บ่อนทำลาย!'โบว์'ชี้นิ้วยุบ'ทษช.'ต้องยุบ'พปชร.'ด้วยเพราะ'บิ๊กตู่'ทำรัฐประหารเป็นปฏิปักษ์ประชาธิปไตย


เพิ่มเพื่อน    

 9 มี.ค.62- ณัฏฐา มหัทธนา หรือโบว์ แกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Bow Nuttaa Mahattana ว่า กกต.และศาลรัฐธรรมนูญจะใช้บรรทัดฐานเดียวกันกับทษช. ในประเด็นความ ”อาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย” กับการพิจารณายุบพรรคพลังประชารัฐหรือไม่?

เพราะหากเป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน แนวการตัดสินที่อาจเป็นไปได้คือ พรรคพลังประชารัฐจะถูกยุบเนื่องจาก การเสนอชื่อหัวหน้าคสช.เป็นแคนดิเดทนายกของพรรคนั้นเป็น ”การอาศัยสิทธิเสรีภาพที่ได้มาจากรัฐธรรมนูญ ให้มีผลย้อนกลับมาทำลายหลักการพื้นฐาน บรรทัดฐาน คุณค่า และเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญเสียเอง" โดยคัดลอกจากคำวินิจฉัยยุบพรรคไทยรักษาชาติมาได้เลย เพราะ

หัวหน้าคสช. ได้อำนาจจากการรัฐประหาร เป็นบุคคลที่อาจถือว่าไม่มีความเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยฯ การเสนอชื่อบุคคลดังกล่าวให้มีโอกาสสืบทอดอำนาจที่ได้มาด้วยวิธีการดังกล่าวซึ่งเป็นความผิดฐานกบฏก่อนตั้งตนเป็นรัฏฐาธิปัตย์และออกกฎหมายนิรโทษกรรมตนเอง จึงเป็นการเซาะกร่อนบ่อนทำลายและสร้างบรรทัดฐานที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย

หัวหน้าคสช. ยังสามารถใช้อำนาจรัฐในฐานะนายกรัฐมนตรีที่มีอำนาจเต็ม และใช้อำนาจหัวหน้าคสช.ตามมาตรา 44 ออกคำสั่งใดๆให้เป็นกฎหมายได้ โยกย้ายข้าราชการได้ และใช้งบประมาณโดยปราศจากการตรวจสอบและอนุญาตโดยกกต.ได้ ซึ่งผิดไปจากหลักการใช้อำนาจของรัฐบาลที่พึงเป็นรัฐบาลรักษาการก่อนการเลือกตั้งที่มีอำนาจจำกัด จึงเป็นปัจจัยที่เชื่อได้ว่าจะทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบอันจะนำสู่การเลือกตั้งที่ไม่เสรีเป็นธรรม เอื้อต่อการสืบทอดอำนาจของกลุ่มตน เป็นการเซาะกร่อนบ่อนทำลายหลักการประชาธิปไตย และขัดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

หัวหน้าคสช.มีส่วนในกระบวนการคัดเลือกส.ว. 250 คน ที่จะมีส่วนร่วมในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีกับส.ส.จากการเลือกตั้งโดยประชาชน 500 คน ตามที่ได้จัดการร่างไว้ในรัฐธรรมนูญ การเสนอชื่อหัวหน้าคสช.เป็นแคนดิเดทนายกของพรรคพลังประชารัฐ ทั้งที่ 1 ใน 3 ของรัฐสภาที่จะโหวตเลือกนายกเป็นส.ว.จากการแต่งตั้งด้วยวิธีเช่นนั้น “จึงเป็นการกระทำที่ย่อมเล็งเห็นได้ว่าจะส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรม” ขัดกับหลักการสิทธิทางการเมืองที่เท่าเทียมกันของพลเมืองตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ รวมถึงขัดเจตนารมณ์ขององค์ผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญ ตามที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ ว่ามีพระราชประสงค์มอบอำนาจให้ประชาชน ไม่ใช่เพื่อคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด

รัฐธรรมนญฉบับปี 2560 มุ่งลดเงื่อนไขความขัดแย้งเพื่อให้ประเทศมีความสงบสุขรู้รักสามัคคีปรองดองภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยและประเพณีการปกครองที่เหมาะสมของไทย อีกทั้งรัฐธรรมนูญได้รับรองบัญญัติคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของปวงชนอย่างกว้างขวาง... อย่างไรก็ตามการใช้สิทธิเสรีภาพต้องไม่บั่นทอนรัฐธรรมนูญ หรือทำลายคติรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้เสื่อมโทรมไป (ลอกจากคำวินิจฉัยยุบพรรคทษช.)

การเสนอชื่อหัวหน้า คสช. เป็นแคนดิเดทนายกฯของพรรคพลังประชารัฐ จึงเป็นการกระทำที่ “อาจเป็นปฏิปักษ์” ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นการ”เซาะกร่อนบ่อนทำลาย” หลักการประชาธิปไตยพื้นฐานที่เป็นสากล บั่นทอนและขัดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ขัดหลักธรรมมาภิบาล และเป็นการสร้างบรรทัดฐานกับพัฒนาการประชาธิปไตยในประเทศไทยให้ ”เสื่อมโทรม หยุดลง หรือถึงกับสูญสิ้นไป ซึ่งหาควรปล่อยให้เป็นเช่นนั้นไม่” จึงควรมีคำสั่งให้ยุบพรรค 

ใช่หรือไม่?

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"