9 มี.ค.62 - พรรคเพื่อชาติ นำโดยนายอารี ไกรนรา, นายวิโชติ วัณโณ รองหัวหน้าพรรคเพื่อชาติ และคณะผู้บริหารพรรคเพื่อชาติ พร้อมด้วย นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในฐานะผู้ช่วยหาเสียงพรรคเพื่อชาติ ลงพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ช่วยนายสมชาย เกียรติคุณรัตน์ ผู้สมัคร ส.ส.พรรคเพื่อชาติ เขต 2 เบอร์ 9 หาเสียงและปราศรัยโรงเรียนบ้านท่าสว่าง อ.เมือง จ.สุรินทร์
นายวิโชติ กล่าวว่า ตนในฐานะรองหัวหน้าพรรคได้รับหน้าที่ดูแลเรื่องนโยบาย พรรคเพื่อชาติเกิดมาจากนักประชาธิปไตย ที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาตลอด โดยในอนาคตจะสร้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ซึ่งเป็นระบบที่มั่นคงยาวนานเพราะ 4 ปีจะเลือกนายกรัฐมนตรีหนึ่งครั้ง จะเป็นเช่นนี้ไปตลอด และนโยบายต่างๆ ก็จะสามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงไม่ต้องการให้เผด็จการกลับมาปกครองอีก เพราะเผด็จการ 4 ปีที่ผ่านมานั้นทำให้พี่น้องประชาชนจนลง พรรคเพื่อชาติจึงมีนโยบายว่า จะแก้ไขปัญหาความยากจนนี้ให้ได้ ประการแรกจะต้องดูเรื่องราคาสินค้าเกษตร อาทิ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์ม อ้อย ให้ได้ราคาดี และ ทำข้าวหอมมะลิให้ได้เกวียน 2 หมื่นบาท ทั้งนี้ถ้าพี่น้องประชาชนมีรายได้ดีแล้ว การค้าขายก็จะดีขึ้น สินค้าต่างๆ ที่ขายประชาชนก็ซื้อได้ เศรษฐกิจก็เติบโตแน่นอน
นายจตุพร กล่าวบนเวทีปราศรัยว่า ให้พี่น้องชาวจังหวัดสุรินทร์เลือกพรรคเพื่อชาติ เราจะได้พา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กลับบ้าน และหากพรรคเพื่อชาติได้รับเลือก ขอยืนยันว่าจะเป็นหมอยา ที่รักษาประชาชนให้หายจากความยากจนให้ได้
ทั้งนี้ นายจตุพร ได้ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีอาจารย์วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์และนักวิชาการสาขาเคมีอินทรีย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กบอก "ยุบ ทษช. เซ่นเบี้ย? แลกกินขุน" โดยไม่อธิบายเหตุผล ว่า ตนมองว่าทุกฝ่ายไม่ควรวิจารณ์เรื่องการยุบพรรคไทยรักษาชาติแล้ว ถือว่าแต่ละคนเห็นทุกเรื่องครบถ้วนแล้ว เรื่องสำคัญคือฝ่ายประชาธิปไตยจะเดินหน้าอย่างไร พรรคเพื่อชาติเคารพการตัดสินใจของประชาชน ด้วยความเชื่อมั่นว่าประชาชนที่สนับสนุนพรรคไทยรักษาชาติยังยืนหยัดฝ่ายประชาธิปไตย ดังนั้น วันนี้ยังมีพรรคฝ่ายประชาธิปไตยที่ยังยืนหยัดอยู่ ทุกคะแนนยังไม่หายไปไหน ส่วนการตัดสินใจของประชาชนจะไปเลือกพรรคการเมืองใดนั้น ล้วนแต่เป็นสิทธิแต่ พรรคเพื่อชาติจะไม่อธิบายความว่าจะให้พรรคไทยรักษาชาติมาสนับสนุนพรรคเพื่อชาติ เพราะจะเป็นการอธิบายที่มักง่ายไป แต่เป็นเรื่องของฝ่ายประชาธิปไตยที่ควรคำนึงว่าจะรักษาเสียงที่มีเป้าหมายถึง 376 เสียงได้อย่างไร
ส่วนกรณีนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ วิเคราะห์หลังไทยรักษาชาติโดนยุบ โดยเชื่อว่าเลือกตั้งครั้งนี้ของเก๊เยอะ ไม่เกินสิ้นปีได้เลือกใหม่ นายจตุพร ระบุว่า คนที่เคยเห็นเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 และการอธิบายเช่นนั้นมีความเป็นไปได้สูงมาก พร้อมเชื่อว่า การมีกฎกติกาเช่นนี้ เราจะไม่ได้รัฐบาลที่มีเสถียรภาพและอายุของสภาชุดนี้อาจจะอยู่ได้ไม่นาน แต่เมื่อผ่านการเลือกตั้งครั้งนี้ไปแล้วและการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีความยั่งยืนกว่าให้กับฝ่ายประชาธิปไตย แต่วันนี้เราควรเดินไปให้ใกล้จุดประชาธิปไตยให้ดีที่สุดเท่าเราจะเดินได้ เพราะเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญมีมากเหลือเกิน ดังนั้นเส้นชัยในรอบนี้เราต้องมุ่งมั่นไปให้ถึงจุดหมาย แม้ว่าจะไม่ใช่จุดหมายปลายทางที่แท้จริง
ส่วนกรณี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เคาะ 400 รายชื่อชิงเก้าอี้ ส.ว. ซึ่งหนึ่งในนั้นมีชื่อน้องชาย คือ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. เข้าชิงเก้าอี้ด้วย นายจตุพร กล่าวว่า หาสิ่งถูกต้องไม่ได้อยู่แล้วในการแต่งตั้งวุฒิสภาครั้งนี้ เพื่อการนำไปสู่การสืบทอดอำนาจเป็นเรื่องที่ไม่ได้เหนือความคาดหมาย อีกทั้งการออกแบบรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจ พล.อ.ประยุทธ์ แต่งตั้งวุฒิสภา 250 คน เว้น 6 คนที่มาโดยตำแหน่งเพื่อเข้ามาเลือก พล.อ.ประยุทธ์ ไปเป็นนายกรัฐมนตรีต่อ โดย พล.อ.ประยุทธ์ก็ถูกแต่งตัวรออยู่ในบัญชีนายกรัฐมนตรีของพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งตนได้ฟังหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐให้ข่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ไม่ต้องมาช่วยหาเสียงก็ได้ แค่เป็นนายกรัฐมนตรีก็ช่วยได้เยอะแล้ว มันจึงเป็นคำตอบเรื่องการใช้อำนาจรัฐในการสร้างประโยชน์เอื้อให้กับพรรคพลังประชารัฐ พร้อมมองว่าเรื่องนี้สังคม ประชาชนจะต้องติดตามว่าการอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีซึ่งปรากฎผลในการเอื้อประโยชน์ เท่ากับเป็นใบเสร็จตอกย้ำถึงความอยุติธรรมในการเลือกตั้งครั้งนี้ อย่างไรก็ตามตนเชื่อว่า ไม่ว่าจะใช้อำนาจขนาดไหน แต่คำตอบสุดท้ายของประชาชนก็ยังไม่เลือกพรรคพลังประชารัฐอยู่ดี เพราะทุกคนเข็ดหลาบกับ 5 ปีที่ผ่านมา
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |