'หมอธี'กังวล ห้ามสอบเข้าม.1ใช้จับฉลากแทน ชี้ถึงเวลาปฎิบัติอาจมีปัญหา ยกตัวอย่าง รร.เตรียมอุดมฯ


เพิ่มเพื่อน    

7 มี.ค.62-  นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่างถึงกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.... ในมาตรา 21 ที่ระบุให้สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับช่วงวัยตามมาตรา 8 (4) คือ อายุเกิน 6 ปีจนถึง 12 ปี มีหน้าที่จัดให้ผู้เรียนที่ประสงค์จะเข้าเรียนในระดับที่หนึ่งของช่วงวัยดังกล่าวในสถานศึกษานั้นได้เข้าเรียนในสถานศึกษานั้น โดยไม่ต้องสอบแข่งขันหรือคัดเลือกด้วยวิธีใด ในกรณีที่มีผู้ประสงค์จะ เข้าเรียนมากกว่าที่จะพึงรับได้ ให้ใช้วิธีการจับสลาก ว่า ในเรื่องนี้ตนยังไม่ได้ศึกษาในรายละเอียด ซึ่งหากออกมาในรูปแบบนี้ก็อาจจะส่งผลต่อโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูงเหมือนกัน 

ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาในรายละเอียดก่อน เพราะความเห็นส่วนตัวของตนมองว่าเรื่องความเท่าเทียมจำเป็นที่จะต้องมีแน่นอน แต่เรื่องนี้อาจจะสร้างปัญหาให้กับคนกลุ่มหนึ่งในสังคมเช่นกัน และการที่จะปรับให้เป็นการจับสลากโดยไม่มีการสอบนั้น ส่วนตัวตนคิดว่าการที่เราออกกฎเกณฑ์อะไรในรูปแบบเดียวจะเป็นการสร้างปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งตนคิดว่าคงต้องมีข้อยกเว้นบ้าง เช่น โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา หากให้มีการจับฉลากไม่มีการสอบ ทางสมาคมผู้ปกครอง หรือเด็กที่มีความสามารถและต้องการจะศึกษาต่อในโรงเรียนนี้ จะยินยอมหรือไม่ เป็นต้น ซึ่งเรื่องนี้อาจจะทำให้คุณภาพการศึกษาในบางจุดลดลง อย่างไรก็ตาม ความเห็นของตนคิดว่าการที่จะสร้างความเท่าเทียม เราจะต้องมีช่องทางให้กับคนทุกคนอย่างเท่าเทียม

ด้านนายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า เรื่องนี้ตนคิดว่าคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ จะต้องมีการดำเนินการกำหนดกรอบหรือแนวทางการดำเนินการในเรื่องนี้อีกครั้ง ซึ่งในส่วนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งถือเป็นสถานศึกษาของรัฐก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวอยู่แล้ว เพียงแต่ขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดวิธีในการดำเนินการเท่านั้น ซึ่งคาดว่าในอนาคตจะมีการออกหลักเกณฑ์และวิธีการออกมารองรับในส่วนนี้ ซึ่งจะมีทางออกที่ดีอย่างแน่นอน เพราะร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ มีเจตนารมณ์ที่ดีมาก เน้นเรื่องการดูแลเด็ก ความเสมอภาค อะไรที่จะไปรบกวนเด็ก รบกวนการเรียนการสอนของครู จะมีการกันไว้ทั้งหมด พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้โรงเรียนได้บริหารตัวเองมากที่สุดด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ....ได้กำหนด เรื่อง การบ่มเพาะให้ผู้เรียนมีสมรรถนะและต้องดําเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามระดับช่วงวัย แบ่งเป็น 7 ช่วงวัย ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาหรือทักษะอาชีพชั้นสูง โดยในส่วนของช่วงวัยที่ คือ เด็กอายุเกิน 6 ปีจนถึง 12 ปี ซึ่งเด็กที่อายุ 12 ปี จะศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"