สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ ได้นำระบบคัดกรอง/ประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ ด้วย Aging Health Data มาใช้ เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพที่มีศักยภาพ สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกและทั่วถึง
นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า จากงานวิจัยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อเดือนตุลาคม 2561 พบว่าประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น โดยผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวน 11.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17.9 ของประชากรทั้งประเทศ โดยมีปัญหาสุขภาพ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 41) โรคเบาหวาน (ร้อยละ 18) ข้อเข่าเสื่อม (ร้อยละ 9)
"ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน รวมทั้งนโยบายการบริหารงานกระทรวงสาธารณสุขมีแนวทางการดำเนินงานให้ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค ดูแลรักษาโรคประจำตัวผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง มีคนดูแลทั้งในครอบครัวและชุมชน เมื่อเข้าโรงพยาบาลได้รับการดูแลตามช่องทางที่เหมาะสม ตลอดจนสามารถช่วยเหลือตนเองได้" คุณหมอกล่าว
นอกจากนี้ กรมการแพทย์ยังได้มีนโยบายในเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการเกี่ยวกับผู้สูงอายุ จากสภาพปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้น ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ดังนั้น การป้องกันความรุนแรงของโรคและภาวะแทรกซ้อน รวมถึงความพิการที่เหมาะสมที่สุด คือ การคัดกรองสุขภาพและประเมินกลุ่มโรคและอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ทำให้ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงและป่วยได้รับการส่งต่อเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพที่ตรงปัญหาต่อไป รวมถึงกลุ่มที่ปกติจะคัดแยกเข้าสู่บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระดับปฐมภูมิได้อย่างทันท่วงที
นพ.สกานต์ บุนนาค รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากปัญหาดังกล่าวสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ จึงได้จัดโครงการสร้างเสริมศักยภาพและความมั่นคงในชีวิตด้านสุขภาพ โดยการป้องกันโรคระดับทุติยภูมิเพื่อดูแลรักษากลุ่มอาการหรือโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยรูปแบบหนึ่งในการดำเนินการได้จัดประชุมชี้แจง “ระบบการคัดกรอง/ประเมินสุขภาพผู้สูงอายุและการจัดการข้อมูลเพื่อการส่งต่อเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพด้วย Aging Health Data เมื่อเดือนมกราคม 2562 ที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 370 คน จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ผู้แทนโรงพยาบาลจาก 60 จังหวัดทั่วประเทศ รวมทั้งสถานพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์
มีการชี้แจงงบประมาณปี 2562 เพื่อดำเนินกิจกรรมด้านผู้สูงอายุในพื้นที่ อภิปรายเกี่ยวกับประโยชน์ของการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุผ่านระบบ Aging Health Data ตลอดจนความสามารถในการทำงานของโปรแกรมที่พัฒนาเพิ่มเติมตามความต้องการและข้อเสนอแนะของพื้นที่ตลอดระยะเวลา 1-2 ปีที่ผ่านมา เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ปฏิบัติงานให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการดำเนินงานโครงการดังกล่าวเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน คัดกรอง และประเมินปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ กลุ่มอาการและการประเมินสมรรถนะผู้สูงอายุเพื่อการดูแล เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพที่มีศักยภาพและสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกและทั่วถึง ตรงกับปัญหาที่ผู้สูงอายุมีความผิดปกติหรือมีความเสี่ยง ทั้งนี้ นอกจากพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ได้จัดประชุมดังกล่าวแล้ว สถาบันเวชศาสตร์ฯ ได้วางแผนจัดประชุมในจังหวัดต่างๆ ได้แก่ เชียงราย ตาก สุโขทัย สิงห์บุรี ลพบุรี บึงกาฬ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ตรัง และยะลา โดยนำระบบ Aging Health Data มาคัดกรอง/ประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อจัดการข้อมูลเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพที่เป็นข้อมูลเดียวกันทั้งประเทศต่อไป.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |