการจำหมายเลข ขณะที่ 19.02% ระบุว่ามีปัญหาในการจำหมายเลข   
     ด้าน ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล นำเสนอผลสำรวจภาคสนามเรื่อง ความสงบบ้านเมืองกับพรรคที่ชอบ กรณีศึกษาประชาชนทั่วประเทศ 1,060 ตัวอย่าง โดยเมื่อถามความสงบบ้านเมืองกับพรรคที่ชอบถูกยุบว่าจะเลือกปกป้องอะไร พบว่าส่วนใหญ่หรือ 95.7% ระบุเลือกที่จะปกป้องรักษาให้บ้านเมืองสงบ ในขณะที่ 4.3% เลือกปกป้องรักษาพรรคที่ชอบ  
     ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือ 80.1% เห็นด้วยที่พรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งมีความชอบธรรมและต้องได้รับโอกาสจัดตั้งรัฐบาลก่อน ในขณะที่ 19.9% ไม่เห็นด้วย นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือ 77.9% เห็นด้วยที่นายกรัฐมนตรีที่จะสง่างามเป็นที่ยอมรับของประชาชนต้องให้ ส.ส.เลือก ในขณะที่ 22.1% ไม่เห็นด้วย และที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามถึงผู้เสนอตัวเป็นนายกฯ ที่ขัดแย้งน้อยถึงน้อยที่สุด กับคนอื่นๆ พบว่า 78.6% ระบุนายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย รองลงมาคือ 73.3% ระบุนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ พรรคเพื่อไทย, 66% พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส พรรคเสรีรวมไทย, 64.6% นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ พรรคอนาคตใหม่, 62.7% คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พรรคเพื่อไทย ในขณะที่ 61.5% นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พรรคประชาธิปัตย์ และ 54.3% พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พรรคพลังประชารัฐ ตามลำดับ
     ขณะที่นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต เผยผลโพลเรื่องคะแนนนิยมประชาชนที่มีต่อผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกฯ และการเลือกตั้ง ส.ส.เขต ซึ่งศึกษาประชากร 16,000 คน พบว่า รายชื่อผู้ที่ถูกเสนอชื่อเป็นนายกฯ 5 อันดับแรก อันดับ 1 พล.อ.ประยุทธ์ 23.51%, อันดับ 2 นายอภิสิทธิ์ 17.67%, อันดับ 3 คุณหญิงสุดารัตน์ 14.63%, อันดับ 4 นายอนุทิน 8.29% และอันดับ 5 นายธนาธร 7.52% ส่วนที่เหลือเป็นอื่นๆ 28.38%
     ทั้งนี้ คะแนนนิยมของ พล.อ.ประยุทธ์ยังคงนำเป็นอันดับ 1 ต่อเนื่องนับตั้งแต่การสำรวจครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 15 ต.ค.2561 แต่คะแนนนิยมครั้งล่าสุดนี้ลดลงจากที่อยู่ระดับ 26.04% เมื่อวันที่ 24 ธ.ค.2561 ซึ่งเป็นการลดลงเช่นเดียวกับผู้ถูกเสนอชื่อรายอื่น ส่วนผลสำรวจจำนวน ส.ส.เขต และบัญชีรายชื่อจำแนกตามพรรคและคะแนนนิยมพรรคทั่วประเทศ พบว่า พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.รวม 128 คน, พรรคพลังประชารัฐ 100 คน, พรรคประชาธิปัตย์ 86 คน, พรรคภูมิใจไทย 38 คน, พรรคอนาคตใหม่ 30 คน, พรรคเสรีรวมไทย 25 คน, พรรครวมพลังประชาชาติไทย 25 คน,  พรรคชาติไทยพัฒนา 19 คน, พรรคเพื่อชาติ 15 คน ,พรรคชาติพัฒนา 13 คน, พรรคประชาชาติ 12 คน และพรรคอื่นๆ รวม 9 คน 
    “ผู้วิจัยประเมินว่าผลการเลือกตั้งที่พรรคพลังประชารัฐน่าจะได้ในวันที่ 24 มี.ค. จะอยู่ระหว่าง 110-130 เสียง ส่วนพรรคเพื่อไทยได้ราว 100-110 เสียง โดยพรรคพลังประชารัฐน่าจะจับมือกับพรรคพันธมิตรจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสียงระหว่าง 285-310 เสียง ส่วนพรรคเพื่อไทยกับเครือข่ายพันธมิตรจะมีเสียงราว 180-190 เสียง”.  


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"